Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45430
Title: แนวทางการปรับปรุงสัญญาจ้างก่อสร้างงานขนาดเล็กในประเทศไทย
Other Titles: A GUIDELINE TO IMPROVE CONSTRUCTION CONTRACTS FOR SMALL PROJECTS IN THAILAND
Authors: อดิศร สุรินทร์ธนาสาร
Advisors: วิสุทธิ์ ช่อวิเชียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Visuth.C@chula.ac.th,visuthchovi@gmail.com
Subjects: สัญญาก่อสร้าง -- ไทย
Construction contracts -- Thailand
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การจัดทำสัญญาจ้างก่อสร้างนั้นเป็นสัญญาที่ไม่ได้มีแบบ ทางผู้ร่างสัญญาสามารถระบุข้อกำหนดลงในตัวสัญญาได้เอง โดยเฉพาะในงานก่อสร้างขนาดเล็กที่ผู้ทำสัญญาขาดประสบการณ์ในการทำสัญญา ทำให้ข้อกำหนดในสัญญาอาจไม่ครอบคลุมถึงข้อกำหนดที่จำเป็น รวมถึงข้อกำหนดในสัญญานั้นจะส่งผลต่อทั้งในส่วนของเวลา ราคา และคุณภาพของงานอีกด้วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุถึงข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการใช้สัญญาระหว่างฝ่ายผู้ว่าจ้างกับฝ่ายผู้รับเหมาในงานก่อสร้างขนาดเล็ก และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงสัญญาจ้างก่อสร้างงานขนาดเล็ก ให้มีความรัดกุมและครอบคลุมในปัญหาที่สำคัญ ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วยการศึกษางานวิจัยและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำการเก็บข้อมูลข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากคำพิพากษาศาลฎีกา และจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค แล้วนำข้อพิพาทจากที่ได้จากการเก็บข้อมูลไปทำการสัมภาษณ์ผู้รับเหมา จากนั้นจึงทำการสรุปประเด็นข้อพิพาทแล้ววิเคราะห์ความครอบคลุมของข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสัญญาจ้างทำของ และตามสัญญาจ้างก่อสร้างมาตรฐาน FIDIC : Short Form of Contract แล้วนำเสนอถึงแนวทางการปรับปรุงสัญญาจ้างก่อสร้างให้ครอบคลุมต่อข้อพิพาท ผลการศึกษาสรุปได้ว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากประเด็นหลักคือ ข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงงาน ข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับความล่าช้า ข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของผลงาน และข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับราคาและการชำระหนี้ สำหรับการวิเคราะห์ความครอบคลุมต่อข้อพิพาทนั้นพบว่าตามกฎหมายสัญญาจ้างทำของนั้นมีความครอบคลุมต่อข้อพิพาทแล้วในหลายด้าน แต่ก็ยังมีต้องมีข้อกำหนดที่ควรระบุเพิ่มเติมเพื่อให้สัญญาจ้างก่อสร้างนั้นครอบคลุมต่อข้อพิพาทที่เคยเกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น โดยผู้วิจัยได้เสนอถึงแนวทางการเขียนสัญญาจ้างก่อสร้างว่าควรมีหัวข้อลักษณะใดในสัญญาเพื่อให้สามารถครอบคลุมต่อข้อพิพาทได้
Other Abstract: At present, there is no standard form for construction contracts in Thailand. The person who drafts the contract may take an advantage by adding some unfair provisions in the contract. The small contractor who lacks experience are always exploited. Inappropriate coverages may occur in the areas of quality of work, time and financial aspects. The purpose of this research is to describe the disputes between owners and small contractors, and to suggest the solution to improve small construction contracts. The methodology includes studying researches and related construction law, collecting dispute data from the cases from Supreme Court Decisions, Consumer Protection Board and interviewing small contractors, analyzing the gap of the contract in Civil and Commercial code and FIDIC : Short Form of Contract, and suggesting the way to prevent dispute in the contract. The result shows that the main dispute in a small construction contracts are from changes, delays, quality of work, and price and payment. The researcher found that Hire of work laws in Thailand has already covered many disputes, but a number of provisions should be added to improve the contract.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45430
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.919
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.919
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470443621.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.