Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44178
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมในคู่รักกับความพึงพอใจในความสัมพันธ์โดยมีการมองโลกในแง่ดีเป็นตัวแปรส่งผ่าน |
Other Titles: | Relationship between dyadic perfectionism and relationship satisfaction : the mediating role of optimism |
Authors: | ดาวุธ ศาสนพิทักษ์ ธิดา สุดใจ วาสิตา กำเนิดมงคล |
Advisors: | ณัฏฐารีย์ ศิริวิวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การยึดติดความสมบูรณ์แบบ คู่รัก ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความสัมพันธ์ระหว่างบุรุษและสตรี การมองโลกในแง่ดี Perfectionism (Personality trait) Couples Interpersonal relations Man-woman relationships Optimism |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โครงงานทางจิตวิทยานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมในคู่รักกับความพึงพอใจในความสัมพันธ์โดยมีการมองโลกในแง่ดีเป็นตัวแปรส่งผ่าน ของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งกำลังมีความสัมพันธ์เชิงคู่รักอยู่ในปัจจุบัน จำนวน 224 คน ผู้ร่วมการวิจัยทำมาตรวัดลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมในคู่รัก มาตรวัดความพึงพอใจในความสัมพันธ์ และมาตรวัดการมองโลกในแง่ดี ผลการวิเคราะห์ พบว่า 1. ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมในคู่รักในการทำนายความพึงพอใจในความสัมพันธ์ แบ่งเป็น 1.1 เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่า ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมในคู่รักแบบพึงประสงค์สามารถทำนายความพึงพอใจในความสัมพันธ์ได้ในทิศทางบวก 1.2 ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมในคู่รักแบบไม่พึงประสงค์ สามารถทำนายความพึงพอใจในความสัมพันธ์ได้ในทิศทางลบได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( = -.42, p < .001) 1.3 การไม่มีลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมในคู่รักไม่สามารถทำนายความพึงพอใจในความสัมพันธ์ได้ในทิศทางบวกได้อย่างนัยสำคัญทางสถิติ ( = -.08, p = .36) 2. ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมในคู่รักในการทำนายความพึงพอใจในความสัมพันธ์โดยมีการมองโลกในแง่ดีเป็นตัวแปรส่งผ่าน แบ่งเป็น 2.1 เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่า ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมในคู่รักแบบพึงประสงค์สามารถทำนายความพึงพอใจในความสัมพันธ์ได้ โดยมีการมองโลกในแง่ดีเป็นตัวแปรส่งผ่าน 2.2 ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมในคู่รักแบบไม่พึงประสงค์สามารถทำนายความพึงพอใจในความสัมพันธ์ได้ โดยไม่มีการมองโลกในแง่ดีเป็นตัวแปรส่งผ่าน (95%CI boot [-.0408, .0153], p >.05) |
Other Abstract: | The purpose of this research was to examine the mediating effect of optimism on the association between dyadic perfectionism and relationship satisfaction. Two hundred and twenty-four undergraduate students from various universities in Bangkok metropolitan area completed the measures of dyadic perfectionism, relationship satisfaction and optimism. Results were as follow: 1. Dyadic perfectionism as a predictor of relationship satisfaction, as follows: 1.1 As a result of participant insufficiency, it was unable to analyze whether adaptive dyadic perfectionism can positively predict relationship satisfaction. 1.2 Maladaptive dyadic perfectionism significantly predicted relationship satisfaction in negative way. ( = -.42, p < .001) 1.3 Nondyadic perfectionism could not positively predict relationship satisfaction. ( = -.08, p = .36) 2. The mediating role of optimism in relationships between dyadic perfectionism and satisfaction, as follows: 2.1 As a result of participant insufficiency, it was unable to analyze whether optimism can mediate the relationship between adaptive dyadic perfectionism and relationship satisfaction. 2.2 Maladaptive dyadic perfectionism significantly predicted relationship satisfaction without optimism as a mediator. |
Description: | โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2013 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44178 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Psy - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
dawut_sa.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.