Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44222
Title: การพัฒนาแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์โดยประยุกต์แนวคิดทางพุทธศาสนา
Other Titles: A development of the emotional intelligence scale by applying the Buddhism concept
Authors: วัชราภรณ์ จิตรมาศ
Advisors: เอมอร จังศิริพรปกรณ์
สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Aimorn.J@Chula.ac.th
wsuwimon@chula.ac.th
Subjects: ความฉลาดทางอารมณ์
ความฉลาดทางอารมณ์ -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา
แบบทดสอบทางจิตวิทยา
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Emotional intelligence
Psychological tests
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์โดยประยุกต์แนวคิดทางพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างกลุ่มเพศและกลุ่มประเภทโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 2,233 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์ความเที่ยงของแบบวัดแบบความสอดคล้องภายใน ใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ตรวจสอบความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคะแนนระหว่างแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกับแบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบหลัก แบบวัดกลวิธีในการเผชิญปัญหาตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS for Windows version 10.0 โปรแกรม Microsoft Office Excel 2003 และโปรแกรมลิสเรล 8.53 สถิติที่ใช้คือสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์กลุ่มพหุ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า 1) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์โดยประยุกต์หลักไตรสิกขา หรือมรรค 8 วัดใน 3 องค์ประกอบ คือ ประพฤติดี จิตใจดี และคิดดี 21 ตัวแปรสังเกตได้ ข้อคำถามแต่ละข้อเป็นสถานการณ์ทั้งหมด 54 ข้อ ถามใน 3 ประเด็น คือ มีอารมณ์ ความรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร และจะทำอย่างไร คำตอบของแต่ละประเด็นคำถามมี 4 ตัวเลือก น้ำหนักคะแนน 1-4 คะแนน ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .935 องค์ประกอบด้านประพฤติดี จิตใจดี และคิดดี มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ .843 .871 และ .840 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์กับแบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบหลักและแบบวัดกลวิธีในการเผชิญปัญหา เท่ากับ .423 และ .432 ตามลำดับ 2) โมเดลความฉลาดทางอารมณ์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไค-สแควร์ = 103.345; องศาความเป็นอิสระ = 98 ค่า p = .36; GFI = .996; AGFI = .990) องค์ประกอบ ประพฤติดี จิตใจดี และคิดดี อธิบายความแปรปรวนของความฉลาดทางอารมณ์ได้ร้อยละ 74.2 100 และ 85.2 ตามลำดับ 3) โมเดลความฉลาดทางอารมณ์มีความไม่แปรเปลี่ยนในรูปแบบของโมเดล แต่มีความแปรเปลี่ยนของเมทริกซ์พารามิเตอร์ทุกค่าที่ทดสอบในระหว่างกลุ่มเพศ ส่วนระหว่างกลุ่มประเภทโรงเรียนโมเดลมีความแปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดล
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to develop a valid scale to measure emotional intelligence (EI) by applying the Buddhism concept for Thai lower secondary school students 2) to develop and validate the EI model 3) to test the EI model invariance across groups of students with different gender and type of school. A sample of 2,233 students was drawn by multistage random sampling from lower secondary school students, Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. The reliability of the scale was analyzed by using Cronbach's alpha coefficient. The criterion related validities were confirmed by the correlations between the scores from the Big Five scale and the Coping scale. The construct validity was detected through second confirmatory factor analysis. The statistics were descriptive, Pearson's products moment correlation by using SPSS 10.0, Microsoft Office Excel 2003, and LISREL's multigroup procedure. The major findings were: 1) The Emotional Intelligence Scale by applying the Buddhism, the threefold training of Tri-Sikkha or Eightfold Path, consisted 3 dimensions included Good Behave, Good Mind and Good Thinking. Each of 54 situation items had 3 questions; feeling or emotion, thinking, and intentional acting, each question had four choices which score weight ranged from 1-4. The reliability of the scale, Cronbach's alpha coefficient value was .935, the Good Behave scale; the Good Mind acale and the Good Thinking scale were .871, .843 and .840. The correlations between the scores from the Big Five scale and the Coping scale were .423 and .432 respectively. 2) The construct validity of the scale, the secondary order confirmatory factor analysis indicated that the model was fit to the empirical data (chi-square = 103.345; df = 98; p = .336; GFI = .996; AGFI = .990). The model accounted for 74.2 100 85.2 percent of variance in Good Behave, Good Mind and Good Thinking respectively. 3) The model indicated invariance of model form, but all parameter were variance between the gender. The model indicated invariance of model form between types of the school.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44222
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1154
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1154
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watcharaporn_Ji.pdf6.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.