Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45390
Title: คุณค่าและความหลากหลายของพืชในป่าแห่งจิตวิญญาณของกลุ่มบรูและผู้ไท ในจังหวัดสกลนคร ประเทศไทย
Other Titles: PLANT VALUES AND DIVERSITY IN SPIRITUAL FOREST OF BRU AND PHUTAI ETHNIC COMMUNITIES IN SAKHON NAKHON PROVINCE, THAILAND
Authors: ธันวา ใจเที่ยง
Advisors: ธเรศ ศรีสถิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thares.S@Chula.ac.th
Subjects: ชนพื้นเมือง -- ไทย -- สกลนคร
ป่าชุมชน -- ไทย -- สกลนคร
นิเวศวิทยาป่าเขตร้อน -- ไทย -- สกลนคร
ความหลากหลายทางชีวภาพ -- ไทย -- สกลนคร
นิเวศวิทยา -- ไทย -- สกลนคร
ไทย -- สกลนคร
Indigenous peoples -- Thailand -- Sakhon Nakhon
Rain forest ecology -- Thailand -- Sakhon Nakhon
Community forests -- Thailand -- Sakhon Nakhon
Biodiversity -- Thailand -- Sakhon Nakhon
Ecology -- Thailand -- Sakhon Nakhon
Thailand -- Sakhon Nakhon
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จังหวัดสกลนคร มีชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม ชนเหล่านี้มีภูมิปัญญาในการดูแลและปกป้องผืนป่า อย่างไรก็ตามมีงานศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าของพืช ภูมิปัญญาทางนิเวศและความสัมพันธ์ระหว่างชนพื้นเมืองกับป่าแห่งจิตวิญญาณน้อยมาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางนิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพของพืช ในสังคมป่าแห่งจิตวิญญาณของกลุ่มบรูและผู้ไท และ2) เพื่อศึกษาคุณค่าและการใช้ประโยชน์ของพืช ในป่าแห่งจิตวิญญาณและปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าแห่งจิตวิญญาณ บูรณาการวิธีวิจัย ระหว่างนิเวศวิทยาป่าไม้และนิเวศวิทยาชาติพันธุ์ ทำการวางแปลงตัวอย่าง จำนวน 420 แปลง ขนาด10x10 เมตร เพื่อศึกษาลักษณะและความหลากหลายของพืช ในป่าแห่งจิตวิญญาณ 6 แห่ง ประยุกต์ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก 70 คน ในพื้นที่หมู่บ้านชาวบรูและผู้ไท จังหวัดสกลนคร ระหว่างเดือนมิถุนายน 2554-พฤษภาคม 2556 ผลการวิจัยพบว่าในพื้นที่จังหวัดสกลนคร มีชุมชนหมู่บ้านชาวบรู 13 และผู้ไท 217 ชุมชน กระจายตามนิเวศต่างๆของจังหวัด กลุ่มชนบรูและผู้ไทเป็นชนชาติพื้นเมืองในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง มีระบบการผลิตเรียบง่าย มีวิถีชีวิตพึ่งพาธรรมชาติ เคารพธรรมชาติ และมีวิถีวัฒนธรรมที่สัมพันธ์และเกี่ยวเนื่องกับมิติทางจิตวิญญาณ เมื่อมีการตั้งชุมชน ชาวบรูและชาวผู้ไทจะเลือกพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้เป็นที่อยู่ของผี ที่ดูแลและปกป้องหมู่บ้าน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของชนชาติทั้งสอง กลายมาเป็นป่าแห่งจิตวิญญาณที่มีความสำคัญยิ่งในเขตแอ่งสกลนคร ในชุมชนชาวบรูมีป่าแห่งจิตวิญญาณ 11 แห่ง จัดอยู่ในสังคมป่าดิบแล้ง 5 แห่ง ป่าผสมผลัดใบ 4 แห่ง ป่าเต็งรัง1 แห่ง และป่าทาม 1 แห่ง ขณะที่ชุมชนชาวผู้ไทมีป่าแห่งจิตวิญญาณ 97 แห่ง จัดอยู่ในสังคมป่าดิบแล้ง 37 แห่ง ป่าผสมผลัดใบ 32 แห่ง ป่าเต็งรัง 12 แห่ง และป่าทาม 12 แห่ง ป่าแห่งจิตวิญญาณของทั้งสองชนพื้นเมือง เป็นแหล่งสงวนและรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพของพืช คุณค่าและประโยชน์ของพืชในป่าแห่งจิตวิญญาณมีความสลับซับซ้อน ทั้งในแง่การเป็นแหล่งสะสมมวลชีวภาพ แหล่งเก็บกักคาร์บอน การดูดซับคาร์บอนไดออกไซค์ อาหารบริสุทธิ์และยาธรรมชาติ ป่าแห่งจิตวิญญาณเป็นศูนย์รวมในจิตวิญญาณแห่งชุมชน เป็นรากฐานในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนหมู่บ้านของประเทศไทย และสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของชาวตะวันออก ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นองค์รวมและความเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่ง
Other Abstract: Sakhon Nakhon province contains various indigenous people, who have strongly wisdom and offered to protect their heritage plants. There are very few previous studies about plants values, indigenous knowledge and the relationship between indigenous people and their ecosystem in spiritual forest. The research objectives are 1) to study the ecology and biodiversity of plants in spiritual forest of Bru and Phutai ’s ethnic groups. 2) to study the values and benefits of plants and factors that cause changes in spiritual forests. This research integrated method of forest ecology and ethno ecology; the inventories were made on 420 plots of 100 m2 (10x10 m) in 6 spiritual forests and used qualitative technique : field observation, in-depth interviews with 70 key informants at the site, Sakhon Nakhon province during June 2011-May 2013. The findings: Sakhon Nakhon province has 13 Bru people communities and 217 Phutai people communities. Bru people are native in the lower Mekong basin with their Austro-Asiatic family language, culture and history. Meanwhile, Phutai people, one of the oldest Tai people use Tai-Kadai family language. Bru and Phutai loved the free way of living with simple productivity, life dependent on nature and respecting it related to spiritual dimensions. They select distinctive area to set a holy place of God of community. The spiritual area–holy place under traditional ecological knowledge became a strongly spiritual forest in Sakhon Nakhon basin. Bru people villages have 11 spiritual forests ; 5 dry evergreen forests, 4 mixed deciduous forests, 1 deciduous dipterocarp forest and 1 wetlands and Phutai people villages have 97 spiritual forests ; 37 dry evergreen forests, 32 mixed deciduous forests, 12 deciduous dipterocarp forest and 12 wetlands. All of two indigenous people’s spiritual forests contain plants diversity. Spiritual forests have served as important reservoirs of biodiversity, preserving unique species of plants. The values and benefits of plants in Spiritual forest are complex: biomass-carbon stock, carbon dioxide absorption, natural food-herbs and central of spiritual in community; supported a strong of Thailand local community. Spiritual forests were symbolic of the oriental wisdom that expresses the holism and connection of all things.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45390
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.899
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.899
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5287778620.pdf13.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.