Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43517
Title: ภาวะซึมเศร้า ความว้าเหว่ และการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในสถานสงเคราะห์ คนชราบ้านบางแค และที่พักผู้สูงอายุของเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: DEPRESSION, LONELINESS AND SELF ESTEEM OF THE ELDERLY IN BANGKAE HOME AND PRIVATE HOMES FOR THE AGED IN BANGKOK
Authors: ธนัญพร พรมจันทร์
Advisors: ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: siriluckspp@gmail.com
Subjects: สุขภาพจิต
ผู้สูงอายุ
Mental health
Older people
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยในรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความชุกของภาวะซึมเศร้า และ ศึกษาปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับ ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะซึมเศร้า ความว้าเหว่ และการเห็นคุณค่าในตนเอง นอกจากนั้นยังศึกษาปัจจัยทำนายของภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค และที่พักผู้สูงอายุของเอกชน จำนวน 295 คน โดยแบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบสอบถามภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ,แบบวัดความว้าเหว่ และแบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยใช้โปรแกรม SPSS version 17 วิเคราะห์ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน , การทดสอบไครสแควร์,การทดสอบทีเทส,การทดสอบความสัมพันธ์ด้วยวิธีเพียร์สัน และ การถดถอยลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้า โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็น เพศหญิงร้อยละ 70.5 อายุเฉลี่ย 78.43±8.30 ปี ความชุกของภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่างพบ ร้อยละ 57.3 โดยมีคะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าคือ 14.40±6.87 โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าในระดับเล็กน้อย ร้อยละ 25.8 รองลงมาคือระดับปานกลาง ร้อยละ 24.4 และระดับรุนแรง ร้อยละ 7.1 ส่วนด้านภาวะสุขภาพจิตพบว่าร้อยละ 35.9 ของกลุ่มตัวอย่างมีความว้าเหว่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 48.5 มีการเห็นคุณค่าในตนเองในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าได้แก่ เพศหญิง,สถานภาพก่อนเข้าพักคือไม่ได้อยู่ร่วมกับคู่สมรส,ไม่ได้รับการศึกษา, ไม่มีบุตร,ไม่มีรายได้ในปัจจุบัน,แหล่งที่มาของรายได้ไม่มั่นคง ,รายได้ไม่พอเพียงและมีหนี้สิน,พักอยู่รวมกับสมาชิกท่านอื่น,ตัดสินใจเข้าพักอาศัยด้วยตนเอง,ไม่พึงพอใจในความสามารถในการดูแลตนเอง,ไม่มีญาติมาเยี่ยม, ความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวไม่ดี,มีความสัมพันธ์กับสมาชิกท่านอื่นในสถานที่พักไม่ดี,ความสัมพันธ์กับผู้ดูแลประจำไม่ดี, ไม่พึงพอใจต่อที่พักอาศัย,ไม่พึงพอใจต่อบริการด้านอาหาร, ไม่พึงพอใจต่อบริการของเจ้าหน้าที่,ไม่พึงพอใจต่อการให้คำปรึกษาและความใส่ใจจากเจ้าหน้าที่, มีการเข้าร่วมกิจกรรม ด้านอาชีวบำบัด,ด้านนันทนาการและด้านสุขภาพน้อยครั้ง เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าพบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะว้าเหว่ที่สูง และการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ ผลการศึกษาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าด้วยการถดถอยลอจิสติก พบว่าปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ การไม่ได้รับการศึกษา,ปัจจัยด้านจิตสังคม ได้แก่ การไม่มีญาติมาเยี่ยม (p<0.05), ปัจจับด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความพึงพอใจต่อที่พักในระดับต่ำถึงระดับปานกลาง (P<0.01) และปัจจัยด้านสุขภาพจิต ได้แก่ ภาวะว้าเหว่สูง (p<0.001) เป็นปัจจัยทำนายของภาวะซึมเศร้า จากผลการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ตระหนักถึงภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ จากจำนวนผู้สุงอายุประมาณครึ่งหนึ่งซึ่งประสบปัญหาดังกล่าว และทราบถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ดังนั้นการค้าหาและรักษาภาวะซึมเศร้ารวมถึงการดูแลด้านจิตสังคม อาทิเช่น การลดความว้าเหว่ การส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองรวมทั้งการสร้างความพึงพอใจต่อที่พักอาศัย จึงมีส่วนช่วยสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์และที่พักผู้สูงอายุทั้งภาครัฐและเอกชน
Other Abstract: The purpose of this cross-sectional descriptive study was to investigate prevalence of depression and identify associated factors with depression of elderly, examine correlation between Depression Loneliness and Self-esteem and moreover to predict associated factors with depression of elderly in Bangkae home and private home for the aged in Bangkok. Data were collected from 295 samples by self report questionnaire, Thai geriatric Depression scale (TGDS), Loneliness scale and Self-esteem Scale. Statistical analysis was done by using SPSS program version 17 to determine percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, T-test, Correlation and Logistic regression to predict associated factors with depression in elderly. A p-value of less than 0.05 was considered statistically significant.The results showed that most of samples were women (70.5%) with the average age of 78.43±8.30 years .The prevalence of depression of samples was 57.3 % .Mean score was 14.40±6.87. About 25% of samples had mild depression, 24.4% had moderate depression and 7.1% had severe depression. About one-third of samples had moderate loneliness and 48.5% had moderate self esteem. Associated factors with depression included woman, not living with their spouse before admission ,no education, few of child ,no current of income, sources of income were not stable, not enough money, made a decision to admit in residence by themselves, living with roommate, no family visiting, poor relationship with family member , other member who lived in residence and caregiver, dissatisfied with residence , diet, service, caregiver attention, low attend with vocational therapy and health service.Depression correlated with high level of loneliness and low self-esteem. Logistic regression analysis was performed and found predicted factors of depression were no education, no family visiting (p<0.05). low to moderate satisfaction level with home for the aged, high level of loneliness. (P<0.01). This study was found prevelence of depression (about 50 %) and associated factors. Detection and treatment of depression and providing psychosocial support including decrease loneliness, improve self-esteem and satisfaction with residence will help for mental health in the elderly living in home for the aged.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43517
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.962
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.962
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574208330.pdf4.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.