Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44720
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุฑา ติงศภัทิย์-
dc.contributor.authorภัทริน วงศ์บางโพ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2015-08-24T03:44:29Z-
dc.date.available2015-08-24T03:44:29Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44720-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติ โดยศึกษาทรัพยากรอันเป็นปัจจัยพื้นฐานการบริหารจัดการใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการบุคลากร ด้านการจัดการการเงินและงบประมาณ และด้านการจัดการสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก และศึกษาการใช้กระบวนการจัดการกีฬา (POLE) 4 ประการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์กร การนำ และการประเมินผล โดยใช้รูปแบบของการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สำหรับสอบถามคณะกรรมการดำเนินการจัดการแข่งขัน จำนวน 56 คน และสำหรับผู้จัดการทีม/ผู้ฝึกสอน/เจ้าหน้าที่ทีม และนักกีฬา จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้แบบสัมภาษณ์สำหรับสัมภาษณ์คณะกรรมการดำเนินงานโครงการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2556 จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ด้วยการนำมาสร้างเป็นข้อสรุป จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ มาพัฒนาเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติ ผลการวิจัยพบว่า การจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติ เกี่ยวกับทรัพยากรในการจัดการ ในด้านทรัพยากรการจัดการ ด้านการจัดการบุคลากร ด้านการจัดการการเงินและงบประมาณ และด้านการจัดการสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก และเกี่ยวกับกระบวนการจัดการกีฬา ในด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการนำ และด้านการประเมินผล พบว่า ทั้งหมดมีการดำเนินการความเหมาะสมอยู่ในระดับดี ซึ่งสรุปได้ว่า การดำเนินการจัดการแข่งขันดำเนินการอย่างมีมาตรฐาน และเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ สนามที่ใช้มีความพร้อม มีการจัดแบ่งบทบาทหน้าที่ได้อย่างครอบคลุมงานที่ต้องรับผิดชอบในแต่ละฝ่ายๆ และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีแนวทางการจัดการกีฬาเพื่อการพัฒนาการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติ ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยแต่ละด้านมีแนวทางที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ดังนี้ ด้านการจัดการบุคลากร ควรสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในงานที่ได้รับมอบหมาย ด้านการจัดการการเงินและงบประมาณ ควรทำการบันทึกการใช้จ่ายงบประมาณ ด้านการจัดการสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ควรสำรวจสนามที่ใช้ก่อนการแข่งขันว่ามีความพร้อมในระดับใด ด้านการวางแผน ควรประชุมสรุปความก้าวหน้าของการดำเนินงานเป็นระยะ ด้านการจัดองค์กร ควรระบุผู้ปฏิบัติงานพิจารณาตามความถนัดและความเชี่ยวชาญในงานที่รับผิดชอบนั้น ด้านการนำ ต้องมีการประสานงานอย่างทั่วถึง เพื่อป้องกันความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และด้านการประเมินผล ควรจัดประชุมภายหลังการแข่งขันทุกครั้ง เพื่อสรุปข้อปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น นำมาพิจารณาหาแนวทางแก้ไขen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the guidelines for development of the national student games of Thailand. The researcher developed 2 sets of research instrument. The first research instrument was the questionnaire for 56 people from the organizing committee, for 400 people from the sport committee, team managers, and athletes. Data were analyzed by percentage, means and standard deviation. The second research instrument was to interview 8 people from the Sports Board of Thailand members and the executive organizing committee. Data from interview analyzes were typological analysis. The results of the National Student Games of Thailand, management regarding 3 aspects of management resources and 4 aspects of sport management process were rated at good level. The results show that the competition management was operated to the standard according, the sport venues were completed and standard, all personnel were be able to perform tasks effectively assigned by the administrations. The management guidelines for development, the means of each area are in highest level. Each aspect had the highest means are following: for the man-management, recruitment has knowledge and capacity. For the money-management aspect, should be have a note. For the place-management aspect, should be conclusion progress work an intermittently. For the leading aspect, must be coordinator. And for the evaluate aspect, should be meeting after every competition.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.602-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกีฬามหาวิทยาลัย -- การจัดการ -- ไทยen_US
dc.subjectกีฬาโรงเรียน -- การจัดการ -- ไทยen_US
dc.subjectCollege sports -- Management -- Thailanden_US
dc.subjectSchool sports -- Management -- Thailanden_US
dc.titleแนวทางการพัฒนาการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติen_US
dc.title.alternativeGuidelines for development of the National Student Games of Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorJuta.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.602-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pattarin_wo.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.