Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43395
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัชพล ไชยพรen_US
dc.contributor.authorฐาปน แสนยะบุตรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.coverage.spatialไทย
dc.date.accessioned2015-06-24T06:37:49Z
dc.date.available2015-06-24T06:37:49Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43395
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractสิทธิในการมีชีวิตเป็นสิทธิเด็ดขาดที่เป็นส่วนหนึ่งและมีธรรมชาติร่วมกับสิทธิมนุษยชน ถือกำเนิดและดำรงอยู่ร่วมกันกับการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์มนุษย์ ทั้งปัจเจกชนและรัฐไม่สามารถอ้างสิทธิหรือหน้าที่ใดๆ เพื่อพรากไปได้ โดยมีสถานะเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดหลักการหนึ่งในทัศนะของนิติศาสตร์ ด้วยเหตุว่า หากมนุษย์ไร้ซึ่งสิทธิในการมีชีวิตอย่างเด็ดขาดแล้ว ก็ย่อมส่งผลให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประการอื่นๆ ทั้งในทางสิทธิมนุษยชนและสิทธิในทางกฎหมายได้เลย ทั้งได้ปรากฏแนวความคิดของการดำรงอยู่และความสำคัญอย่างต่อเนื่องในทางปรัชญา ศาสนา ข้อตกลงระหว่างประเทศ นิตินโยบายผ่านทางคำพิพากษาของศาล และกระบวนการนิติบัญญัติในประเทศต่างๆ โดยการยืนยันว่า สิทธิในการมีชีวิตมีความสำคัญยิ่งกับการประกันศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเป็นหลักประกันการรับรองสิทธิมนุษยชนของรัฐต่อประชาชน แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจะได้บัญญัติรับรองการดำรงอยู่ของสิทธิในการมีชีวิต แต่การลงโทษประหารชีวิตก็ยังเป็นการลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่รุนแรงที่สุดในประเทศไทย ซึ่งการดำรงอยู่ของการลงโทษประหารชีวิตนี้ ได้เป็นปฏิปักษ์ต่อสถานะและความสำคัญของการดำรงอยู่ของสิทธิในการมีชีวิตเป็นอย่างยิ่ง โดยเป็นการปฏิเสธความเป็นสิทธิเด็ดขาดของสิทธิในการมีชีวิต และเป็นการอ้างอำนาจหน้าที่ของรัฐที่ได้รับจากปัจเจกชนในการปกป้องสังคมเพื่อกลับไปพรากชีวิตของปัจเจกชนเอง ทั้งที่เหตุผลที่รัฐได้อ้างเพื่อทำลายสถานะและการดำรงอยู่ของสิทธิในการมีชีวิตนี้ เป็นเพียงจินตนาการที่ไม่อาจพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดว่า บรรลุในทางวัตถุประสงค์ เมื่อการยืนยันถึงความสำคัญของสิทธิในการมีชีวิตอันมีความสำคัญยิ่งต่อสิทธิมนุษยชนได้ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยแล้ว การศึกษาและการดำเนินกระบวนการยกเลิกการลงโทษประหารชีวิตโดยระลึกถึงความสำคัญของสิทธิในการมีชีวิตจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง ซึ่งในระหว่างกระบวนการดังกล่าว ประเทศไทยควรมีการนิติบัญญัติกฎหมายระดับพระราชบัญญัติขึ้นเพื่อพักใช้การลงโทษประหารชีวิตไว้ชั่วคราว อันจะเป็นก้าวแรกที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeRight to life is the absolute right which is a part of human rights, originated and has been in existing among mankind, that cannot be taken away neither by individuals nor by states. It has become one of the most significant principles of law as human will not be able enjoy all the other rights, either legal rights or human rights, without being able to enjoy the right to life. The concept about living and importance of living has appeared continuously in philosophy, religions, international agreements, court judgments, and legislations in many different countries. It has been widely accepted that right to life is an essential factor in assuring human dignity and it is the assurance of human rights protection given by state to her people. Even though the Constitution of the Kingdom of Thailand acknowledges the right to life, death penalty is still indicated as the maximum punishment for criminal offences in Thailand. Implementation of death penalty is a threat to right to life. States would claim that individuals have given up their own powers to the states, and states shall exercise that power to take away lives of the individuals as to protect the society. Such concept is mere imaginary, as it is never been proved that death penalty could fulfill the real purpose of punishment. Since the affirmation to the importance of right to life, which is very important to human rights, has significant influence to the development of Thailand’s judicial administration, the study and the process on abolishment of the death penalty, with regards to right to life, is necessary. In such process, Thailand should take a step to enact an Act to suspend the implementation of death penalty, which would be a great first step for further development of judicial administration in Thailand.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.862-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสิทธิมนุษยชน -- ไทย
dc.subjectคำพิพากษาศาล -- คดีอาญา
dc.subjectการประหารชีวิตและเพชฌฆาต
dc.subjectHuman rights -- Thailand
dc.subjectExecutions and executioners
dc.titleสิทธิในการมีชีวิตกับโทษประหารชีวิตในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeRIGHT TO LIFE AND DEATH PENALTY IN THAILANDen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorchachapon.j@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.862-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5485974034.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.