Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45010
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เสริชย์ โชติพานิช | - |
dc.contributor.author | ขจร สีทาแก | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-09-04T09:27:00Z | - |
dc.date.available | 2015-09-04T09:27:00Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45010 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | อาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอาคารสูง 15 ชั้น ใช้งานเพื่อประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนและการวิจัยที่มีการใช้สารเคมีในการทดลอง เมื่อผ่านการใช้งาน 14 ปี สภาพอาคารและระบบประกอบอาคารเสื่อมสภาพ ก่อให้เกิดปัญหาต่อการใช้อาคาร ผู้บริหารวิทยาลัยฯจึงมีแผนในการปรับปรุงอาคารและงานระบบฯ เพื่อฟื้นสภาพ ในระหว่างที่อาคารยังใช้งาน และดำเนินงานเสร็จสิ้น เป็นที่เรียบร้อยเมื่อปีพ.ศ.2551 การดำเนินโครงการลักษณะนี้ จัดเป็นโครงการแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ การวางแผนระยะเวลาและงบประมาณ การตรวจงานให้ได้คุณภาพที่ต้องการและการป้องกันผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการฯ ใช้แนวทางกรณีศึกษา ทำการศึกษาโครงการปรับปรุงฯในช่วงปีพ.ศ.2548 – 2551 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ดำเนินงานโครงการฯและสืบค้นเอกสาร จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์และอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่า โครงการปรับปรุงอาคารและงานระบบฯ มีขั้นตอนการดำเนินงานประกอบด้วย การกำหนดความต้องการปรับปรุงพื้นที่ จึงติดต่อผู้ออกแบบเพื่อทำการออกแบบกั้นห้อง ทำการสำรวจงานระบบประกอบอาคารโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญและจัดทำรายงานความเสียหาย และสรุปให้ทำการซ่อมแซมใหญ่ ผู้ออกแบบจัดทำรูปแบบรายการและประมาณราคาให้เจ้าของอาคารเสนอขออนุมัติแบบ และของบประมาณ เมื่อได้รับงบประมาณ ทำการปรับปรุงรูปแบบรายการให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับและวางแผนเตรียมการปรับปรุงโดยทำการสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ใช้อาคาร วางแผนจัดเตรียมพื้นที่สำรองและวางแผนโยกย้ายพื้นที่ เมื่อปรับปรุงรูปแบบรายการแล้วเสร็จเจ้าของอาคารทำการจัดจ้างผู้รับเหมาและผู้ควบคุมงานโดยปฏิบัติตามระเบียบ นร. ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 จนได้รับผู้รับเหมาและผู้ควบคุมงานมาดำเนินงานก่อสร้าง โดยเริ่มจากการวางแผนการก่อสร้าง โดยมีผู้ประสานการใช้พื้นที่ร่วมวางแผน ในขณะที่ผู้รับเหมาเตรียมการก่อสร้างขออนุมัติแบบและวัสดุ ก่อนปฏิบัติงานก่อสร้างผู้ประสานงานฯ ประสานงานในการปิดกั้นพื้นที่ การป้องกันผิวพื้นที่และเครื่องมือ ตรวจนับครุภัณฑ์ ส่งมอบพื้นที่และโยกย้าย เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ผู้รับเหมา ผู้ควบคุมงานและผู้ประสานงานฯ ตรวจรับงานแต่ละชั้น คืนพื้นที่ ตรวจรับครุภัณฑ์ และโยกย้ายกลับ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จทุกพื้นที่ ผู้รับเหมาและผู้ควบคุมงานทดสอบระบบ ตรวจรับและส่งมอบงาน ผู้รับเหมาอบรมการใช้อาคารส่งมอบเอกสาร และแบบสร้างจริง จึงเป็นอันแล้วเสร็จ การดำเนินงานใช้ระยะเวลาโดยรวมประมาณ 2 ปี 6 เดือน ประกอบด้วย การสำรวจระบบฯ 6 เดือน การออกแบบ 3 เดือน การของบประมาณ 6 เดือน การจัดจ้าง 6 เดือน และก่อสร้าง 9 เดือน การวางแผนก่อสร้างวางแผนตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างและทำการปิดปรับปรุงทีละชั้นโดยมีลำดับตามแผนการโยกย้ายพื้นที่ มีค่าใช้จ่ายในการสำรวจระบบฯและค่าออกแบบประมาณ 4.5%ของค่าใช้จ่ายทั้งโครงการ การแบ่งงวดงานเดิมแบ่งเป็นระบบตามหมวดงานในสัญญาจ้าง ภายหลังมีการแบ่งงวดงานและตรวจรับงานตามพื้นที่เป็นชั้น มีผลกระทบต่อการใช้อาคาร 3 ด้าน คือด้านการสูญเสียพื้นที่ การปิดใช้งานระบบฯ และเสียงรบกวน โดยมีวิธีการป้องกันผลกระทบ 3 วิธีโดยการเตรียมพื้นที่สำรอง การต่อระบบสำรองและการกำหนดเวลาทำงานเลี่ยงเวลาใช้อาคาร จากการศึกษาสรุปได้ว่า โครงการลักษณะนี้มีกระบวนการดำเนินงานแตกต่างจากการปรับปรุงอาคารและงานระบบฯทั่วไป โดยขั้นตอนสำคัญที่ทำให้อาคารมีการใช้งานต่อเนื่องประกอบไปด้วย การเตรียมการปรับปรุงโดยการสื่อสารกับผู้ใช้อาคารให้เข้าใจถึงความจำเป็นในการปรับปรุง การจัดเตรียมพื้นที่สำรอง และการวางแผนโยกย้ายผู้ใช้อาคาร ด้านการวางแผนระยะเวลาเจ้าของอาคารมีความจำเป็นเริ่มพิจารณาจัดทำโครงการเมื่ออาคารมีอายุประมาณ 10 -15 ปี โดยอาจวางแผนในการสำรวจระบบฯล่วงหน้าประมาณ 6 เดือน การกำหนดระยะเวลาในการก่อสร้างคำนึงถึงพฤติกรรมในการใช้อาคารเป็นหลัก เจ้าของอาคารจะมีการจัดเตรียมงบประมาณในการสำรวจระบบฯและออกแบบ การแบ่งงวดงานแบ่งตามรูปแบบวิธีการก่อสร้างตามพื้นที่ การปรับปรุงอาคารและงานระบบฯมีความจำเป็นในการวางแผนป้องกันผลกระทบต่อการใช้อาคาร | en_US |
