Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43769
Title: ปรากฎการณ์ล้อเลียนเสียดสีข่าวในรายการทีวีออนไลน์ "เจาะข่าวตื้น"
Other Titles: NEWS PARODY PHENOMENON IN "JORKAWTEUN" INTERNET TV PROGRAM
Authors: กานต์ ชีวสาธน์
Advisors: พิรงรอง รามสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: pirongrong.r@gmail.com
Subjects: รายการโทรทัศน์
ล้อเลียน
ข่าว
Television programs
Satire
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของการสร้างสรรค์เนื้อหา การคัดเลือกประเด็นข่าวการเมืองและการผลิตเนื้อหา ระดับและประเด็นทางการเมืองที่ปรากฏ ลักษณะการล้อเลียนเสียดสีข่าวการเมือง คุณค่าข่าว และลักษณะการใช้ประโยชน์จากสื่ออินเทอร์เน็ตในการเผยแพร่เนื้อหาของรายการทีวีออนไลน์ “เจาะข่าวตื้น” โดยใช้วิธี การสัมภาษณ์ผู้ผลิตและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนารายการ การวิเคราะห์เนื้อหารายการ ซึ่งสุ่มตัวอย่างจากคลิปวิดีโอรายการทีวีออนไลน์ “เจาะข่าวตื้น” ที่ได้เผยแพรสู่สาธารณะไปแล้ว ทั้งสิ้น48ตอนในช่วงระหว่างเดือน เมษายน พ.ศ. 2554 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ2556 ทั้งนี้ ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยดูจากตอนที่มีจำนวนผู้ชมสูงสุดในแต่ละเดือน ผลการวิจัยพบว่าพัฒนาการของรายการทีวีออนไลน์เจาะข่าวตื้นสามารถแบ่งได้เป็นสามยุคโดยในยุคแรกจะเริ่มต้นจากการทำงานแบบครอบครัว โดยมีจรรยา วงศ์สุรวัฒน์เป็นผู้คิดบทรายการและวิญญู วงศ์สุรวัฒน์ เป็นพิธีกร โดยคัดเลือกข่าวการเมืองที่น่าสนใจจากหนังสือพิมพ์ ต่อมาในยุคที่สองรายการได้ย้ายมาอยู่ในสโป๊กดาร์กทีวีและได้เป็นพันธมิตรกับยูทูบ ทำให้มีรายได้นอกเหนือจากผู้สนับสนุนรายการ จนกระทั่งในยุคปัจจุบัน รายการได้มีช่วงเวลาที่เผยแพร่แน่นอน และมีสัดส่วนรายการที่แน่นอน โดยรูปแบบรายการจะเป็นการนำเอาข่าวการเมืองมาล้อเลียนเสียดสี มีการออกไปสอบถามความคิดเห็นประชาชนทั่วไป และการสัมภาษณ์แขกรับเชิญ ในส่วนของการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่ามีการการสื่อสารอารมณ์ขันในรูปแบบของการเล่นตลกกับภาษามากที่สุดและมีกลวิธีในการล้อเลียนเสียดสีข่าวการเมืองคือการใช้ภาษาและลีลาท่าทางของพิธีกรและพิธีกรร่วมมากที่สุด และคุณค่าข่าวการเมืองที่พบมากที่สุดคือคุณค่าข่าวด้านความมีเงื่อนงำ การจัดวาระข่าวสารของรายการทีวีออนไลน์เจาะข่าวตื้นมีความสอดคล้องกับสื่อกระแสหลักเนื่องจากผู้ผลิตใช้สื่อกระแสหลักเป็นแหล่งข้อมูลและข่าว การเป็นพันธมิตรกับยูทูบเป็นรูปแบบธุรกิจใหม่ในลักษณะของวารสารศาสตร์วิสาหกิจที่สร้างความยั่งยืนให้กับรายการทีวีออนไลน์ และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสร้างการรับรู้และเผยแพร่รายการของผู้ผลิตรายการนั้นช่วยเพิ่มยอดผู้เข้าชมและนำไปสู่รายได้
Other Abstract: This research has the following objectives: 1) to study the development of content creation – content selection and production -- of Jorkawteun Internet television program; 2) to investigate the levels and topics of politics that are covered, the nature of political news parody, and the types of news values reflected, and 3) to explore the use of the Internet to disseminate the program’s content. The study uses in-depth interviews with program producers and anchors, and content analysis of selected samples of the programs from a total 48 video clips that have been publicly disseminated between April 2011 and December 2013 The study uses purposive sampling to screen for the programs that have recorded the highest views of audience in each particular month during the study period Findings suggest that the development of Jorkawteun can be divided into three phases. In the first phase, the program was run as a small family business with a make-shift production house. The sister of the family Janya Wongsurawat was a creative and Winyu Wonsurawat or John Winyu was the anchorman. News issues covered in the program were mainly selected from newspapers. In the second phase, Jorkawteun moved to be SpokeDark TV, a more full-scale Internet television scheme and became a partner with Youtube, hence opening way for partial revenues to accrue through Youtube, in addition to sponsorship. In the third phase, which is the current phase of the program, Jorkawteun ‘s initial release time has become scheduled at an exact time and date every week like broadcast programs on ordinary television stations, with more professional staff involved in the creation of the program. Apart from satire of news and current affairs which is the main part of the program, the program also contains additional sections – vox pop, opinion polls, and interviews with celebrities or interesting figures. Furthermore, findings from the content analysis show that humor is communicated mainly through playing with words like homonym while the main parody technique used is through both verbal and non-verbal communication of the anchor persons. In terms of news value reflected, suspicion (of corruption or wrongdoings) is found most. In addition, the agenda-setting of Jorkawteun Internet television is consistent with the mainstream media since the producers rely on mainstream media for news and information sources. Moreover, the partnership with Youtube and the dissemination of the program through online social media have helped boost the program’s business model by creating a new form of entrepreneurial journalism that is more sustainable for an online television program, and by giving the program an access to a larger viewers’ base and more distributed sources of revenue.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43769
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1239
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1239
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384654028.pdf5.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.