Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44766
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิตรา รู้กิจการพานิช | - |
dc.contributor.author | ภานุเทพ อธิปัญญาพันธุ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-08-25T12:04:38Z | - |
dc.date.available | 2015-08-25T12:04:38Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44766 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพของพื้นผิวเคลือบในผลิตภัณฑ์สีผง ซึ่งลักษณะความบกพร่องที่เกิดกับคุณภาพพื้นผิวเคลือบมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทฝ้า ประเภทสะเก็ดและประเภทสีปนเปื้อน การดำเนินงานวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนหลัก โดยที่ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากค้นหาสาเหตุสำคัญที่ทำให้ความสามารถของพนักงานในการตรวจสอบคุณภาพมีความบกพร่อง โดยการวิเคราะห์ด้วยแผนผังก้างปลา ขั้นตอนที่ 2 ประเมินผลความสามารถของพนักงานในการตรวจสอบคุณภาพของพื้นผิวเคลือบจากแผ่นตัวอย่างเพื่อยืนว่าสาเหตุเหล่านี้ก่อให้เกิดความบกพร่องจริง ขั้นตอนที่ 3 เป็นการเสนอแนวทางแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่อง แล้วจัดทำมาตรฐานการตรวจสอบขึ้น และสุดท้ายขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลความสามารถของพนักงานในการตรวจสอบคุณภาพของพื้นผิวเคลือบหลังการแก้ไข ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องมี 4 ประการ ได้แก่ ความสามารถของพนักงานไม่ดี แผ่นอ้างอิงมาตรฐานบกพร่อง เกณฑ์การตรวจสอบไม่ชัดเจน และขาดมาตรฐานการปฏิบัติงาน ซึ่งได้ประเมินผลความสามารถของพนักงานในการตรวจสอบคุณภาพก่อนการแก้ไข พบว่า ค่าเปอร์เซ็นต์คะแนนแอตทริบิวต์ของพนักงานส่วนใหญ่ยังมีค่าต่ำกว่า 80% โดยอยู่ในช่วง 62.50%-79.17% และมีค่าเปอร์เซ็นต์ประสิทธิผลของคะแนนแอตทริบิวต์อยู่ในช่วง 41.67%-66.67% ดังนั้นจึงได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ 1) จัดทำมาตรฐานวิธีการตรวจสอบ 2) ฝึกอบรมวิธีการตรวจสอบที่ถูกต้องเป็นระยะ 3) จัดทำ ควบคุม ดูแลรักษาแผ่นสีมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงในการตรวจสอบให้อยู่ในสภาพดี 4) แก้ไขนิยามของเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพ หลังการปรับปรุงแก้ไขได้ทำการประเมินผลความสามารถของพนักงานในการตรวจสอบคุณภาพหลังการแก้ไข พบว่า ค่าเปอร์เซ็นต์คะแนนแอตทริบิวต์ของพนักงานทุกคนมีค่ามากกว่า 80% โดยอยู่ในช่วง 83.33%-100.00% และมีค่าเปอร์เซ็นต์ประสิทธิผลของคะแนนแอตทริบิวต์อยู่ในช่วง 83.33%-95.83% | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research was to improve the standard of surface quality inspection in powder coating products which had 3 types of surface defects: haziness, sparkle and contamination of color. There were 4 main steps of the research procedures. The first step, the main causes that effected to the inspection capability of these employees were investigated by fish bone diagram. The second step, the operators had determined the surface quality of the sample sheet before improvement to verify the main causes. The third step , the guidelines to improve the operators’ capability were proposed and applied in order to set the surface inspection standard. Finally, the fourth step, the operators had determined the surface quality of the sample sheet after improvement. The results of this research showed that the causes of the low precision and accuracy came from the operators failed to make the decisions for quality, the improper reference standard color sheets for inspection, the acceptance criteria and no standardizations. Before improvement, the percentages of attribute score were 62.50%-79.17% and the percentages of attribute screen effect score were 41.67%-66.67%. These scores were less than the acceptable value of 80%. The guidelines for the operators’ capability improvement were the followings: 1) building the standard inspection procedures, 2) providing the training course about the procedures, 3) controlling and maintaining the reference standard color sheets, and 4) clearing the meaning of the acceptance criteria. After improvement, the percentages of attribute score were 83.33-100.00% and the percentages of attribute screen effect score were 83.33%-95.83%, which were acceptable. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1619 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | สี -- คุณภาพ | en_US |
dc.subject | สารเคลือบ | en_US |
dc.subject | ColorColors -- Quality | en_US |
dc.subject | Coatings | en_US |
dc.title | การปรับปรุงมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพในการผลิตสีผง | en_US |
dc.title.alternative | Improvement of the standard for quality inspection in powder coating production | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Jittra.R@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1619 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Panutep_at.pdf | 4.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.