Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44363
Title: แนวทางการจัดทำการรวมวีซ่าของประชาคมอาเซียน
Other Titles: Guideline of ASEAN Community Common Visa processing
Authors: จันจิรา ฐิติชญานุวัฒน์
Advisors: สมบัติ กาญจนกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Sombat.K@Chula.ac.th
Subjects: วีซ่า -- อาเซียน
Visas -- ASEAN
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการวีซ่าเชงเกนและเพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดทำการรวมวีซ่าของประชาคมอาเซียน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้แทนประเทศสมาชิกกลุ่มเชงเกนและกลุ่มอาเซียน จำนวน 11 ประเทศ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง จากนั้นนำผลที่ได้จากการศึกษา เก็บข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผล เพื่อนำเสนอเป็นแนวทางตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ขั้นตอนของกระบวนการวีซ่าเชงเกน เริ่มจากการนำนโยบายด้านการเปิดพื้นที่เสรีระหว่างพรมแดนของกลุ่มเบเนลักซ์มาดำเนินนโยบายต่อเนื่อง โดยกลุ่มเชงเกนได้จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1985 ซึ่งกลุ่มประเทศริเริ่มได้แก่ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และเยอรมนีตะวันตก ต่อมาอิตาลี โปรตุเกส สเปน กรีซและออสเตรีย ได้เข้าร่วมลงนามตามข้อตกลง และในปี ค.ศ. 1996 เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน ได้เข้าร่วมลงนามตามข้อตกลงตามลำดับ ก่อนที่สาธารณรัฐเช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวาเกีย สโลวีเนีย และสวิตเซอร์แลนด์จะเข้าร่วมลงนามตามข้อตกลงในปี ค.ศ. 2004 และล่าสุดในปี ค.ศ. 2008 ลิกเตนสไตน์ได้ตามเข้าร่วมลงนามเป็นสมาชิกของกลุ่มเชงเกน รวมเป็น 26 ประเทศ ในตอนต้นข้อตกลงเชงเกนเป็นเพียงอนุสัญญา ต่อมาภายหลังได้ถูกจัดรวมเข้ากับกฎหมายหลักของสหภาพยุโรปจนเป็นสนธิสัญญาในปัจจุบัน จากผลการวิจัย สามารถนำเสนอแนวทางการจัดทำการรวมวีซ่าของประชาคมอาเซียนได้ว่า 1. ประชาคมอาเซียนควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านวีซ่าอาเซียนโดยเร่งด่วนและมีการจัดประชุมระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อนำนโยบายสู่แนวทางปฏิบัติ 2. ในขั้นต้นประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ควรเลือกประเทศที่มีความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นประเทศนำร่องก่อน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และไทย ส่วนประเทศที่ยังไม่มีความพร้อม สามารถเป็นผู้สังเกตการณ์และเข้าร่วมในภายหลังได้
Other Abstract: This research was a qualitative research, intended to study the procedures of Schengen Visa and to make a guideline for the ASEAN Common Visa by using documentary research and in-depth interview as primary methods, and the semi-structured interview was a tool used in collecting data. The data were analyzed and synthesized for the ASEAN Common Visa construction as a guideline. The result was found that the Schengen procedure was initiated from the implementation of the free movement policy of the Benelux countries and the Schengen Visa committee was established in 1985. The initiative countries were Belgium, the Netherlands, Luxembourg, France and West Germany. In 1996, Denmark, Finland, Iceland, Norway and Sweden join the treaty. The lastest countries were Switzerland in 2004 and Liechtenstein participated in 2008 that was strengthen Schengen Agreement to be 26 members. The early formation Schengen was agreement and later it was the legal law of European Union. The guideline was proposed in order to formation the ASEAN Community Common Visa processing as follow: 1. The ASEAN Community should form committee for Common Visa as priority and set up the meeting for all ASEAN members in order to implement policy in to practice. 2. All 10 ASEAN members should select its members who were well established in Social, Economic, Culture and Environment as the first ASEAN group those were Indonesia, Malaysia, Singapore, Philippines and Thailand. The second group members were observer and well participate when they were ready.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44363
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.586
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.586
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
junjira_th.pdf6.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.