Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/436
Title: ปัจจัยและผลกระบวนการที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตสำนึกต่อสังคมของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Factors and process facilitating the development of Chulalongkorn University students' social consciousness
Authors: สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี, 2517-
Email: 
Advisors: สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Suwatana.S@chula.ac.th
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย--นักศึกษา
จิตสำนึก
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับจิตสำนึกต่อสังคมของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิเคราะห์ปัจจัยและกระบวนการที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตสำนึกต่อสังคมของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการวิจัยเชิงสำรวจและการศึกษาเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจคือนิสิตระดับปริญญาตรีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นปีการศึกษา 2547 จำนวน 342 คน เครื่องมือคือแบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย และสถิติอนุมาน โดยใช้การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างนิสิตจำนวน 8 คน จำแนกเป็นผู้มีคะแนนจิตสำนึกต่อสังคมระดับสูง 4 คน และระดับปานกลาง 4 คน ผลการวิจัย 1. โดยเฉลี่ยแล้วนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีจิตสำนึกต่อสังคมในระดับสูง 2. ปัจจัยและกระบวนการที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตสำนึกต่อสังคมของนิสิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยที่สำคัญมี 9 ตัว เรียงตามลำดับคือ กระบวนการพัฒนาจิตสำนึกต่อสังคมจากเพื่อน ความสม่ำเสมอในการทำกิจกรรม กระบวนการพัฒนาจิตสำนึกต่อสังคมจากครอบครัว กระบวนการพัฒนาจิตสำนึกต่อสังคมจากสื่อมวลชน ความสนใจในการทำกิจกรรม แบบอย่างจากบุคคลสำคัญแบบอย่างจากบิดา สถานภาพของครอบครัวที่พ่อแม่อยู่ด้วยกัน และภูมิลำเนา ตัวแปรทั้ง 9 ตัว ร่วมกันอธิบายแปรปรวนของจิตสำนึกต่อสังคมของนิสิตได้ร้อยละ 51.5
Other Abstract: The purposes of this study were to explore the level of social consciousness of Chulalongkorn University students, and to analyze factors and processes facilitating the development of social consciousness. The research procedure consisted of a survey and a qualitative study. The survey sample were 342 undergraduate students of Chulalongkorn University in the 2004 academic year. A questionnaire was developed to measure social consciousness of the students. The statistical analysis included descriptive statistics and inferential statistics :Pearson's product moment correlation coefficient and multiple regression analysis. The qualitative study was base on 8 selected students which composed of 4 students who had high level and 4 students who had middle level of social consciousness. Research findings: 1. On the average, the social consciousness of Chulalongkorn University students were at high level. 2. There were 9 factors and processes which were significantly explained the development of variable of Chulalongkorn University students' social consciousness. The nine predictors were the development processes from friends, the regulality in activity participation, the development processes from family, the development processes from mass media, interests in activity participation, role model of celebrity, role model of father, family togetherness, and area background. The nine variable were able of explaining 51.5 percents of the variance of the social consciousness scores.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/436
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.796
ISBN: 9741763263
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.796
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supattara.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.