Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45615
Title: ผลของระยะห่างระหว่างอักษร ตำแหน่งอักษร จำนวนอักษร และคู่สีอักษรและสีพื้นหลัง ต่ออัตราการยืนยันความเป็นมนุษย์และอัตราความทนทานของแคปท์ชาข้อความ
Other Titles: EFFECT OF SPACING, POSITIONS, NUMBERS OF CHARACTERS, AND PAIRS OF TEXT AND BACKGROUND’S COLORS ON TEXT-BASED CAPTCHA’S HUMAN AFFIRMATIVE RATES AND ROBUSTNESS RATES
Authors: วงศกร รัตติรุจิเศวต
Advisors: ชัชพงศ์ ตั้งมณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: Chatpong.T@Chula.ac.th,chatpong@cbs.chula.ac.th
Subjects: แคปชา (การทดสอบด้วยการตอบสนองกลับ)
ช่องไฟ
การจัดตัวอักษร
CAPTCHA (Challenge-response test)
Letter spacing
Graphic design (Typography)
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การออบแบบแคปท์ชาข้อความต้องให้ง่ายต่อมนุษย์แต่ยากสำหรับโปรแกรมอัตโนมัติหรือเรียกว่าบอต การวัดความสามารถของแคปท์ชาข้อความคือ การวัดอัตราการยืนยันความเป็นมนุษย์ อันหมายถึงอัตราที่ผู้ใช้สามารถระบุอักษรที่ปรากฎในแคปท์ชาข้อความได้ถูกต้อง และการวัดอัตราความทนทานของแคปท์ชาข้อความ อันหมายถึงอัตราที่แคปท์ชาข้อความสามารถป้องกันการโจมตีของโปรแกรมโอซีอาร์ ยังไม่พบงานวิจัยที่ได้วิเคราะห์ผลของ (1) ระยะห่างระหว่างอักษร (2) ตำแหน่งอักษร (3) จำนวนอักษร หรือ (4) คู่สีอักษรและสีพื้นหลังของแคปท์ชาข้อความ ต่ออัตราการยืนยันความเป็นมนุษย์ และอัตราความทนทานของแคปท์ชาข้อความ วิทยานิพนธ์นี้จึงต้องการเติมเต็มความต้องการนี้ งานวิจัยนี้เป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ระยะห่างระหว่างอักษร และจำนวนอักษร มีผลต่ออัตราการยืนยันความเป็นมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทว่าผลของตำแหน่งอักษร และคู่สีอักษรและสีพื้นหลังต่ออัตราการยืนยันความเป็นมนุษย์ไม่มีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่าระยะห่างระหว่างอักษร และตำแหน่งอักษร มีผลต่ออัตราความทนทานของแคปท์ชาข้อความอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทว่าผลของจำนวนอักษร และคู่สีอักษรและสีพื้นหลังต่ออัตราความทนทานของแคปท์ชาข้อความไม่มีนัยสำคัญ ข้อสรุปที่ได้จากการศึกษานี้เป็นแนวคิดในการพัฒนาแคปท์ชาข้อความ อีกทั้งผู้พัฒนาแคปท์ชาสามารถใช้ข้อค้นพบในงานนี้ เพื่อออกแบบแคปท์ชาข้อความที่ง่ายต่อการใช้งานของมนุษย์ และยากต่อการโจมตีของบอต
Other Abstract: Text-based CAPTCHAs are designed to be easy for humans but hard for automated software, known as bots. However, they are still a problem for humans. The human affirmative rate means the rate through which users can identify the text that appears in CAPTCHAs correctly and the robustness rate of CAPTCHAs means the rate through which CAPTCHAs are safe from OCR attack. No previous study examines the effects of (1) spacing, (2) positions, (3) numbers of characters, or (4) pairs of text and background’s colors of CAPTCHAs on the human affirmative rates and the robustness rate of CAPTCHAs. This study attampts to fill this void. The study is based on a laboratory experiment. The analysis indicated that the effects of spacing, and numbers of characters of CAPTCHA are statistically significant on the human affirmative rate at the 0.05 level, but the effect of positions, or pairs of text and background’s colors of CAPTCHA were not significant. In addition, the effects of spacing, and positions of CAPTCHA are statistically significant on the robustness rate of CAPTCHA at the 0.05 level, but the effect of numbers of characters, or pairs of text and background’s colors of CAPTCHA were not significant. In addition to extending knowledge of text-based CAPTCHA’s design, developers could apply the findings to design text-based CAPTCHAs that are easy for human but difficult for computer attacks.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45615
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1008
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1008
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5581595226.pdf5.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.