Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43958
Title: การวิเคราะห์เนื้อหาและการจัดการปัญหาของละครโทรทัศน์ไทยที่ถูกร้องเรียน
Other Titles: ANALYSIS OF CONTENTS AND MANAGEMENT OF COMPLAINTS ON THAI TELEVISION DRAMAS
Authors: พัทธนันท์ ฉุยกรม
Advisors: ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: prapassornch@hotmail.com
Subjects: ละครโทรทัศน์
ข้อร้องเรียนของผู้บริโภค
Television plays
Consumer complaints
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นเนื้อหาและข้อถกเถียงของละครโทรทัศน์ที่ถูกร้องเรียน 2) ศึกษากระบวนการดำเนินการพิจารณาละครโทรทัศน์ที่ถูกร้องเรียน 3) ศึกษาการจัดการปัญหาของละครโทรทัศน์ที่ถูกร้องเรียนของฝ่ายผลิตละครโทรทัศน์ ใช้วิธีวิจัยแบบสหวิธีการ (Multi Methodology) ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กลุ่มตัวอย่างคือ ละครโทรทัศน์ที่ถูกร้องเรียนที่ออกอากาศในช่วงเวลาหลังข่าวภาคค่ำ (เวลา 20.30 น. – 23.00 น.) ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 โดยคัดเลือกจากละครโทรทัศน์ที่ถูกร้องเรียนผ่านหน่วยงาน กสทช. และสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 17 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่าเมื่อวิเคราะห์ละครโทรทัศน์ที่ถูกร้องเรียนตามแนวคิด SLVR ของโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคมจะพบว่าเป็นการร้องเรียนในประเด็นเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ (Sex) มากเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีทั้งการร้องเรียนในส่วนของภาพที่ปรากฏและในส่วนการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม โดยในด้านภาพที่ปรากฏจะเป็นการร้องเรียนในเรื่องการแต่งกายของนักแสดงที่ดูล่อแหลม และภาพฉากรักลึกซึ้ง (Love Scene) ส่วนในด้านเนื้อหามักจะเป็นในเนื้อหาเชิงชู้สาว การแย่งชิง ทั้งนี้ประเด็นเนื้อหาการร้องเรียนในเรื่องเพศยังมีเรื่องของ “วัยของตัวละคร” เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อันดับที่สองคือประเด็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับความรุนแรง (Violence) โดยพบว่าการร้องเรียนในภาพการตบตี ชกต่อย มีมากกว่าการร้องเรียนในส่วนของเนื้อหาที่แสดงออกถึงความรุนแรง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการประพฤติตนของตัวละครที่ไม่เหมาะสมตามจารีตของสังคมไทยเป็นประเด็นการร้องเรียนอื่นๆที่นอกเหนือจาก SLVR สำหรับข้อถกเถียงของละครโทรทัศน์ไทยที่ถูกร้องเรียนพบว่าส่วนใหญ่ผู้ร้องเรียนเป็นเพียงองค์กรหรือหน่วยงานที่ต้องการเรียกร้องสิทธิหรือต้องการแสดงบทบาทขององค์กรตนเอง โดยไม่ได้มีความรู้หรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับละครโทรทัศน์ และฝ่ายที่ถูกร้องเรียนก็มักจะมีข้อถกเถียงว่า ไม่ได้มีเจตนาในการจะทำให้ใครได้รับผลกระทบจากละคร อยากให้มองละครเพื่อความบันเทิง และยินดีที่จะปรับแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป และสุดท้ายฝ่ายผู้รับเรื่องร้องเรียน ก็มักจะทำการชี้แจงถึงอำนาจของตนเองว่าสามารถพิจารณาในประเด็นที่ถูกร้องเรียนเข้ามาได้หรือไม่ และตัดสินจากกฎหมายที่มีอำนาจในการใช้งาน สำหรับกระบวนการดำเนินการพิจารณาละครโทรทัศน์ที่ถูกร้องเรียน พบว่า สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจบทบาทหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการสื่อสารของประเทศ โดยมีกระบวนการตรวจพิจารณาที่เหมือนกับศาล ส่วนกระทรวงวัฒนธรรมนั้นไม่ได้มีอำนาจในการตรวจพิจารณาละครเรื่องที่ถูกร้องเรียนเข้ามา การดำเนินงานจึงทำได้เพียงประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลที่ได้ไปวิจัยเพื่อนำไปพัฒนาสื่อที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมให้ดีขึ้น ในส่วนของการจัดการปัญหาละครโทรทัศน์ที่ถูกร้องเรียนของฝ่ายผลิตนั้น จะมีขั้นตอนการรับเรื่องและวิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันออกไปตามประเด็นของการร้องเรียนที่เกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่ผู้ผลิตละครมักจะใช้การชี้แจงต่อสื่อมวลชน เพื่อแสดงเจตนาในการผลิตละคร และสำหรับการจัดการแก้ไขละครโทรทัศน์เรื่องที่ถูกร้องเรียนในตอนที่ยังเหลือการออกอากาศมักจะใช้วิธีการแก้ไขปัญหา ดังนี้ การใช้เทคนิคการตัดต่อ (การตัดฉาก การเบลอภาพ และการดูดเสียง) / การปรับเปลี่ยนบท / การขึ้นประโยคข้อความเตือน / การแสดงข้อคิดหรือแง่คิด / การจัดสัญลักษณ์ระดับความความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ (rating) ใหม่ เป็นต้น
