Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45705
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรสัณฑ์ บูรณากาญจน์en_US
dc.contributor.authorไตรวุฒิ ฮวบกระโทกen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:04:37Z
dc.date.available2015-09-17T04:04:37Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45705
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractอาคารในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งเป็นวัสดุที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย หาได้ง่าย มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักได้สูง การก่อสร้างเป็นที่คุ้นเคยของช่างก่อสร้างซึ่งมีความชำนาญเนื่องจากมีการก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กมาเป็นระยะเวลายาวนาน แต่ข้อเสียของคอนกรีตเสริมเหล็ก คือมีน้ำหนักค่อนข้างมาก ทำให้โครงสร้างมีขนาดใหญ่เพื่อรับน้ำหนักของตัววัสดุ (Dead load) เองเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับน้ำหนักบรรทุกจร (Live load) บางโครงการต้องใช้เครื่องจักรหนักในการก่อสร้าง ซึ่งต้องใช้พลังงานในการก่อสร้างสูง พื้นเป็นโครงสร้างหนึ่งของอาคาร ทำหน้าที่รับน้ำหนักบรรทุกจร (Live load)โดยตรง แล้วจึงถ่ายน้ำหนักลงคานหรือเสา พื้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อน้ำหนักวัสดุ (Dead load) ของโครงสร้างอาคาร หากพื้นมีน้ำหนักมากจะส่งผลให้ขนาดคาน และเสา ใหญ่ขึ้น น้ำหนักวัสดุ (Dead load) ก็มากตามมาด้วย แต่หากสามารถลดน้ำหนักวัสดุ (Dead load) ของพื้นให้น้อยลง ภายใต้น้ำหนักบรรทุกจร (Live load) เท่าเดิม จะทำให้น้ำหนักที่กระทำเสาและคานลดลงตามไปด้วย พื้นประกอบไฟเบอร์กลาสเป็นพื้นที่มีน้ำหนักเบาและสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ 150 กิโลกรัมต่อตารางเมตรโดยปลอดภัย ทำให้สามารถลดน้ำหนักของโครงสร้างอาคารได้ เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป พื้นประกอบไฟเบอร์กลาสเบากว่า 115.3 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือ 25.53 เท่า ราคาสูงกว่า 640 บาทต่อตารางเมตร หรือ 3.46 เท่า หากคิดจากโครงสร้างอาคาร 2 ชั้น ขนาด 8 X 8 ตารางเมตร โครงสร้างที่ใช้ระบบพื้นประกอบไฟเบอร์กลาส ทำให้น้ำหนักอาคารลดลง ส่งผลให้ไม่ต้องตอกเสาเข็ม (ใช้ความต้านทานการรับน้ำหนักของดินไม่น้อยกว่า 5,000 กิโลกรัมต่อตารางเมตรในการวิเคราะห์)) ทำให้ราคารวมของโครงสร้างไม่ต่างกันมากนักคืออยู่ระหว่าง 11 - 44 บาทต่อตารางเมตร แต่เมื่อเปรียบเทียบในกรณีที่ใช้คานคอนกรีตเสริมเหล็กรับพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปที่ใช้กันทั่วไป และใช้คานเหล็กรูปประพรรณรับพื้นประกอบไฟเบอร์กลาสซึ่งเป็นระบบใหม่ จะสามารถประหยัดค่าก่อสร้างได้ 168 และ 217 บาทต่อตารางเมตร หากใช้เสาเข็มตอก และเสาเข็มเจาะ ตามลำดับ และใช้แรงงานน้อยกว่าโครงสร้างที่ใช้ระบบแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปสูงสุด 48.85 Man-day หรือก่อสร้างได้เร็วกว่า 9.77 วัน เมื่อใช้ทีมงานก่อสร้าง 5 คนen_US
dc.description.abstractalternativeMost of the present buildings are of reinforced concrete structure. This material is popular, easy to find, strong, and provides great weight support. However, reinforced concrete structure has a dead load which leads to large structures being able to support their own weight when compared to live loads. The floor is the part of the building responsible for directly supporting live loads and transferring weight to the support beams and the pillars. Therefore, the floor is an important factor affecting the weight of the materials for a building’s structure construction. If we can reduce the weight of the material used for the floor under the same live load weight, we will reduce the sizes of the beams and pillars and also the force acting on the foundation. We also do not have to use heavy machinery to install floor slabs. The fiberglass composite floor is light and can safely support up to 150 kilograms per square meter which can reduce the building structural weight. If we calculate from the construction of a 2-storey building with the size of 8 x 8 square meters, the fiberglass composite floor lowers the building’s weight, which results in not needing a pile driven foundation. The total cost of the structure is not significantly different which is between 11-44 baht per square meter. When comparing the reinforced concrete beam supporting the precast concrete floor and the skeleton steel beam supporting the fiberglass composite floor, the construction cost is lowered by 168 and 217 baht per square meter if using a driven pile and bored pile foundation respectively. The labor needed is also less than the precast concrete floor by 48.85 man-days at most. The construction is faster by 9.77 days.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1061-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคอนกรีตเสริมใยแก้ว
dc.subjectอาคาร -- การออกแบบและการสร้าง
dc.subjectFiber-reinforced concrete
dc.subjectBuildings -- Design and construction
dc.titleการลดน้ำหนักโครงสร้างอาคารด้วยพื้นประกอบไฟเบอร์กลาสen_US
dc.title.alternativeTHE REDUCTION OF BUILDING STRUCTURAL WEIGHT USING FIBERGLASS COMPOSITE FLOOR.en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorVorasun.B@Chula.ac.th,vorasun1@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1061-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673320825.pdf6.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.