Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43654
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโชติกา ภาษีผลen_US
dc.contributor.advisorกมลวรรณ ตังธนกานนท์en_US
dc.contributor.authorอนันดา สัณฐิติวณิชย์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:43:40Z
dc.date.available2015-06-24T06:43:40Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43654
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนา ตรวจสอบคุณภาพ และทดลองใช้ลักษณะเฉพาะของแบบสอบที่บูรณาการระหว่างตัวชี้วัดความสามารถด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน กับตัวชี้วัดการประเมินสาระการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบ ตามลักษณะเฉพาะของแบบสอบที่พัฒนาขึ้น โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ ทั้งในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ซึ่งมีการดำเนินงานที่คล้ายคลึงกัน โดยแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบสอบฯ ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาแบบสอบ และระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้ลักษณะเฉพาะของแบบสอบฯ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จึงได้ตัวอย่างสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 697 คน และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 673 คน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมิน ลักษณะเฉพาะของแบบสอบฯ และแบบสอบความสามารถ ซึ่งแบบสอบมีรูปแบบข้อสอบเป็นแบบสอบที่มีรูปแบบผสม มีลักษณะพหุมิติภายในข้อสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS, LISREL และโปรแกรม ConQuestผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้1. การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบสอบความสามารถที่บูรณาการระหว่างตัวชี้วัดความสามารถด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน กับตัวชี้วัดการประเมินสาระการเรียนรู้ ซึ่งมีองค์ประกอบของลักษณะเฉพาะของแบบสอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของการสอบ ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน แนวทางการสร้างข้อสอบ โครงสร้างของแบบสอบ รูปแบบของแบบสอบ ลักษณะเฉพาะของข้อสอบ ตัวอย่างข้อสอบ เกณฑ์การให้คะแนน และเกณฑ์การตัดสินคะแนน โดยมีตัวชี้วัดความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีจำนวน 8 ตัวชี้วัด และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีจำนวน 11 ตัวชี้วัด2. ลักษณะเฉพาะของแบบสอบที่บูรณาการระหว่างตัวชี้วัดความสามารถด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน กับตัวชี้วัดการประเมินสาระการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้งสองกลุ่มสาระการเรียนรู้ (M=4.41, 4.22; SD=0.37, 0.62 ตามลำดับ)3. แบบสอบความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีรูปแบบข้อสอบเป็นแบบสอบที่มีรูปแบบผสม ประกอบด้วย ข้อสอบหลายตัวเลือก และข้อสอบแบบความเรียง โดยข้อสอบหนึ่งข้อวัดมากกว่าหนึ่งความสามารถ4. แบบสอบความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคุณภาพของแบบสอบทั้งด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง (Chi-square=997.660, df=5, p<.01 ตามลำดับ) ความเที่ยง สำหรับคุณภาพข้อสอบ ข้อสอบส่วนใหญ่มีความยากปานกลาง ข้อสอบมีความเหมาะสมกับโมเดลการวัดความสามารถ (OUTFIT MNSQ=0.45-2.30,0.59-2.18 และINFIT MNSQ=0.77-1.33,0.78-1.44 ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were 1) to develop, verify the quality and try out the item specifications of a test integrating indicators of reading, analytical thinking, and writing abilities with indicators of content subject for ninth grade students and 2) to develop and verify the quality a tests that make from test item specifications by an application of multidimensional item response theory. This study had the same process for both science and mathematics strands. There were three sequential phases of study; i.e., 1) Development of test item specifications, 2) Development of tests, and 3) Implementation of test item specifications. The samples consisted of 697 grade ten students in science strand and 673 grade ten students in mathematics strand, using a multi-stage random sampling. The research instruments were interview form, questionnaire, evaluation form, the test item specifications, and ability tests that were mixed format and multidimensional within-item tests. Data were analyzed by using SPSS, LISREL and ConQuest.The research findings were as follows:1. Development of item specifications of a test integrating indicators of reading, analytical thinking, and writing abilities with indicators of content subject that test item specification consisted of Objective of test, Indicators of reading, analytical thinking, and writing abilities, Test development guidelines, Table of specification, Test format, Item specification, Sample items, Scoring criteria, and Grading criteria. In addition, Integrating indicators of reading, analytical thinking, and writing abilities with indicators of content subject for ninth grade students consisted of eight indicators for science strand and eleven indicators for mathematics strand.2. The quality evaluation results of Item specifications of a test integrating indicators of reading, analytical thinking, and writing abilities with indicators of content subject for ninth grade students, science and mathematics strands, were in high level (M=4.41, 4.22; SD=0.37, 0.62 respectively)3. The tests of reading, analytical thinking, and writing abilities for ninth grade students are mixed-format tests containing both multiple-choice items and constructed response items, and multidimensional within-item tests4. The quality of the tests of reading, analytical thinking, and writing abilities for ninth grade students, science and mathematics strands, consisted of content validity, construct validity (Chi-square=997.660, df=5, p<.01 respectively), EAP reliability. For the quality of items, most items have medium difficulty and fit with measurement model of ability (OUTFIT MNSQ=0.45-2.30,0.59-2.18 and INFIT MNSQ=0.77-1.33,0.78-1.44 respectively).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1104-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการประเมินผลทางการศึกษา
dc.subjectตัวบ่งชี้ทางการศึกษา
dc.subjectEducational evaluation
dc.subjectEducational indicators
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.titleการพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบสอบที่บูรณาการระหว่างตัวชี้วัดความสามารถด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน กับตัวชี้วัดการประเมินสาระการเรียนรู้: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF ITEM SPECIFICATIONS OF A TEST INTEGRATING INDICATORS OF READING, ANALYTICAL THINKING, AND WRITING ABILITIES WITH INDICATORS OF CONTENT SUBJECT: AN APPLICATION OF MULTIDIMENSIONAL ITEM RESPONSE THEORYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAimorn.J@chula.ac.then_US
dc.email.advisorKamonwan.T@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1104-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284268327.pdf9.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.