Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44595
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนทร บุญญาธิการen_US
dc.contributor.authorจิตรา สุขประเสริฐen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:30:16Z
dc.date.available2015-08-21T09:30:16Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44595
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractร้านกาแฟโดยทั่วไปออกแบบให้เคาน์เตอร์บริการอยู่ในพื้นที่ปรับอากาศ และออกแบบให้คล้ายระเบียงและสวนรอบร้านอยู่ในพื้นที่ไม่ปรับอากาศ ซึ่งมีลูกค้าจำนวนไม่น้อยนิยมใช้บริการในพื้นที่ส่วนนั้น แต่การออกแบบดังกล่าวในบางกรณีอาจไม่ตอบสนองด้านความรู้สึกสบายของลูกค้า ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อนชื้น โดยอุณหภูมิกลางวันเฉลี่ยทั้งวันโดยประมาณ 32 องศาเซลเซียส ซึ่งเกินจากสภาวะน่าสบายประมาณ 7 องศาเซลเซียส จึงทำให้สภาพอากาศภายนอกร้อนตลอดทั้งวัน การศึกษาวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปร หาระดับความสัมพันธ์ของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกสบาย และสรุปเป็นแนวทางการปรุงแต่งสภาพแวดล้อมเพื่อความรู้สึกสบายนอกร้านกาแฟ วิธีการวิจัยเป็นรูปแบบที่ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลจากสภาพภูมิอากาศจริงไปพร้อมกันได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากขึ้น โดยใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อม และใช้วิธีการสัมภาษณ์ที่ได้จากข้อมูลการตอบแบสอบถาม ข้อมูลที่เก็บ ได้แก่ ค่าการต้านทานความร้อนของเครื่องแต่งกาย อุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโดยรอบร่างกาย และความเร็วลม จากนั้นจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติ คือการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอย ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ ความเร็วลม และการแผ่รังสีความร้อนโดยรอบ และจากการวิเคราะห์การถดถอยโดยใช้ตัวแปรเมื่ออยู่ในสภาพนอกร้านกาแฟทำให้ได้สมการทำนายความรู้สึกร้อนหนาว คือ Sensation =-9.0098 + 0.3291*Globe -0.0202*RH -0.1320*Wind จากสมการพบว่า ความรู้สึกสบายของกลุ่มตัวอย่างจะสบายที่อุณหภูมิอากาศเท่ากับการแผ่รังสีความร้อน คือ 33 องศาเซลเซียส เมื่อมีความชื้นสัมพัทธ์ที่ 80 เปอร์เซนต์ และความเร็วลมที่ 1 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงสรุปเป็นแนวทางได้ว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด คือ การเพิ่มความเร็วลมโดยการปรับให้ลมเย็นสัมผัสตัว และควบคุมความเร็วลมให้สม่ำเสมอโดยการใช้พัดลม และ การลดอุณหภูมิการแผ่รังสีความร้อนโดยรอบจากการเพิ่มฉนวนใต้หลังคาที่มีประสิทธิภาพการเป็นฉนวนกันความร้อน ไม่ให้อุณหภูมิผิวใต้หลังคามีค่าสูงกว่าอุณหภูมิอากาศ ปลูกต้นไม้ที่มีลำต้นสูงโปร่งด้านล่าง มีพุ่มใบที่หนาทึบด้านบน เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลจากแสงอาทิตย์โดยที่ลมยังสามารถพัดผ่านได้ วัสดุปูพื้นต้องมีค่าค่าการนำความร้อนต่ำ และมีค่าการกระจายความร้อนสูง เช่นการปลูกพืชคลุมดินหรือสนามหญ้าหรือพื้นไม้ การเลือกเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ตกแต่งต้องไม่โดนแดดโดยตรงและค่าการนำความร้อนต่ำ เช่น โต๊ะเก้าอี้ไม้ เป็นต้น การลดอุณหภูมิอากาศได้เฉพาะในกรณีที่ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำโดย การใช้พัดลมไอน้ำเพื่อเพิ่มไอน้ำในอากาศ และมีการระเหยของน้ำจึงทำให้อุณหภูมิอากาศลดลงได้en_US
dc.description.abstractalternativeTypically, coffee shops design place service counter within an air-conditioned room and place veranda and garden outside. Many customers like to use the outside areas but its design often does not answer to the comfort of customers. Also, Thailand is a hot and humid country with an average temperature of 32 degree Celcius, which is 7 degrees above the comfort zone, making it feels hot all day. The objective of this paper is to study the variables that contribute to human comfort and to find the correlation between them. Then, to use the information to form design guidelines for microclimate modification of a coffee shop. The study was conducted using surveys and interviews together with weather data logger to gather more reliable data. Types of data collected are clo-value, air temperature, relative humidity,mean radiant temperature (MRT), and wind speed. These data are then statistically analyzed using correlation analysis and regression analysis.The study found that wind speed and MRT have the highest effect on comfort. The regression anlysis resulted in the following predictive formular for comfort. The equation is : Sensation = -9.0098 +0.3291 * Globe -0.0202 *RH -0.1320 *Wind The formular found that the subjects feel comfort when air temperature is equal to the MRT at 33 degree Celcius, relative humidity at 80%, and wind speed at 1 km/h. Therefore, study conclude that windspeed and MRT have the largest effect. Improving comfort can be done through increasing wind speed, and adjusting it so that it blows pass the skin at a steady speed using electric fans. Reduce MRT by insulating the roof with heat-proof materials, preventing temperature of the surface under the roof to rise higher than the air temperature. Also, plant tall trees that have large canopies to block sunlight but allows wind flow. Floor covering must have low u-value and high emissivity, such as using shrubs, grass or wood. Furnitures and decorations must not be in direct sunlight and have low u-value. In case where there is low relative humidity, initiate evaporative cooling by using mist fans to increase humidity.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.748-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectร้านกาแฟ
dc.subjectภาวะสบาย
dc.subjectการรับรู้และการรู้สึก
dc.subjectการวิเคราะห์การถดถอย
dc.subjectอุณหภูมิ
dc.subjectสถาปัตยกรรมกับภูมิอากาศ
dc.subjectการออกแบบสถาปัตยกรรม
dc.subjectCoffee shops
dc.subjectHuman comfort
dc.subjectSenses and sensation
dc.subjectRegression analysis
dc.subjectTemperature
dc.subjectArchitecture and climate
dc.subjectArchitectural design
dc.titleแนวทางการปรุงแต่งสภาพแวดล้อมเพื่อความรู้สึกสบายนอกร้านกาแฟen_US
dc.title.alternativeCOFFEE SHOP MICRO CLIMATE MODIFICATION GUIDELINES TO ENHANCE HUMAN COMFORTen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSoontorn.B@Chula.ac.th,soontorn@asia.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.748-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573373025.pdf9.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.