Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43736
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorแพร จิตติพลังศรีen_US
dc.contributor.authorสุชาดา แสงสงวนen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:44:17Z
dc.date.available2015-06-24T06:44:17Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43736
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพงานแปลภาษาไทยสองสำนวนของหนังสือ เดอะ โพรเฟ็ท ของคาลิล ยิบราน โดยใช้โมเดลการประเมินคุณภาพงานแปลของยูลีอาเนอ เฮาส์ และมุ่งศึกษาทำเนียบภาษาด้วยลักษณะทางภาษาศาสตร์ในวิธีการทางคำศัพท์ วิธีการทางวากยสัมพันธ์ และวิธีการทางตัวบท ผลการศึกษาพบว่าส่วนข้อผิดพลาดแบบเปิดเผยนั้น สำนวนแปล 1 ของระวี ภาวิไล มีหน่วยไม่ตรงจำนวน 54 หน่วย ในขณะที่สำนวนแปล 2 ของ ม.ล.ประมูลมาศ อิศรางกูร มีหน่วยไม่ตรงจำนวน 116 หน่วย ซึ่งบ่งบอกว่าสำนวนแปล 1 มีคุณภาพการแปลสูงกว่าสำนวนแปล 2 ส่วนข้อผิดพลาดแบบแอบแฝงซึ่งวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางคำศัพท์ วิธีการทางวากยสัมพันธ์ และวิธีการทางตัวบทนั้น พบว่าสำนวนแปล 1 มีหน่วยไม่ตรงจำนวน 29 หน่วยในวิธีการทางคำศัพท์, จำนวน 6 หน่วยในวิธีการทางวากยสัมพันธ์, และจำนวน 97 หน่วยในวิธีการทางตัวบท ในขณะที่สำนวนแปล 2 มีหน่วยไม่ตรงจำนวน 39 หน่วยในวิธีการทางคำศัพท์, จำนวน 57 หน่วยในวิธีการทางวากยสัมพันธ์, และจำนวน 168 หน่วยในวิธีการทางตัวบท โดยรวมแล้วส่วนข้อผิดพลาดแบบแอบแฝงนั้น สำนวนแปล 1 มีหน่วยไม่ตรงจำนวน 132 หน่วย หรือ 13% ของหน่วยแปล และสำนวนแปล 2 มีหน่วยไม่ตรงจำนวน 264 หน่วย หรือ 27% ของหน่วยแปล ดังนั้นคุณภาพงานแปลของสำนวนแปล 1 จึงสูงกว่าคุณภาพงานแปลของสำนวนแปล 2 นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ทำเนียบภาษาของเฮาส์ ซึ่งเป็นแนวคิดจากภาษาศาสตร์ระบบ-หน้าที่ของไมเคิล ฮัลลิเดย์ ใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ขอบเขตสัมพันธสาร ความสัมพันธ์ของคู่สื่อสาร และแบบวิธีสัมพันธสาร พบว่าในภาพรวมแล้วสำนวนแปล 1 มีหน่วยไม่ตรงจำนวนน้อยกว่า ซึ่งบ่งบอกว่ามีคุณภาพการแปลสูงกว่าสำนวนแปล 2 จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงว่าโมเดลการประเมินของเฮาส์ใช้เป็นเครื่องมือประเมินคุณภาพงานแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นสำนวนแปลภาษาไทยได้และใช้เปรียบเทียบคุณภาพงานแปลของบทแปลหลายสำนวนภาษาไทยได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to analyze two Thai translations of Kahlil Gibran’s The Prophet using Julianne House’s model of Translation Quality Assessment (TQA), and compare their quality in lexical, syntactic and textual means. The result shows that under overt errors the translation by Rawi Bhavilai has 54 mismatches while the translation by M.L. Pramoonmas Isarankura has 116 mismatches, which indicates that Bhavilai’s translation has a higher quality than Isarankura’s translation. Under covert errors analyzed by lexical, syntactic, and textual means, Bhavilai’s translation has 29 mismatches in lexical means, 6 mismatches in syntactic means, and 97 mismatches in textual means while Isarankura’s translation has 39 mismatches in lexical means, 57 mismatches in syntactic means, and 168 mismatches in textual means. In total, under covert errors, Bhavilai’s translation has 132 mismatches or 13% of translation units and Isarankura’s translation has 264 mismatches or 27% of translation units. Therefore, Bhavilai’s translation quality is higher than Isarankura’s translation quality. In addition, the result of House’s register analysis, which is adopted from Michael A. K. Halliday’s Systemic Functional Linguistics, in 3 elements of field, tenor and mode, shows that Bhavilai’s translation has, overall, a lower number of mismatches, which indicates a higher quality of translation than Isarankura’s translation. This study shows that House’s model can be taken as a means to assess translation quality from English ST into Thai TT and can be used to compare translation quality of different versions of Thai translations.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1196-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ
dc.subjectงานแปล
dc.subjectComparative linguistics
dc.subjectTranslations
dc.titleการประเมินสำนวนแปลภาษาไทยสองสำนวนของหนังสือเรื่อง เดอะ โพรเฟ็ท ของคาลิล ยิบราน โดยใช้รูปแบบของยูลีอาเนอ เฮาส์en_US
dc.title.alternativeAN ASSESSMENT OF THE TWO THAI VERSIONS OF KHALIL GIBRAN'S "THE PROPHET" USING JULIANE HOUSE'S MODELen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการแปลและการล่ามen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorphraechit@googlemail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1196-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5380337322.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.