Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45513
Title: | การยืดอายุการเก็บรักษาไข่เป็ดโดยเคลือบด้วยไคโตซานที่เตรียมจากการฉายรังสีแกมมา |
Other Titles: | PROLONGING SHELF LIFE OF DUCK EGGS BY COATING WITH CHITOSAN PREPARED BY GAMMA IRRADIATION |
Authors: | กัตตพล ชมไพบูลย์ |
Advisors: | ดุลยพงศ์ วงศ์แสวง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | doonyapong.w@chula.ac.th |
Subjects: | ไคโตแซน รังสีแกมมา เป็ด -- ไข่ น้ำหนักโมเลกุล อาหาร -- อายุการใช้ Chitosan Gamma rays Ducks -- Eggs Molecular weights Food -- Shelf-life dating |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ไคโตซานเป็นพอลิเมอร์ที่สกัดได้จากเปลือกของสัตว์ทะเลเช่น ปู กุ้ง หรือหอย มีคุณสมบัติในการยับยั้งการคายน้ำและเชื้อแบคทีเรีย สามารถลดน้ำหนักโมเลกุลไคโตซานได้ด้วยการฉายรังสีแกมมาทำให้เกิดตัดทอนพันธะทางเคมี โดยได้นำประยุกต์ใช้เป็นสารละลายในการเคลือบไข่เป็ดโดยทำการศึกษาที่ความเข้มข้น 0.5% 1.0% 2.0% และ 5.0% w/v โดยแบ่งน้ำหนักโมเลกุลออกเป็น 823 668 377 130 36.7 และ 28.1 kDa (การทดลองที่สภาวะ 5.0% w/v มีเฉพาะสภาวะน้ำหนักโมเลกุล 130 36.7 และ 28.1 kDa เท่านั้น) โดยทำการละลายไคโตซานในกรดอะซิติก 1.0% v/v ให้ได้ความเข้มข้นตามสภาวะที่ใช้ในการทดลอง จากนั้นนำไข่เป็ดมาเคลือบด้วยวิธีการชุบ แล้วปล่อยทิ้งไว้เพื่อเก็บค่าน้ำหนักคงเหลือและค่าฮอกยูนิตในแต่ละสัปดาห์ เป็นเวลาทั้งหมด 8 สัปดาห์ โดยเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้องที่ 30 องศาเซลเซียส ผลการทดลองการชะลอน้ำหนักไข่เป็ดพบว่า ไข่เป็ดที่ได้รับการเคลือบไคโตซานที่ความเข้มข้น 5.0% ที่น้ำหนักโมเลกุล 28.1 kDa สามารถชะลอการสูญเสียน้ำได้ดีที่สุด ในขณะผลการวัดค่าฮอกยูนิตนั้น ไข่เป็ดที่ได้รับการเคลือบสารละลายที่ความเข้มข้น 1.0% ของทุกสภาวะน้ำหนักโมเลกุล (ยกเว้นที่น้ำหนักโมเลกุล 668 kDa) นั้นสามารถคงระดับชั้นคุณภาพ A ได้ดีในสัปดาห์แรก และลดระดับเหลือชั้นคุณภาพ B ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 เป็นต้นไป โดยความแตกต่างของค่าฮอกยูนิตเมื่อเทียบกับมาตรฐานชั้นคุณภาพแล้วพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของชั้นคุณภาพ และสามารถสรุปได้ว่าไข่เป็ดที่เคลือบสารละลายไคโตซานสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 5 สัปดาห์เมื่อเทียบกับไข่เป็ดที่ไม่ได้เคลือบ โดยวิเคราะห์ผลร่วมกับลักษณะทางกายภาพหลังการตอกซึ่งไข่แดงจะเริ่มกระจายตัวหลังสัปดาห์ที่ 5 เป็นต้นไป |
Other Abstract: | Chitosan is a bio-polymer extracted from shrimp and crab shells. Effect of chitosan can be inhibit bacteria and decrease transpiration, which is decreasing the molecular weight with gamma irradiated. It is applied for bio-chemical solution for coating duck eggs. This thesis has study about effect of concentration and molecular weight of chitosan at concentration 0.5, 1.0, 2.0 and 5.0%, respectively. Molecular weight 823, 668, 377, 130, 36.7 and 28.1 kDa(5.0% concentration are only in molecular weight 130, 36.7 and 28.1 kDa), respectively. all of chitosan were solute in acetic acid 1.0% v/v and using dip method for coating the duck eggs and storage for 8 weeks at room temperature. The results showed the concentration 5.0% and molecular weigh 28.1 kDa is the best for reduce weight loss. Result for haugh unit measurement showed the concentration 1.0% and most of molecular weight can maintained the quality A grade in first week and reduce to B grade in second week. However, after second week the haugh unit were not different of significant in each conditions for changing quality grade. Summary, optimum time storage time of duck eggs is 5 weeks after coating with chitosan while the control can storage only 3 weeks. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิวเคลียร์เทคโนโลยี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45513 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.958 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.958 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5570121621.pdf | 3.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.