Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43554
Title: | การนำมาตรการพิเศษมาใช้กับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับการล้มละลายโดยฉ้อฉล |
Other Titles: | PROPOSALS CONCERNING THE APPLICATION OF SPECIAL MEASURES FOR THE BANKRUPTCY FRAUD |
Authors: | สิทธิชัย เมืองแก้ว |
Advisors: | วีระพงษ์ บุญโญภาส |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | viraphong.B@chula.ac.th |
Subjects: | อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ล้มละลาย -- ไทย White collar crimes Bankruptcy -- Thailand |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เล่มนี้มุ่งศึกษามุ่งศึกษาถึงรูปแบบการกระทำความผิดที่เข้าข่ายการล้มละลายโดยฉ้อฉล การบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงมาตรการที่นำมาใช้กับความผิดดังกล่าว ทั้งในส่วนของประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาพบว่ากฎหมายที่นำมาใช้บังคับกับความผิดที่เข้าข่ายการล้มละลายโดยฉ้อฉล อันได้แก่ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ยังไม่มีการกำหนดความหมายและความผิดฐานล้มละลายโดยฉ้อฉลไว้โดยตรง นอกจากนี้การบังคับใช้กฎหมาย และมาตรการที่นำมาใช้กับการล้มละลายโดยฉ้อฉลในปัจจุบันยังไม่สอดคล้องกับลักษณะของความผิด ยังผลให้การป้องกันและปราบปรามความผิดที่เข้าข่ายการล้มละลายโดยฉ้อฉลไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ อาศัยเหตุนี้จึงควรมีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มคำนิยามและความผิดฐานล้มละลายโดยฉ้อฉลลงในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 การปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนนำมาตรการพิเศษมาปรับใช้ เพื่อจะยังผลให้การป้องกันและปราบปรามความผิดที่เข้าข่ายการล้มละลายโดยฉ้อฉลเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น |
Other Abstract: | This thesis purports to access and examine the patterns of specified actions which could be deem and categorised as bankruptcy fraud. The study will also include relevant provisions and regulations that have been utilised and employed to tackle with the subject matter both in Thailand as well as the United States. Throughout this dissertation, it has been established and duly noted that the laws and legislations on monitoring and regulating the bankruptcy fraudulent activities, namely the Insolvency Act B.E. 2483, the Act on Establishment of and Procedure for Bankruptcy Court BE. 2542, the Criminal Code, the Criminal and Procedural Code, together with other relevant measures and model strategies exercised and applied nowadays do not appropriately and efficiently correlates and in accordance with the actual wrong and offences committed within the framework of bankruptcy fraud. This, as a consequence, renders the existing laws and regulations arguably ineffective and insufficient for the purposes of monitoring and curbing such fraudulent activities in question. Accordingly, the conclusion the author has drawn from this study suggests that, ultimately, a better suited and improved provisions concerning bankruptcy fraud in particular on the issues regarding the enforcement process as well as the employment of specially tailored provisions should be strongly implemented so that a more effective, efficient and just result could be reached and accomplished throughout the bankruptcy fraudulent trial proceedings. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43554 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1020 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1020 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5586036734.pdf | 2.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.