Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44124
Title: วาทกรรมเอดส์ในเว็บไซต์แก้วไดอารี่
Other Titles: Aids discourse in Kaew Diary website
Authors: สมฤดี เกียรติศิริกุลธร
Advisors: สุกัญญา สุดบรรทัด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Sukanya.S@chula.ac.th
Subjects: โรคเอดส์ -- วจนะวิเคราะห์
วจนะวิเคราะห์
AIDS (Disease) -- Discourse analysis
Discourse analysis
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่ออธิบายรูปแบบและความหมายของสัญญะบนหน้าแรกของเว็บไซต์แก้วไดอารี่ 2) เพื่อวิเคราะห์หาประเด็นของการสร้างวาทกรรมและศึกษารายละเอียดของการสะท้อนอัตลักษณ์ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ปรากฏในเว็บไซต์แก้วไดอารี่ที่ต่อสู้กับภาพเหมารวมจากสื่อในทัศนะของเว็บไซต์แก้วไดอารี่ 3) เพื่อวิเคราะห์การทำหน้าที่ของชุดวาทกรรมต่างๆ 4) เพื่ออธิบายภาพชุมชนไซเบอร์ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่สะท้อนผ่านทางวาทกรรม งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากเว็บไซต์แก้วไดอารี่ ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2544 จนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2551 การสัมภาษณ์เชิงลึกกับสมาชิกในเว็บไซต์แก้วไดอารี่ และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยสรุปได้ 4 ประเด็นดังนี้ 1) รูปแบบและความหมายของสัญญะบนหน้าแรกของเว็บไซต์แก้วไดอารี่ประกอบไปด้วยรูปภาพ ไอคอน สีโทนเย็น (อาทิ สีเขียว สีฟ้า เป็นต้น) และการใช้เพลงบรรเลงจังหวะช้าๆ ซึ่งความหมายโดยรวมของสัญญะทั้งหมดบนหน้าแรกของเว็บไซต์แก้วไดอารี่คือ การทำหน้าที่เสมือนห้องรับแขกที่สร้างความผ่อนคลาย สบายใจให้กับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์แก้วไดอารี่ และสื่อถึงความอบอุ่น การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข 2) วาทกรรมที่พบในเว็บไซต์แก้วไดอารี่มี 4 ชุดวาทกรรม คือ วาทกรรมการให้กำลังใจ วาทกรรมการแพทย์ วาทกรรมชุดศาสนา วาทกรรมชุดเพศสภาพ และวาทกรรมที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับภาพเหมารวมจากสื่อในทัศนะของเว็บไซต์แก้วไดอารี่คือ วาทกรรมการให้กำลังใจตนเอง ส่วนอัตลักษณ์หรือสิ่งที่แสดงออกมาของผู้ติดเชื้อเอชไอวีคือ อุดมการณ์หรือกรอบของผู้ป่วย รวมถึงกรอบของผู้ที่อยู่บนทางสองแพร่งแห่งความเป็นและความตาย 3) ชุดวาทกรรมต่างๆ ทำหน้าที่แตกต่างกันไปดังนี้ วาทกรรมการมองโลกในแง่ดีทำหน้าที่ให้กำลังใจและระบายอารมณ์ วาทกรรมการแพทย์ทำหน้าที่ให้ตระหนักถึงสภาวะและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป วาทกรรมศาสนาทำหน้าที่เพื่อให้เกิดความสบายใจและการปลง วาทกรรมเพศสภาพทำหน้าที่ตอกย้ำประเด็นหน้าที่ของผู้หญิง 4) เว็บไซต์แก้วไดอารี่สามารถสร้างชุมชนเสมือนให้เป็นพื้นที่พักพิงใจสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและยังทำหน้าที่เสมือนสะพานที่เชื่อมให้สมาชิกในเว็บไซต์แก้วไดอารี่มาเจอกันในโลกแห่งความจริงอีกด้วย
Other Abstract: There are four objectives of this research : 1) To explain the semantic form and meaning of information on the main page of a website, Keaw diary (www.kaewdiary.com) 2) To analyze the construction of discourse and to study the reflection of identity of an aid patient against the overall impression of medias as related to the Keaw diary, 3) to analyze roles the various tools for analyzing discourse. 4) To explain the community of aid patients reflecting through discourse. This research employs the content analysis of the Keaw diary website from 18 March 2001 - 18 March 2008 through in-depth interview with members of the website and through participative observation. The research results can be summarized as follows. 1) The form and meaning of the main page of Keaw diary consists of pictures, icons, colors that conveys the sense of calm and cool (such as green, blue, etc.) and also includes hypnotical music. All these represent symbolically a living room which makes the visitors feel at home, warm and a sense of living together. 2) There are four discourse in this website : encouragement discourse, medical discourse, religious discourse, and sex status discourse. In particular, the encouragement discourse is for fighting against the overall impression from the press community. From the point of view of Keaw diary, it is really the discourse of self-encouragement that is significance for maintaining its presence. The identity shown from the aid patients is the idealism of the aid patient within the framework of live and death. 3) The set of discourses that perform different functions such as discourse for encouragement and releasing temperament, discourse for medical reasoning the reflects the changes in one's health conditions, the discourse for relaxation and acceptance of the things happened and the discourse that emphasizing the role of women. 4) The Keaw diary website has built a community for those who need the support of fellow human in the same situation and a bridge for the aid patients to face the reality of the real world.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44124
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1027
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1027
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
somruedee_ki.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.