Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45315
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐสุดา เต้พันธ์-
dc.contributor.advisorจิราพร เกศพิชญวัฒนา-
dc.contributor.authorฉัตรสุมาลย์ ศรีทองอุ่น-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2015-09-15T09:38:57Z-
dc.date.available2015-09-15T09:38:57Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45315-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractศึกษาทำความเข้าใจประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตและการงานบนฐานอริยสัจ 4 ของนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา มีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 7 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเด็น คือ 1) การดำเนินชีวิตและการงานบนฐานความเข้าใจในอริยสัจ 4 ได้แก่ ความเข้าใจในโลกและชีวิต การอยู่กับปัจจุบันและความจริง และการตระหนักถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยง สิ่งเหล่านี้เป็นความเข้าใจที่ผู้ให้ข้อมูลใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและการทำงาน 2) การเรียนรู้อริยสัจ 4 อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การเรียน การรับรู้คุณค่าความสำคัญของอริยสัจ 4 ในการดำเนินชีวิตและการงาน การใช้ชีวิตตนเองเป็นพื้นที่ในการศึกษาทำความเข้าใจอริยสัจ 4 โดยมีสิ่งที่ช่วยในการเรียนรู้และเข้าใจอริยสัจ 4 คือ การสังเกต การใคร่ครวญ และการตระหนักรู้ นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มพูนความเข้าใจอริยสัจ 4 ผ่านประสบการณ์ใน การให้บริการปรึกษา และประสบการณ์ชีวิต 3) การประยุกต์ความเข้าใจอริยสัจ 4 มาใช้ในการดำเนินชีวิตและการงาน ได้แก่ การประยุกต์ความเข้าใจอริยสัจ 4 มาใช้ในชีวิต ทั้งการประยุกต์ใช้ในชีวิตส่วนตัวและในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และการประยุกต์ความเข้าใจอริยสัจ 4 มาใช้ในงานด้านการให้บริการปรึกษา 4) การพัฒนาตน ได้แก่ การพัฒนาทางด้านจิตใจและพฤติกรรม ความสามารถในการจัดการปัญหา และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสอดคล้อง ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการทำความเข้าใจประสบการณ์การดำเนินชีวิต และการงานบนฐานอริยสัจ 4 ของนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้เกี่ยวข้องที่จะนำไปใช้พัฒนานิสิตสาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThis study was a phenomenological research aimed at examining Buddhist counselors’ living and working experience base on the Four Noble Truths. Data was collected via in-depth interviews with 7 participants. Results suggest 4 themes as follows: 1) Living and working based on the understanding of the four noble truths: Informants exhibited understanding of the world and life in general as well as living with reality and realizing the interconnectedness among all things. 2) Continuous learning: Informants continuously engaged in learning in their life, starting in the classroom, developing their values, living their lives based on these values, and developing a better understanding. Moreover, their understanding has also been enhanced based on their experiences, both in their personal and professional lives. 3) Integrating understanding into their lives: Informants integrate their understanding into their living (i.e., personal and relationships) and counseling. 4) Self-development: Participants have not only developed psychologically and behaviorally but also evidenced an increase in the ability to cope with difficulties, and to live harmoniously with others. This research finding could be applied to better understand the experience of Buddhist counselors and to develop counselor training in the future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2009-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectจิตวิทยาการปรึกษาen_US
dc.subjectนักจิตวิทยาการปรึกษาen_US
dc.subjectอริยสัจ 4en_US
dc.subjectCounseling psychologyen_US
dc.subjectCounseling psychologistsen_US
dc.subjectFour Noble Truthsen_US
dc.titleประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ : การดำเนินชีวิตและการงานบนฐานอริยสัจ 4en_US
dc.title.alternativeExperience of Buddhist counselors : living and working based on the Four Noble Truthsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการปรึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisortnattasuda@gmail.com-
dc.email.advisorwattanaj@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2009-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chadsuman_sr.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.