Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44053
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชยันติ ไกรกาญจน์ | - |
dc.contributor.advisor | ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์ | - |
dc.contributor.author | รัตนิศา ศุภจัตุรีส | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-07-17T02:18:38Z | - |
dc.date.available | 2015-07-17T02:18:38Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44053 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | ในกรณีทรัพย์สินที่มีเจ้าของรวมหลายรายต้องถูกบังคับคดีเพื่อนำออกขายทอดตลาดตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ สิทธิในทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่เป็นเจ้าของรวมซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความในคดีจะ ถูกขายทอดตลาดด้วย โดยที่บุคคลนั้นไม่มีสิทธิที่จะจัดการอย่างใดกับทรัพย์สินของตนเองได้ตามกฎหมายสบัญญัติ จากการศึกษาพบว่า ในกรณีทรัพย์สินที่ทำการบังคับคดีมีลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลภายนอกเป็นเจ้าของร่วมกัน ทรัพย์สินนั้นย่อมต้องถูกบังคับคดีทั้งหมด เพราะถือว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษามีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในทรัพย์สินและไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่าส่วนใดเป็นของลูกหนี้ตาม คำพิพากษาและส่วนใดเป็นของบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของรวม ผู้วิจัยมีความเห็นว่าการบังคับคดีในลักษณะดังกล่าวเป็นการไม่รับรองสิทธิในทรัพย์สินของผู้เป็นเจ้าของรวมรายอื่น โดยกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้ เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเพียงแต่กำหนดให้สิทธิเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษา ยึดทรัพย์สินที่เป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น แต่ในกรณีนี้มีระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ.2522 ข้อ 32 กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจทำการยึดทรัพย์สินและขายทอดตลาดทรัพย์ที่มีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยได้ นอกจากนี้การบังคับคดีโดยวิธีการดังกล่าวยังมีผลทำให้คำพิพากษาของศาลซึ่งผูกพันลูกหนี้ตาม คำพิพากษาที่ถูกบังคับคดีให้ต้องรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียวนั้น มีผลไปผูกพันบุคคลอื่นที่เป็นเจ้าของรวมซึ่งมิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาด้วย ซึ่งเป็นการขัดต่อหลักเรื่องกรรมสิทธิ์รวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้วิจัยมีความเห็นว่า ควรมีการแก้ไขระเบียบกระทรวงยุติธรรมข้อ 32 ว่าหากทรัพย์สินที่จะทำการบังคับคดีเป็นทรัพย์สินที่มีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะทำการบังคับคดีทันทีไม่ได้ จำต้องรอให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้เป็นเจ้าของรวมเสียก่อน ต่อเมื่อเจ้าของรวมกันเอง ไม่สามารถแบ่งแยกทรัพย์สินระหว่างกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะใช้สิทธิทำการบังคับคดี ต้องร้องขอให้มีการแบ่งทรัพย์สินในส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกจากส่วนของเจ้าของรวมรายอื่นก่อน | en_US |
dc.description.abstractalternative | In the case that the property to be seized and sold by auction under the procedure law is owned by several co-owners, the shares of the other co-owners, who are non-parties to the case, are also subject to the execution and sold by auction. The co-owners have no rights to manage the property in anyway. The study found that when a judgment debtor and other co-owners share the ownership, the whole property is subject to the execution. This is because the judgment debtor has a share in the property and it is indivisible which part is whose. The author is of the opinion that that way of execution does not recognize the rights of the other co-owners as it is not mentioned in the law. The Civil Procedure Code only states that judgment creditors are entitled to seize the judgment debtors' properties. However, the ministerial rule of the Ministry of Justice on the Execution of Judgment by the Execution Officers B.E.2522, Clause 32 states that the execution officers have power to seize and sell by auction of the property despite of the co-ownership. By this way of execution, the judgment, which shall only be binding upon the judgment debtors to be solely responsible, is binding upon the other co-owners who are non-parties to the procedure. This is against the principle of co-ownership under the Civil and Commercial Code. The author opines that Clause 32 of the ministerial rule should be amended. If the property to be seized is owned by others as co-owners, the execution should stay until the property is divided. The judgment creditors should have right to execute upon the property only after requesting the property to be divided and the division is not possible under section 1364 of the Civil and Commercial Code. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.403 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การบังคับคดี | en_US |
dc.subject | ทรัพย์สิน | en_US |
dc.subject | สิทธิในทรัพย์สิน | en_US |
dc.subject | Executions (Law) | en_US |
dc.subject | Property | en_US |
dc.subject | Right of property | en_US |
dc.title | ปัญหากฎหมายในการบังคับคดีกับทรัพย์สินที่บุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวม | en_US |
dc.title.alternative | Legal problems on the execution of properties belonging to co-owners | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Chayanti.G@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Paitoon.K@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.403 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
rattanisa_su.pdf | 5.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.