Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43734
Title: | สัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมของอนุสรณ์ ติปยานนท์ |
Other Titles: | MAGICAL REALISM IN ANUSORN TIPAYANON'S LITERARY WORKS |
Authors: | หัตถกาญจน์ อารีศิลป |
Advisors: | ใกล้รุ่ง อามระดิษ สุรเดช โชติอุดมพันธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | aklairung@hotmail.com suradech.c@chula.ac.th |
Subjects: | วรรณคดี -- ประวัติและวิจารณ์ วรรณคดีกับประวัติศาสตร์ Literature -- History and criticism Literature and history |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาวรรณกรรมของอนุสรณ์ ติปยานนท์ ในด้านแนวคิดหลัก บทบาทของสัจนิยมมหัศจรรย์ และกลวิธีการประพันธ์แนวสัจนิยมมหัศจรรย์ในการนำเสนอแนวคิดหลัก การศึกษาพบว่า อนุสรณ์ ติปยานนท์ใช้กลวิธีการประพันธ์แนวสัจนิยมมหัศจรรย์ในการผูกเรื่อง การเล่าเรื่อง การสร้างตัวละครและฉาก ด้านการผูกเรื่อง ผู้เขียนผูกเรื่องโดยใช้โครงแนวสัจนิยมซึ่งได้แก่โครงเรื่องการเดินทางเพื่อปฏิบัติภารกิจ โครงเรื่องการคลี่คลายปริศนา และโครงเรื่องการประสบเหตุการณ์มหัศจรรย์ ซึ่งเปิดพื้นที่ให้กับการผสมผสานความมหัศจรรย์โดยนำเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และภาพยนตร์มาใช้ผูกเหตุการณ์สัจนิยมและสัจนิยมมหัศจรรย์ในเรื่อง ด้านการเล่าเรื่อง ผู้เขียนใช้การเล่าเรื่องแบบบุคคลที่ 1 และบุคคลที่ 3 เพื่อกำหนดมุมมองการรับรู้ของผู้อ่านให้ตั้งอยู่บทความเคลือบแคลงสงสัยระหว่างความจริงกับความมหัศจรรย์ ด้านการสร้างตัวละคร นอกจากตัวละครสัจนิยมซึ่งเป็นภาพตัวแทนของบุคคลในโลกความเป็นจริงแล้ว ผู้เขียนยังสร้างตัวละครสัจนิยมมหัศจรรย์ให้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินเรื่อง ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มมนุษย์ที่แฝงเร้นลักษณะพิเศษ กลุ่มวิญญาณที่คงความเป็นมนุษย์ และกลุ่มบุคคลปริศนา ด้านการสร้างฉาก ผู้เขียนสร้างฉากสัจนิยมโดยอ้างอิงประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ร่วมสมัย และสถานที่จริง อันทำให้ตัวบทเป็นภาพจำลองของโลกความเป็นจริง และสร้างฉากสัจนิยมมหัศจรรย์ในพื้นที่ธรรมชาติ พื้นที่ทางวัฒนธรรม และพื้นที่ปัจเจกเพื่อเป็นพื้นที่แห่งการปะทะสังสรรค์ระหว่างเหตุผลและความมหัศจรรย์ แนวคิดหลักเกี่ยวกับภาวะสังคมและตัวตนของบุคคลในยุคโลกาภิวัตน์ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับทุนนิยมและบริโภคนิยมที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ แนวคิดเกี่ยวกับการเมืองการปกครองที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของปัจเจก และแนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาการใช้ชีวิต ซึ่งเสนอผ่านกลวิธีการประพันธ์แนวสัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมทั้ง 11 เรื่องของอนุสรณ์ มีบทบาทในการเสนอให้เห็นความยอกย้อนและความเลื่อนไหลของความจริงโดยตั้งคำถามกับความจริงกระแสหลัก และเสนอให้เห็นขีดจำกัดของกระบวนทัศน์เหตุผลในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมโลก รวมถึงเสนอให้เห็นภาวะความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการผสมผสานข้ามวัฒนธรรมในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ |
Other Abstract: | This thesis aims to study Anusorn Tipayanon’s literary works in terms of the main themes, the role of magical realism and the use of magical realism to present the main ideas. It is found that the author employs magical realism in the creation of the plot, the narration, the characterization and the setting. Concerning the plot, three types of realistic plot including travelling for a specific mission, puzzle-solving and experiencing magical events are created with the combination of ordinary and magical realist episodes based on history, films and literature. In terms of the narration, first-person and third-person narratives are used by the author in order to control the perception of the reader and to create his/her confusion between realistic and magical events. As for the characterization, the main characters consist of both realistic characters which are representations of ordinary people in the real world and magical realist characters, namely humans with special power, the dead with living spirit and the mysterious persons. Concerning the settings, the author creates realistic settings based on history, contemporary events and real places to be the imitations of the real world while magical realist settings are set in natural, cultural and individual spaces where logical and magical worlds integrate. Dealing with society and individuals in the time of globalization, the main themes of Anusorn Tipayanon’s literary works can be categorized into three groups: the impact of capitalism and consumerism on the lives of human beings and nature, the influence of political concepts on the lives of individuals, and the concept of life. The main ideas of 11 stories written with the technique of magical realism play an important role in demonstrating the complexity and fluidity of truth by questioning the mainstream narratives, revealing the limitation of rational paradigm when used to explain social and global phenomena, as well as displaying the state of cultural diversity and hybridity in the globalized society. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43734 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1194 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1194 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5380183022.pdf | 7.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.