Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44540
Title: | การวิเคราะห์แนวทางเพื่อลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการทำงาน : กรณีศึกษางานเสาเข็ม |
Other Titles: | ANALYSIS OF ACCIDENTS AND GUIDELINE FOR REDUCING ACCIDENT IN CONSTRUCTION SITE: CASE STUDY OF PILING WORK |
Authors: | ปิยะณัฐ วงศ์ประเทศ |
Advisors: | วัชระ เพียรสุภาพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | pvachaea@chula.ac.th |
Subjects: | ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง อุบัติเหตุ -- การป้องกัน Building -- Safety measures Accidents -- Prevention |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การทำงานก่อสร้างเกี่ยวข้องกับทรัพยากรหลายอย่างเช่น แรงงาน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร สภาพพื้นที่ เป็นต้น โดยลักษณะงานก่อสร้างดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงในการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน งานวิจัยที่ผ่านมาพยายามศึกษาแนวทางในการลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการทำงานก่อสร้าง เช่น การเสนอคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน การฝึกอบรมความปลอดภัย การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ระบบความปลอดภัย เป็นต้น อย่างไรก็ตามแนวทางดังกล่าวมีข้อจำกัดเกี่ยวกับความปลอดภัยในงานก่อสร้างที่สามารถแบ่งเป็น 2 หัวข้อ โดยข้อจำกัดแรกคือการระบุอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในระดับขั้นตอนการทำงาน ซึ่งงานวิจัยที่ผ่านมาไม่สามารถอธิบายประเภทของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น จำนวนรายการอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และระดับความสำคัญของรายการอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการทำงาน ข้อจำกัดที่สองคือรายการตรวจสอบที่ยังขาดการนำอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมาพัฒนารายการตรวจสอบความปลอดภัย ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) ระบุรายการอุบัติเหตุในระดับขั้นตอนการทำงาน (2) เสนอแนวทางการลดอุบัติเหตุ (3) ประเมินความเสี่ยงรายการอุบัติเหตุ และ (4) พัฒนารายการตรวจสอบความปลอดภัย งานวิจัยนี้เลือกกรณีศึกษางานเสาเข็ม ซึ่งเป็นงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง โดยงานวิจัยเริ่มจากการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความปลอดภัยในการทำงาน (Job Safety Analysis, JSA) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ระบุอุบัติเหตุในแต่ละขั้นตอนการทำงาน และเสนอแนวทางการลดอุบัติเหตุ นอกจากนี้รายการอุบัติเหตุจากเทคนิคการวิเคราะห์ความปลอดภัยในการทำงาน (Job Safety Analysis, JSA) ยังถูกนำไปประเมินความเสี่ยงเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกแนวทางลดอุบัติเหตุที่มีระดับความเสี่ยงสูงไปปรับปรุงเป็นรายการตรวจสอบความปลอดภัย ผลการศึกษาพบว่าการค้นหารายการอุบัติเหตุในแต่ละขั้นตอนการทำงานมีผลต่อการลดอุบัติเหตุได้ตรงตามรายการอุบัติเหตุและขั้นตอนการทำงาน และการพัฒนารายการตรวจสอบความปลอดภัยเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน |
Other Abstract: | Construction operation requires several resources such as labor, material, equipment, space area, and etc. Pilling work is characterized by its high potential of accidents in construction process. Therefore several concepts are proposed to reduce and prevent accidents in work operation such as safety manual, safety training, safety culture, and safety system. However, these concepts have two main limitations. First, there is a limitation of identifying accidents in each work process. Previous research studies did not explain the type and the amount of accidents in each work process. Second, the previous checklist were not developed from the updated list of accidents that reflect to accidents in detail process. Therefore, this research aims to (1) identify the potential accidents that may occur in the work operation process, (2) propose a guideline to reduce accidents, (3) evaluate risk of accidents, and (4) improve safety checklist. This research selected case study of piling work because it has high potential risk of accident. This research methodology started with Job safety analysis (JSA) which was selected as a tool to identify accidents in each process and the result of this technique also presented safety measure. List of accidents from job safety analysis has been evaluated level of risk. The high risk level of accidents was selected a criterion for selecting safety measures that are required to improve the safety checklist. Finally, the result shows that the list of accidents in each process could be benefit for reminding the accidents in each process of piling work. Improving safety checklist is also useful for reducing accidents in construction site. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44540 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.553 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.553 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5570291621.pdf | 12.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.