dc.description.abstractalternative | A teaching and laboratory facilities building of the Petroleum and Petrochemical College, Chulalongkorn University is a 15-storey building. In 2005, it had been used for 14 years and become badly deteriorated causing several problems to use and user. In turn, the college management decided to renovate the whole building. The project was planned to implement by not closing the building. This plan was considered a pioneer project for the University. This study aim to gain insights about project management process, renovation process, risks and problems occurred during project implementation. The main data collection methods were documentation and archival search in cooperated with semi-structured interviews with a key stakeholders It was found that the steps involved began with defining the need of space improvement. It was suggested that a building inspection be conducted by the engineer who later provided a damage of building systems report. The college management agreed that should be a major renovation of the building systems. The architect provided the design drawing with a cost proposal to be sent the University for approval. After funding was approved, the architect improved the drawing by conform to approved funding while prepare temporary working space, and communicate with user to understand the proposed renovations and agreed on moving plan, The college management officially hired a contractor and project manager under the Thai government’s policy. The project began with the planning stage where the project manager contractor and the space coordinator worked together to schedule a construction plan. Before start construction work, the contractor began closing construction areas, protecting the surface and laboratory equipment from the damage of construction, checking durable assets, and relocating staff. Upon completion, the contractor and project manager were required to make a final and complete inspection of the project. This project took 2 years and 6 months to complete with the process consisting of 6 months of system inspection, 3 months of designing, 6 months of budget proposal, 6 months of contractor hiring and 9 months of renovation. The construction plan is according to the construction contract and plan to closing the whole of each floor to renovated. The building systems inspection and design had constituted 4.5 % of the overall budget. Initially, work was delegated according to an agreement stipulated in the contract; however, this was later changed to work being delegated according to the floor area. 3 problems arose: the loss of working space, system shut-downs and loud noise from adjoining areas. 3 preventive measures were adopted to handle these problems, namely, providing extra space, providing temporary utilities and planned to work overtime after office hours. Based on the findings of this study, it can be concluded that a project of this kind has a different operational structure than other projects. That is, it involves good communication with users of the building is crucial in creating understanding of the need for renovation, providing temporary working space, and schedule moving plan. It is suggested that owners of such buildings should start planning for renovation when the building has been in use for 10 to 15 years by first conducting a building inspection 6 months in advance. In determining a timeframe should consider user’s behavior and need a budget plan for building systems inspection and design. The payment term should be divided based on working area of construction. And need to prevent affect the usage of the building. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1745 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | อาคาร -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม | en_US |
dc.subject | Buildings -- Maintenance | en_US |
dc.title | การปรับปรุงงานระบบอาคารในระหว่างที่มีการใช้งาน : กรณีศึกษาอาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title.alternative | Major renovation of the building systems during occupancy : case study of The Petroleum and Petrochemical College, Chulalongkorn University | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Sarich.C@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1745 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
khajorn_se.pdf | 3.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.