Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43472
Title: ตำแหน่งอ้างอิงทางกายวิภาคศาสตร์ของเส้นประสาทเฟเชียลโดยใช้ความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ sternocleidomastoid กล้ามเนื้อ posterior belly of digastric และขอบหลังของกระดูกขากรรไกรล่าง
Other Titles: LOCATING ANATOMICAL LANDMARK OF THE FACIAL NERVE TRUNK USING RELATIONSHIP AMONG TENDON BAND OF THE STERNOCLEIDOMASTOID MUSCLE, POSTERIOR BELLY OF DIGASTRIC MUSCLE AND POSTERIOR BORDER OF THE MANDIBLE
Authors: ณัฐธิดา ราชแก้ว
Advisors: ธันวา ตันสถิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: tansatit@yahoo.com
Subjects: กายวิภาคศาสตร์มนุษย์
เส้นประสาท -- กายวิภาค
Human anatomy
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การผ่าตัดก้อนเนื้องอกบริเวณต่อมน้ำลายพาโรติด มีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญหลังการผ่าตัด คือ อาจทำให้เส้นประสาทเฟเชียลเกิดอัมพาตแบบชั่วคราวหรือถาวรได้ ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่นๆสามารถพบได้ เช่น Frey’s syndrome และมีอาการชาบริเวณใบหู ดังนั้นหลักการในการผ่าตัดเนื้องอกของต่อมน้ำลายพาโรติด คือ การป้องกันการกลับเป็นซ้ำและการเก็บรักษาเส้นประสาทเฟเชียลทุกแขนงจึงเป็นที่มาของการศึกษาในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตำแหน่งอ้างอิงทางกายวิภาคศาสตร์ของเส้นประสาทเฟเชียลส่วนต้นโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่าง ขอบด้าน deep ของด้าน anterior ของ tendon band ของกล้ามเนื้อ sternocleidomastoid ด้านบนสุด และจุดกึ่งกลางขอบหลังของ mandible เพื่อสร้างเส้นสมมุติ เปรียบเทียบกับรูปแบบทางเดินของเส้นประสาท ขนาดเส้นผ่าศูนย์และความยาวของเส้นประสาท ความลึกของเส้นประสาทที่วิ่งผ่านต่อมน้ำลายพาโรติด โดยเทียบจาก parotid gland (posterior aspect) และ point C (ขอบด้าน superficial ของด้าน anterior ของ tendon band ของกล้ามเนื้อ sternocleidomastoid) ศึกษาระยะทางจาก point D (จุดที่ขอบล่างของ posterior belly of digastric muscle ตัดกับ sternocleidomastoid muscle) ถึงจุด bifurcation ของเส้นประสาท โดยศึกษาในศีรษะอาจารย์ใหญ่ 30 ข้าง พบว่า ความสัมพันธ์ของเส้นประสาทเฟเชียลส่วนต้นกับรูปแบบทางเดินของเส้นประ สาทเฟเชียลแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ อยู่ในแนวเดียวกัน 17 ข้าง อยู่ต่ำกว่าเส้นสมมุติ 12 ข้าง ซึ่งจะไม่ต่ำเกิน 5 มิลลิเมตร และ อยู่สูงกว่าเส้นสมมุติ 1 ข้าง ที่ระยะ 1.1 มิลลิเมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมีค่าเท่ากับ 1.75±0.34 มิลลิเมตร ความยาวของเส้นประสาทมีค่าเท่ากับ 12.02±3.55 มิลลิเมตร ความลึกของเส้นประสาทที่วิ่งผ่านต่อมน้ำลายพาโรติด โดยเทียบจาก parotid gland (posterior aspect)และ จุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อ sternocleidomastoid มีค่าเท่ากับ 4.15±1.33 และ 15.57±2.19 มิลลิเมตร ตามลำดับ ระยะทางจาก point D ถึงจุดที่เส้นประสาทเกิด bifurcation มีค่าเท่ากับ 16.06±2.33 มิลลิเมตร ซึ่งจากข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการทำผ่าตัดก้อนน้ำลายพาโรติด เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดระหว่างการทำหัตถการได้
Other Abstract: Facial nerve injury is one of the most common complications of parotidectomy. The facial nerve was control facial expression. For this reason all parotid surgeons should be very careful to avoid any harm to the facial nerve. The accurate knowledge of the anatomical landmarks for the facial nerve trunk identification during parotid gland surgery is essential to carry out safe surgical procedures. While these surface landmarks have been described to guide the course of the facial nerve, they have not been studied in details directly applied to surgical approaches. In this research was purposed to determine the prediction line and verify the accuracy of the prediction line to facility facial nerve trunk identification, diameter and distance of facial nerve trunk, depth from the posterior surface of the parotid sheath to the facial nerve trunk, depth from Point C (superficial surface of anterior tendon band of sternocleidomastoid muscle to the facial nerve trunk and distance from point D to the bifurcation of facial nerve was investigated on the anterior surface. This study was performed in 30 hemi faces. The results revealed the facial nerve trunk was found in the same level of the prediction line in 17 hemi-faces and below in 12 hemi-faces. The average length and diameter of the facial nerve trunk were 12.02±3.55 mm and 1.75±0.34 mm, respectively. The average depth from the posterior aspect of the parotid sheath and Point C to the facial nerve trunk was 4.15±1.33 and 15.57±2.19, respectively. The distance from Point D to the bifurcation of the facial nerve trunk was 16.06±2.33 mm. The finding of this study may decrease risk and iatrogenic injury during parotidectomy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43472
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.924
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.924
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574124230.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.