Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44532
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุลen_US
dc.contributor.authorนฤมล บัวงามen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:29:39Z-
dc.date.available2015-08-21T09:29:39Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44532-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractเก็บตัวอย่างดินตะกอนผิวหน้าของอ่าวไทยจำนวน 144 สถานี วิเคราะห์ปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน (PHCs) โดยใช้เทคนิคฟลูออเรสเซนต์สเปกโตรสโคปี และวิเคราะห์พอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) 16 ชนิด ในดินตะกอนจาก 62 สถานี ด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทรกราฟี-แมสสเปกโทรเมทรี (GC-MS) ใช้ diagnostic ratios และ principle component analysis (PCA) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแหล่งกำเนิดของ PAHs ในดินตะกอน ผลการศึกษาพบว่า ระดับ PHCs ในดินตะกอนผิวหน้ามีค่าอยู่ในช่วง 0.027 ถึง 0.664 และเฉลี่ยเท่ากับ 0.259±0.112 ไมโครกรัมต่อกรัม น้ำหนักแห้ง ในรูปสมมูลไครซีน ระดับ PAHs อยู่ในช่วง 21.6 ถึง 216 และเฉลี่ยเท่ากับ 75.5±48.5 นาโนกรัมต่อกรัม น้ำหนักแห้ง บริเวณนอกชายฝั่งจังหวัดระยอง ชุมพร และนครศรีธรรมราช มีค่า PHCs และ PAHs สูง จากการวิเคราะห์แหล่งกำเนิดของ PAHs ในดินตะกอนโดยใช้ diagnostic ratios ที่เลือก บ่งชี้ว่ามีแหล่งกำเนิดผสมกันหลากหลาย แต่แหล่งกำเนิดหลักมาจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ (83.9%) ส่วนที่เหลือมาจากปิโตรเลียมที่ไม่ผ่านกระบวนการเผาไหม้ (16.1%) จากการวิเคราะห์โดยใช้ PCA พบว่ามีแหล่งกำเนิดของ PAHs มาจากการเผาไหม้ของน้ำมันปิโตรเลียมและถ่านหิน (24.6%) ดีเซล (19.0%) เบนซิน-ดีเซล (14.7%) และจากปิโตรเลียมที่ยังไม่ผ่านกระบวนการเผาไหม้ (11.8%) จากการแบ่งกลุ่มสถานีด้วย hierarchical cluster analysis (HCA) พบว่า PAHs ที่พบสูงในสถานีใกล้ชายฝั่งส่วนใหญ่และสถานีที่ใกล้แหล่งขุดเจาะปิโตรเลียม จะเป็นพวกที่มีมวลโมเลกุลต่ำ (2-3 วง) ขณะที่ PAHs ที่มีมวลโมเลกุลสูง (4-6 วง) จะพบมากในสถานีชายฝั่งบางสถานีและสถานีกลางอ่าวที่ห่างจากแท่นขุดเจาะปิโตรเลียม ค่าสูงสุดของ benzo[a]pyrene พบที่สถานีนอกชายฝั่งจังหวัดระยอง มีค่าเท่ากับ 86.4 ng/g dry weight อย่างไรก็ดีค่าดังกล่าวยังไม่เกินเกณฑ์ขั้นต่ำที่ส่งผล (ERL) ซึ่งเท่ากับ 430 ng/gen_US
dc.description.abstractalternativeOne hundred and forty four surface sediment samples in the Gulf of Thailand (GoT) were collected and analysis for petroleum hydrocarbons (PHCs) using Fluorescence Spectroscopy. Sediment from selected 62 stations was examined for 16 priority polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) by Gas Chromatography–Mass Spectrometry (GC-MS). Sources of PAHs were apportioned using diagnostic ratios and principle component analysis (PCA). The results reveal that PHC levels in sediments ranged from 0.027 to 0.664, with an average of 0.259±0.112 µg/g dry weight as chrysene. The PAHs levels were ranged from 21.2 to 216, with an average of 75.5±48.5 ng/g dry weight. High PHCs and PAHs were found offshore of Rayong, Chumphon and Nakhon Si Thammarat provinces. Selected diagnostic ratios indicated that PAH sources in surface sediments seemed to be mixed sources dominated by pyrogenic source (83.9%) with the rest from petrogenic source (16.1%). PCA analysis suggested that main contribution sources of PAHs originated from petroleum and coal combustion (24.6% %), diesel combustion (19.0%), benzene-diesel combustion (14.7%) and petrogenic source (11.8%). According to hierarchical cluster analysis (HCA). High percentage of low molecular weight PAHs (2-3 rings) were found mostly in coastal stations and near petroleum rigs, while high molecular weight PAHs were high in some coastal stations and in the middle of the GoT where far from petroleum rigs. Highest concentration of benzo[a]pyrene was found at off Rayong province (86.4 ng/g dry weight), but not yet exceed Effect Range Low (ERL) value of 430 ng/g.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการแพร่กระจายเชิงพื้นที่ของปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนและแหล่งที่มาของพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในดินตะกอนผิวหน้าของอ่าวไทยen_US
dc.title.alternativeSPATIAL DISTRIBUTION OF PETROLEUM HYDROCARBONS AND SOURCE APPORTIONMENT OF POLYCYCLIC AROMATIC HYDROCARBONS IN SURFACE SEDIMENTS OF THE GULF OF THAILANDen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPenjai.S@Chula.ac.th,Penjai.S@chula.ac.then_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487149020.pdf8.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.