Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45009
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรรณชลัท สุริโยธิน | - |
dc.contributor.author | ขนิษฐานุช เลื่อนฉวี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-09-04T09:22:14Z | - |
dc.date.available | 2015-09-04T09:22:14Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45009 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | อาคารพักอาศัยแนวดิ่งมักพบกับข้อจำกัดในด้านการระบายอากาศ ซึ่งหอพักเป็นที่พักอาศัยที่มุ่งเน้นเรื่องจำนวนหน่วยพักอาศัยเป็นหลัก ทำให้ผังห้องพักถูกจัดวางอย่างแออัด ด้วยเหตุนี้พื้นที่ภายในห้องพักจึงไม่เหมาะแก่การระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยไม่ดีเท่าที่ควร โดยจากการศึกษารูปแบบห้องพักของหอพักที่พบในกรุงเทพมหานครโดยการสุ่มสำรวจพบรูปแบบห้องพัก 6 รูปแบบ จากข้อมูลดังกล่าวนำไปสู่คำถามด้านการระบายอากาศของห้องพักแต่ละรูปแบบ การวิจัยในครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติของห้องพัก 6 รูปแบบ โดยนำปัจจัยเรื่องความเร็วลม ทิศทางของลม การปรับปรุงผังห้องพัก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงช่องเปิด การติดตั้งครีบผนังแนวตั้ง (Wing wall) และทั้งการเปลี่ยนแปลงช่องเปิดและการติดตั้งครีบผนังแนวตั้ง มาใช้เป็นปัจจัยในการพิจารณา แนวทางการวิจัยเป็นรูปแบบการจำลองด้วยโปรแกรมพลศาสตร์ของไหล (Computer Fluid Dynamic; CFD) โดยการจำลองหาค่าความเร็วลมเฉลี่ยเพื่อนำไปหาประสิทธิภาพการระบายอากาศ (ร้อยละ) ของห้องพัก 6 รูปแบบ ผลการจำลองพบว่า ห้องพักที่มีหน้าต่างบนผนัง 2 ด้าน (BC1) มีประสิทธิภาพการระบายอากาศดีที่สุดโดยเฉพาะเมื่อลมพัดมาจากทิศใต้ โดยปัจจัยที่ส่งเสริมการระบายอากาศมากที่สุดคือการย้ายช่องเปิดห้องน้ำพร้อมกับติดตั้งครีบผนังแนวตั้ง ห้องพักที่ไม่มีหน้าต่างบนผนังห้องน้ำ (BC4) ไม่มีประสิทธิภาพในการระบายอากาศในส่วนพักอาศัยไม่ว่าลมจะพัดมาจากทางทิศใดหรือมีการปรับปรุงห้องพักในรูปแบบใด ห้องพักที่มีหน้าต่างบนผนังห้องน้ำ (BC2) สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการระบายอากาศดีที่สุดเมื่อลมพัดมาในทิศตะวันออกเฉียงใต้ และมีการปรับปรุงห้องพักโดยการเปลี่ยนตำแหน่งหน้าต่างห้องน้ำพร้อมทั้งติดตั้งครีบผนังแนวตั้ง ในขณะที่ห้องพักที่เปิดพื้นที่ระเบียงเต็มความกว้างของห้องพัก (BC3) ได้รับอิทธิพลจากลมที่พัดมาจากทิศตะวันตก ทิศตะวันออก ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยหากห้องพักดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ลมน้อย (0.98 เมตร/วินาที) การปรับปรุงห้องพักโดยการเปลี่ยนการเปิดประตูระเบียงพร้อมทั้งติดตั้งครีบผนังแนวตั้ง 1 คู่ที่กลางระเบียงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายอากาศได้มากที่สุด และหากอยู่ในพื้นที่ลมมาก (1.87 เมตร/วินาที) การปรับปรุงห้องพักโดยการเปลี่ยนการเปิดประตูระเบียงจะมีอิทธิพลมากที่สุด ในห้องพักที่มีหน้าต่างบนผนังห้องน้ำและผนังฝั่งประตูระเบียง (BC5) ลมที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ลมจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ และการปรับปรุงห้องพักที่มีผลดีที่สุดคือการเปลี่ยนตำแหน่งหน้าต่างห้องน้ำพร้อมทั้งติดตั้งครีบผนังแนวตั้ง ส่วนห้องพักที่ไม่มีระเบียง (BC6) ลมที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ลมจากทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้ และการปรับปรุงห้องพักที่มีผลดีที่สุดคือการขยายหน้าต่าง 2 เท่าพร้อมทั้งติดตั้งครีบผนังแนวตั้ง | en_US |
dc.description.abstractalternative | In vertical buildings, natural ventilation seems to be difficult to manage especially in dormitories. As its aim is profit, high-density units have been installed. The limitations of the open position even make the resident ignore the presence of natural ventilation. A survey of the rooms of dormitories revealed there to be six. The aim of this research is to study and compare the efficiency of natural ventilation in each room types. Wind and architectural factors were also considered in the open repositioning, installing wing wall and both repositioning the open and wing wall. This research used the numerical method, Computation Fluid Dynamic (CFD) to stimulate the average velocity of each room type with these data then computed into the efficiency of ventilation. The result shows that the room with a toilet window and front window (BC1) is the most efficient type as concerns the southerly wind. Repositioning the toilet window and installing a wing wall can improve ventilation within the room. Room without a toilet window (BC4) doesn't have efficient ventilation in the living space no matter the presence of other factors. However a room with a toilet window (BC2) will improve ventilation efficiency if the wind comes from a south-easterly direction and repositioning the toilet window and installing a wing wall has the most potential. A room with a full width terrace (BC3) can improve the ventilation of the living space by repositioning the terrace door as long as a wing wall is installed in cases of low velocity (0.98 m/s) and only repositioning the terrace door in cases of high velocity (1.87 m/s).The wind in the room with a window on both toilet and terrace wall (BC5) is that of a south-eastery direction and both repositioning the toilet window and installing a wing wall is most efficient. Finally, a room without a terrace (BC6) has much influence on south-westerly and south-easterly wind directions by doubling the window size and installing a wing wall which can even improve the ventialtion efficiency | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1732 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การระบายอากาศ | en_US |
dc.subject | หอพัก -- การระบายอากาศ | en_US |
dc.subject | ห้องชุด -- การระบายอากาศ | en_US |
dc.subject | Ventilation | en_US |
dc.subject | Dormitories -- Heating and ventilation | en_US |
dc.subject | Apartments -- Heating and ventilation | en_US |
dc.title | แนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพในการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติในห้องพักของอาคารชุดพักอาศัยขนาดกลาง | en_US |
dc.title.alternative | Improvement in the natural ventilation in the indoor ventilation of low cost middle height buildings | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | sphancha@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1732 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kanitthanut_lu.pdf | 24.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.