Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45502
Title: | มาตรการกำกับดูแลการลงทุนจากต่างชาติในกิจการสื่อสารโทรคมนาคมในยุคหลอมรวมสื่อ |
Other Titles: | REGULATORY MEASURES ON FOREIGN INVESTMENT IN TELECOMMUNICATION BUSINESS IN DIGITAL CONVERGENCE ERA |
Authors: | ฐิตตะวัน เฟื่องฟู |
Advisors: | ศักดา ธนิตกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sakda.T@Chula.ac.th,TSAKDA@chula.ac.th |
Subjects: | โทรคมนาคม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย การลงทุนของต่างประเทศ -- ไทย อุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคม -- ไทย Telecommunication -- Law and legislation -- Thailand Investments, Foreign -- Thailand |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยการศึกษาวิจัยจากเอกสาร (Documentary research)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนด้านกิจการสื่อสารโทรคมนาคมไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายของสหรัฐอเมริกา มาเลเซียและสิงคโปร์เพื่อวิเคราะห์ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่องการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าวเป็นสำคัญ เพราะกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดให้ภาระการตรวจสอบโดยผู้ประกอบกิจการเองซึ่งเห็นว่ายังไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการกระทำผิดกฎหมายได้ และเพื่อนำผลการศึกษาตลอดจนเสนอแนะแนวทางใหม่ด้วยการแก้ไขกฎหมายเพื่อกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมในยุคหลอมรวมสื่อในการรับการลงทุนจากต่างชาติ ภายใต้นโยบายและมาตรการในการรับการลงทุน กลไกการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นแนวทางที่ชัดเจนและเหมาะสมเพราะปัจจุบันกฎหมายยังไม่มีประสิทธิภาพและรัดกุมเพียงพอ โดยกำหนดสมมุติฐานเรื่องการกำกับดูแลกิจการสื่อสารโทรคมนาคมในยุคหลอมรวมสื่อซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติเพื่อป้องกันความเสี่ยงภัยก่อนการเปิดเสรีกิจการสื่อสารโทรคมนาคมและเพื่อการรับการลงทุนจากต่างชาติอย่างเหมาะสมและมีความเป็นธรรมต่อคนชาติและคนต่างด้าวบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน อนึ่ง ในการกำกับดูแลผู้ลงทุนต่างชาติต้องตรวจสอบอย่างเคร่งครัดอันจะส่งผลให้รัฐที่รับการลงทุนมีเสถียรภาพและเกิดประโยชน์ต่อผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศอย่างยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่าการจำกัดสัดส่วนการถือครองหุ้นโดยนักลงทุนต่างชาติไม่สำคัญเท่ากับการตรวจสอบกิจการและผู้บริหารกิจการ จากการศึกษาพบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญด้านความมั่นคงของชาติกับเรื่องการลงทุนที่กระทบต่อกิจการยุทธศาสตร์ชาติซึ่งรวมถึงกิจการสื่อสารโทรคมด้านอินเทอร์เน็ตเพื่อป้องกันการก่อการร้ายและความเสี่ยงด้านข้อมูลดิจิทัล สำหรับประเทศสิงคโปร์คำนึงถึงความมั่นคงของชาติโดยให้ความสำคัญด้านการค้าการลงทุน ส่วนประเทศมาเลเซียนั้นให้การสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติและการป้องกันความมั่นคงของชาติมิให้มีการละเมิดศาสนาอิสลาผ่านการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต สำหรับประเทศไทยนั้นรัฐบาลมุ่งขยายการลงทุนโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติโดยสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติและให้ความสำคัญด้านความมั่นคงของชาติในการป้องกันมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในรัฐบาล นักการเมืองหรือฝ่ายปกครองถือหุ้นหรือเกี่ยวข้องกับกิจการสื่อสารโทรคมนาคมดังกล่าวทั้งนี้รัฐธรรมนูญของประเทศไทยได้แสดงเจตนารมณ์ดังกล่าวไว้ด้วย โดยสรุป การกำกับดูแลกิจการสื่อสารโทรคมนาคมในยุคหลอมรวมสื่อที่มีประสิทธิภาพ ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานสากลโดยมีการตรวจสอบกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใสเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายภายในที่กำหนดไว้พร้อมไปกับต้องป้องกันความเสี่ยงภัยต่อความมั่นคงของชาติให้พัฒนาการด้านสื่อสารโทรคมนาคมมีความยั่งยืน ดังนั้น การกำกับดูแลที่สำคัญถือว่ามีประสิทธิภาพ คือ นโยบายการรับการลงทุนจากต่างชาติต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์สากลและเป็นที่ยอมรับเพราะมีความชัดเจน โปร่งใสและไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งมาตรการจำกัดสัดส่วนการถือครองหุ้นจากต่างชาตินั้นเหมาะสมแล้วแต่ต้องแก้ไขกฎหมายเพื่อกำหนดหน้าที่ในการตรวจสอบผู้ถือหุ้นโดยอ้อมรวมถึงความเกี่ยวพันของผู้ใดกับกรรมการและผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจบริหารบริษัท และกำหนดกิจการที่ต้องถูกตรวจสอบเพื่อลดความเสี่ยงภัยต่อความมั่นคงของชาติอีกด้วย |
Other Abstract: | The study of this thesis is a qualitative research conducted by the method of documentary research aiming at collecting information, laws and regulations relating to foreign investments in order to compare Thai laws on telecommunication focusing on the internet operation with the laws and regulations of the United States of America, Singapore and Malaysia. Due to the fact that the National Broadcasting and Telecommunications Commission has stipulated the acts to prohibit the undue influence manners committed by foreign investors over the services providers and their shareholders by self-regulating their operations. However, this measure has not been efficient enough to prevent the misconduct. The investment promotion measures should conform to the efficient legal enforcement and the good governance guidelines. Currently, there is no mechanism to enforce the telecommunication law effectively and transparently to attract foreign investment inflow. The hypothesis of this thesis focuses that the corporate governance in telecommunications in the internet convergence has an important impact on the national security in order to prevent the vulnerable risks before liberalization. Therefore, the revision of the law and regulations will result in the fair and equitable telecommunication regime based on the non-discrimination basis. The study found that the restriction on the equity ratio of foreign shareholders is not as important as the monitoring of business operations in according to the legitimated administration. The result of the comparative study showed that the United States of America focuses on national security over foreign investment in order to prevent the risks of digital information intercepted by terrorists. Singapore focuses more on national security regarding foreign investment promotion. Malaysia has the strategy to promote foreign investment in the field of telecommunication; however, the violation of Islam will be regarded as a national security issue. Thai government has the policy to expand the national broadband network by promoting foreign investment. However, under Thai constitution on national security, the high ranking positions in the government, politicians or administrators concerned with the telecommunication are prohibited from being a direct or indirect shareholder or being a nominee of any illegitimate shareholder. In conclusion, the telecommunication regulatory regime has to comply with the international standard based on the efficiency, transparency, non-discriminatory principle as well as fair and equitable treatments for foreign investment. Currently, the policy to monitor foreign investment regarding the equity ratio of foreign shareholders is appropriated. However, Thailand needs to monitor the indirect hold and control the shares of the telecommunication operators to prevent national security risks in order to strengthen the national telecommunication stability. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45502 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.953 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.953 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5486551434.pdf | 8.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.