Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43437
Title: การปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมของสำนักงานสถาปนิก กรณีศึกษาสำนักงานสถาปนิกในจังหวัดภูเก็ต
Other Titles: ARCHITECTURAL PROFESSIONAL PRACTICE OF ARCHITECTURAL FIRMS. A CASE STUDY OF ARCHITECTURAL FIRMS IN PHUKET PROVINCE.
Authors: พิมพวรรณ ภักดีสุวรรณ
Advisors: ไตรวัฒน์ วิรยศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: vtraiwat@chula.ac.th
Subjects: การปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม
สถาปนิก
การบริหารองค์การ
Architectural practice
Architects
Associations, institutions, etc. -- Management
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมของสำนักงานสถาปนิกในจังหวัดภูเก็ต เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมของสำนักงานสถาปนิกในจังหวัดภูเก็ต และเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมของสำนักงานสถาปนิกในจังหวัดภูเก็ต ระเบียบวิธีวิจัยใช้การสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานสถาปนิกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุและแรงจูงใจในการก่อตั้งสำนักงานสถาปนิกที่จังหวัดภูเก็ต คือ ต้องการมีผลงานออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์มีแนวทางของตนเอง และเพื่อรองรับงานที่เกิดขึ้นจึงจัดตั้งสำนักงาน ขนาดของสำนักงานส่วนใหญ่เป็นสำนักงานขนาดเล็ก มีบุคลากรจำนวน 5-10 คน ประเภทของโครงการในจังหวัดภูเก็ตส่วนใหญ่เป็นอาคารโรงแรมและรีสอร์ท บ้านพักอาศัย คอนโดมิเนียมหรืออพาร์ทเมนท์ กลุ่มลูกค้าของสำนักงานสถาปนิกที่จังหวัดภูเก็ต สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มคนต่างชาติ 2.กลุ่มคนภูเก็ต แบ่งได้ 2 ลักษณะ 2.1 รุ่นก่อตั้งกิจการ 2.2 รุ่นสืบทอดกิจการต่อมา 3.กลุ่มลุกค้าคนไทยต่างถิ่น การตลาดของสำนักงานส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงรับมากว่าเชิงรุก เรื่องค่าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมนั้น มาตรฐานค่าบริการวิชาชีพแต่ละสำนักงานไม่เท่ากันภายในจังหวัดภูเก็ตและไม่มีเกณฑ์ที่ชัดเจน ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ จังหวัดภูเก็ตมีฤดูกาลท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการทำงานออกแบบและงานก่อสร้าง เนื่องจากลูกค้าต้องการให้งานเสร็จทันฤดูกาลท่องเที่ยว (high season ตรงกับฤดูร้อน ช่วงเดือน พ.ย.-เม.ย.) จึงมีระยะเวลาการทำงานในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว (Low Season ตรงกับฤดูฝน ช่วงเดือน พ.ค.-ต.ค.) ซึ่งเป็นช่วงมรสุมฝนตกเกือบตลอดเวลา ทำให้ควบคุมงานออกแบบก่อสร้างได้ลำบากจึงต้องมีการบริหารจัดการที่ดี ลูกค้าคนภูเก็ตมีการทำงานแบบครอบครัวทำให้การตัดสินใจมาจากหลายคน จึงเกิดความสับสนในการทำงาน มีปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอโดยบุคลากรที่เก่งและดีตรงตามเป้าหมายของสำนักงานมีน้อย ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมของสำนักงานสถาปนิกในจังหวัดภูเก็ต คือ เรื่องเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจโลกและของประเทศ ตลอดจนการเมืองและภัยธรรมชาติ ตลาดนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปมีผลกับงานออกแบบและคุณภาพงาน ส่วนปัจจัยภายในสำนักงาน คือ การบริหารงานให้เหมาะสมกับบุคลากรเพื่อให้ทำงานเสร็จทันตามเวลาและมีคุณภาพ สามารถสรุปแนวทางการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมของสำนักงานสถาปนิกในจังหวัดภูเก็ตได้ดังนี้ ควรมีมาตรฐานการทำงานที่สูงขึ้นและเป็นสากล มีความเป็นมืออาชีพสามารถทำงานร่วมกับต่างชาติได้ดี มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่ดีทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน สำนักงานควรจัดการงานได้รวดเร็วแต่มีคุณภาพดี และควรมีผลงานออกแบบที่ดี มีจุดเด่นเอกลักษณ์ของสำนักงาน ควรมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมีการบริการที่ดี สำนักงานจำเป็นต้องมีเครือข่ายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อส่งเสริมสำนักงานต่อไปในอนาคต ดังนั้น สำนักงานสถาปนิกในจังหวัดภูเก็ตควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการทำงานของสำนักงานเพื่อความพร้อมในการทำงานที่เป็นสากล
Other Abstract: This research is intended to gather information about the architectural professional practice of architectural firms in Phuket province to study the barriers as well as factors that affect the architectural professional practice of architectural firms in Phuket and suggest guidelines for the architectural professional practice of architectural firms in Phuket. The research methodology comprised interviews with the executives of the architectural firms sampled. The research tool utilized was the structured interview to study and collect data. The results show that the cause and motivation behind architectural firms being established in Phuket is the wish to present a unique design with their own guidelines and support to the project occurred. The firms were mostly small firms with 5-10 employees. Architectural projects in Phuket are mostly hotels and resorts, condominiums or apartments. The customers of architectural firms in Phuket can be divided in three groups: 1. International customers; 2. Phuket customers comprising two sub-groups: 2.1 Established business generation and 2.2 Inherited business generation; 3. Thailand's expat customers. The firm’s marketing is mostly reactive than proactive. The architectural service fee isn’t of the same standard within each firm and there is no clear criteria. Barriers encountered are the season of travel in Phuket which affects design and construction because the customer wants the work completed in the high season (high season is during summertime from Nov-Apr) with the period of work in the low season (low season is during the rainy season from May-Oct) experiencing monsoon rain almost all the time. It is difficult to control the design and the construction that must have good management. Phuket customers work in a family style that incorporates decisions from many people which can be confusing. The personnel are insufficient, as well as they are not qualified to meet the firm standards. External factors affecting the professional practice of architectural firms in Phuket are economic, both domestically and globally, as well as political crises and natural disasters. The tourism markets that change affect the design and quality of work. The internal factor is the personnel management getting the work completed on time and with quality. Below is a summary of the architectural professional practice of architectural firms in Phuket as follows: should have a higher standard of work and an international approach. A professional can work with foreigners as well, have good English skills, both spoken and written. Architectural firms should handle the job quickly, but with great quality and should have good designs. The unique features of the firms should have specific expertise and good service. Firms need to have a network to promote good relations in the future, so the architectural firms in Phuket should give priority to the development and operation of standard firms to the availability of work is universal.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43437
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.901
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.901
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573341925.pdf4.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.