Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44529
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศักดา ธนิตกุลen_US
dc.contributor.authorวิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:29:37Z
dc.date.available2015-08-21T09:29:37Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44529
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractปัจจุบันประเทศไทยมีการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยราคาที่สำคัญสองฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ซึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อควบคุมราคาสินค้าและคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรง และพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ซึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อกำกับดูแลพฤติกรรมของผู้ประกอบการให้อยู่ภายใต้กรอบกติกาการแข่งขันและส่งเสริมระบบการแข่งขันในตลาดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่กฎหมายทั้งสองฉบับมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันจึงทำให้ทิศทางการบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นระบบ งานวิจัยนี้แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกนำเสนอรายละเอียดและข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ โดยมีสามประเด็นหลักๆ ได้แก่ มาตรการว่าด้วยกฎหมายว่าด้วยราคา แนวคิดและความสำคัญของเกณฑ์ผู้มีอำนาจเหนือตลาดและการกำกับดูแลพฤติกรรมที่ไม่เป็นธรรม และในส่วนที่สองเป็นบทวิเคราะห์ บทสรุปและข้อเสนอแนะ โดยแบ่งประเด็นการวิเคราะห์ที่สำคัญ ได้แก่ ความสัมพันธ์ของกฎหมายทั้งสองฉบับ ตลอดจนแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยราคาในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ในบริบทของประเทศไทยพบว่าแม้พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการฯ จะไม่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมกลไกตลาดอันเนื่องมาจากเหตุผลทางด้านประวัติศาสตร์ที่คุ้นเคยจากการให้รัฐเข้าควบคุมราคาสินค้ามาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปัจจุบันโดยไม่มีแนวโน้มจำกัดขอบเขตการบังคับใช้ก็ตาม ในขณะที่พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าฯ มีเจตนารมณ์ที่ส่งเสริมกลไกตลาดแต่ในทางปฏิบัติกลับยังไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายเท่าที่ควร แต่กฎหมายว่าด้วยราคาทั้งสองฉบับแม้จะมีความแตกต่างกันในด้านเจตนารมณ์ กลุ่มเป้าหมายของอุตสาหกรรม ประเภทของสินค้าหรือผลประโยชน์ของผู้บริโภคก็ตาม แต่ก็มีลักษณะการทำงานที่สอดคล้องกันในหลายมิติซึ่งสามารถประเมินได้ว่ากฎหมายทั้งสองฉบับมีความสัมพันธ์กันในลักษณะส่งเสริมและกระตุ้นการทำงานซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ หลักเกณฑ์การมีอำนาจเหนือตลาดของประเทศไทยควรพิจารณาจากองค์ประกอบอื่นนอกเหนือจากเกณฑ์ส่วนแบ่งตลาดและเกณฑ์ยอดเงินขายด้วยเพื่อให้เป็นไปตามหลักสากลและยืดหยุ่นมากขึ้น และในส่วนของการกำกับดูแลพฤติกรรมที่ไม่เป็นธรรมนั้นควรมีการกำหนดเกณฑ์ที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนสุดท้าย สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะองค์กรบังคับใช้กฎหมายทั้งสองฉบับ ในส่วนของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าอาจต้องทบทวนเกณฑ์ผู้มีอำนาจเหนือตลาดหรือเกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นระยะๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ในขณะที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการอาจเพิ่มอำนาจหน้าที่ในการสนับสนุนการแข่งขันทางด้านราคาเพิ่มเติมen_US
dc.description.abstractalternativeIn the present, Thailand has enforced two significant trading and pricing related acts which were Act on Prices of Goods and Services B.E. 2542 and Trade Competition Act B.E. 2542. As stated above, both acts have been enforced to retain trader’s behavior, and control impartiality in the market among traders, additionally improving the competitive market mechanism to be more efficient and reliable. However, there were several different objectives of both acts which led to the failure of systematical law enforcement which were the major purposes of this research. The research was divided into two particular topics in general. The first part presented three major issues of both laws with the comparative study, which were legal measures relating to pricing, criteria of market dominant position and its significant, and unfair business practices. Secondary, since the major research objective was to improve both laws enforcement to be more effective and efficient. Hence, after indicating points of difference, the research provided data analysis, conclusions, and recommendations of applying both laws proficiently. The findings indicated that even though Act on Prices of Goods and Services B.E.2542 has not been used for promoting market mechanism led from historical factors that allowed government to intervene pricing in the market since after the World War II, and there was no tendency to change until now. In the other hands, the Trade Competition Act B.E. 2542 had the legislative intent to support the market mechanism itself, anyhow, it still lacked of effectiveness and efficiency in practical enforcements. Surprisingly, both acts indeed had different intendments of law applying to different goods and service industries, but they have shared common process which could be concluded that both acts has related in terms of supporting each other to improve the market mechanism. Furthermore, the principle to identify the market dominance in Thailand should be considered from other factors for more internationalized and flexible. Rather than only consider from existing ones such as indication of market share, and total sales revenue which were imbalance and inexplicit. Finally, in order to enforce both acts improvingly together from law enforcement organizations, especially the Commission of Trade Competition should seriously reconsider the criteria of market dominance, as well as other related criteria periodically to assure it is up to current situation. In the other hands, the Central Committee of Prices and Goods should be increased more authority to support pricing competition in the market as well.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.546-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542
dc.subjectพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
dc.subjectการควบคุมราคา
dc.subjectTrade Competition Act, B.E. 2542
dc.subjectPrices of Goods and Services Act, B.E. 2542
dc.subjectPrice regulation
dc.titleการพัฒนาการกำกับดูแลด้านราคาภายใต้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542en_US
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF PRICE REGULATIONS UNDER THE THAI TRADE COMPETITION ACT 1999en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsakda.t@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.546-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5486552034.pdf6.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.