Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45373
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการโปรแกรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สำหรับนักท่องเที่ยวสูงอายุพำนักระยะยาว
Other Titles: A DEVELOPMENT OF RECREATION PROGRAM MANAGEMENT FOR HEALTH TOURISM PROMOTION MODEL FOR LONG STAY ELDERLY TOURISTS
Authors: จรรยา วุฒิฐานทวี
Advisors: สุชาติ ทวีพรปฐมกุล
รัตนา ปานเรียนแสน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Suchart.Ta@Chula.ac.th
rtana@hotmail.com
Subjects: การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ผู้สูงอายุ -- นันทนาการ
ผู้สูงอายุ -- การท่องเที่ยว
นันทนาการบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ
Tourism
Older people -- Recreation
Older people -- Travel
Recreational therapy for older people
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการโปรแกรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยวสูงอายุพำนักระยะยาว วิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบวิธีผสม ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ขั้นตอนการวิจัยมี 5 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) การศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น 2) การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจมาท่องเที่ยว ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวสูงอายุพำนักระยะยาวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย พำนักอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 30 วัน มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โดยพำนักที่บริเวณที่มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ธรรมชาติ แหล่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และตั้งอยู่ในเขตเมือง จำนวน 400 คน และการศึกษาความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 7 คน 3) การสร้างและพัฒนาร่างรูปแบบฯ 4) การตรวจสอบคุณภาพของร่างรูปแบบฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาร่างรูปแบบจำนวน 8 คน 5) ปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1) การตัดสินใจเดินทางมาและความพึงพอใจระหว่างการท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวสูงอายุพำนักระยะยาว เลือกเดินทางมาพำนักระยะยาวเพราะอากาศดี คุ้มค่าเงิน อาหารอร่อยโดยมาในช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม เพื่อเข้าร่วมเทศกาลลอยกระทง ชอบการเข้าร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เลือกเข้าร่วมมากที่สุด คือ การนวดไทย และการดูแล/รักษาช่องปาก สุขภาพฟัน การจัดกิจกรรมนันทนาการภายในและภายนอกที่พำนักระยะยาวควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ความเหมาะสมเตรียมสถานที่ให้พร้อมรวมถึงต้องมีความร่มรื่น โปรแกรมนันทนาการให้บริการได้ตรงตามความจำเป็น ความต้องการ แรงจูงใจและความปรารถนาเพื่อเดินทางมาพำนักในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวสูงอายุพำนักระยะยาว ผู้นำนันทนาการมีความสามารถและทักษะในการให้บริการผู้สูงอายุ 2) รูปแบบการจัดการโปรแกรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยวสูงอายุพำนักระยะยาว มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ลักษณะของรูปแบบการจัดการโปรแกรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยวสูงอายุพำนักระยะยาว มีลักษณะสำคัญ 7 ประการ ประกอบด้วย (1) การจัดกิจกรรมที่เหมาะสมตามที่พำนักระยะยาว (2) หลักการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุพำนักระยะยาวที่ต้องคำนึง (3) หลักการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อให้ได้รับประสบการณ์นันทนาการ (4) ประเภทกิจกรรม (5) แบบการให้บริการกิจกรรมนันทนาการ (6) หลักการจัดการ POLC (7) การตัดสินใจดำเนินการโปรแกรมนันทนาการ องค์ประกอบที่ 2 แนวทางการนำรูปแบบฯ ไปใช้ องค์ประกอบที่ 3 เงื่อนไขและข้อจำกัดของการนำรูปแบบฯ ไปใช้ ประกอบด้วยปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ และสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จ
Other Abstract: The purpose of the research was to development a recreation program management for health tourism promotion model for long stay elderly tourists. It was processed by a mixed method research which was a quantitative research and qualitative research. It was consisted 5 steps as follow: (1) Documentary research and related literatures to collect data (2) To study about the decision, satisfaction of elderly long stay tourists to travel in Thailand, who is more than 50 years old and long stay over 30 days and stays in accommodation near natural resources (sea, beach and mountain), history and cultural areas and township total 400 elderly long stay tourists. A study the opinions of who involved in long stay tourism in public and private sector 7 people (3) To create and development the draft model (4) To verify the draft model by 8 experts (5) Improvement of the final model. The research instruments were content analysis form, questionnaires, interview guides and opinions form to verify the draft model. Data were analyzed by content analysis and descriptive statistics. The research results were as follow: 1) The decision making, satisfaction and needs of elderly long stay tourists choose to travel in Thailand. Because the weather's fine, good value for money to pay and good taste food. The most elderly long stay tourists arrived on October to January in order to attend Loy Kra Thong festival, to travel in natural place, ecotourism and adventure tourism, Thai massage and dental checkup. Health promotion tourism and a variety of festival in Thailand were most satisfied. Recreational activities management inside and outside the residence should take safety first and appropriate. The environment be pleased to stay. Recreational programs available to serve needs, motivations of the elderly long stay tourists. The leader's activity should have ability and skills to service in elderly. 2) A development of recreation program management for health tourism promotion model for long stay elderly tourists consisted of 3 components. (1) Features of the recreation program management for health tourism promotion model for long stay elderly tourists which were 1) Long Stay Residence 2) Critical Factors Requiring for Recreation Activity Management3) Managing Recreation Activity Services 4) Types of Activities 5) Program Formats 6) Recreation Program Management 7) Disposition Decision. (2) The guidelines to apply a recreation program management for health tourism promotion model for long stay elderly tourists. (3) The conditions or limitations in implementation of the recreation program management for health tourism promotion model for long stay elderly tourists which were 1) factors affecting and 2) challenges.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45373
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.887
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.887
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5278954239.pdf5.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.