Other Abstract: The objectives of this research study are 1) To study and analyze the content and arguments of the TV dramas facing complaint 2) To study the consideration process of the TV dramas facing complaint 3) To study the management of the production section toward complaints on the TV dramas. This research study conducted by employing multi-methodology: content analysis and in-depth interview. A representative sample of this research study is 17 TV dramas broadcasting after evening news (during 20.30 - 23.00 pm.) from January 2008 to September 2013. These dramas were selected from all dramas filed the complaints with the NBTC and the Culture Surveillance Bureau operating under the Ministry of Culture. The research study found that analysis of the TV dramas facing complaints based on the SLVR mostly are complaints about complaint sexual issues. The sexual complaints are both about the inappropriate images on screen (, such as the actress dressing too sexy or showing a lot of skin, or the drama showing explicit love scenes) and about the inappropriate content (, mostly are about a secret sexual relationship, stealing someone else's spouse and a male or female character having licentious behavior). Additionally, ‘age of characters’ is also related to the sexual complaint issues. For the arguments about Thai TV dramas facing complaint, the researcher also found that most complainants are just organizations or agencies that want to ask for their rights or perform their organization's duties. They are not the complainants having the special knowledge of or experience in drama production. The respondents who were complaint about always have the arguments that they have no intention of causing any effects of TV drama on the audience. The audience should focus on entertainment value of the drama. If the TV drama producer considers that the complaint issues are possible to be resolved, the TV drama producer is ready to find the appropriate solution for their complaints. And finally, the complaint receivers often inform whether they have the authority to consider the complaint issues and make a decision according to the applicable law. In the consideration process of the TV dramas facing complaint, the researcher found that the National Broadcasting and Telecommunication Commission (NBTC) is the independent government agency having authority to control the national communication and its operating procedure is also similar to that of the court. The Ministry of Culture has no authority to judge the TV dramas facing complaint. Its responsibilities are merely to help coordinate with the related agencies and collect the data for the study leading to a cultural development and enhancement. For the management of complaints on the production section’s TV dramas facing complaints, the procedures of receiving complaints and finding solutions vary according to the complaint issues. TV drama producers normally use mass media in order to demonstrate their intentions of producing dramas. Then, they will demonstrate them to the agencies making complaints. Generally, the solutions to TV dramas having remaining scenes are as follows: using editing techniques (deleting scenes, blurring out images and muting the audio), adapting scripts, adding a content warning, giving wise sayings or uplifting statement, revising the TV rating system, and so on.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43958
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1411
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1411
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584869828.pdf9.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.