Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45825
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระพงษ์ บุญโญภาสen_US
dc.contributor.authorกุลนิษฐ์ ยิ่งชลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:05:29Z
dc.date.available2015-09-17T04:05:29Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45825
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการกระทำความผิดเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับลักษณะการกระทำความผิดปรากฏตามมาตรา 9 และบทลงโทษตามมาตรา 108 หรือ 108 ทวิ ซึ่งมีกรณีการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำความผิดที่เป็นภัยร้ายแรงกระทบต่อสภาพสังคม การบริหารจัดการที่ดินของรัฐให้ตรงตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทย ในรูปแบบที่เป็นองค์กรอาชญากรรมหรืออาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ ผู้กระทำความผิดมุ่งกระทำความผิดโดยมีแรงจูงใจที่สำคัญคือผลประโยชน์จำนวนมหาศาลอันมีลักษณะการกระทำความผิดในเชิงการค้า จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยากที่จะดำเนินการกับผู้กระทำความผิด เนื่องจากบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มีบทลงโทษผู้กระทำความผิดไม่สูง ประกอบกับมาตรการในการดำเนินการกับทรัพย์สินในการกระทำความผิดยังไม่มีประสิทธิภาพในการสกัดกั้นเงิน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ของผู้กระทำความผิดอันเป็นแรงจูงใจให้ผู้กระทำความผิดเลือกที่จะเสี่ยงกระทำความผิดโดยไม่เกรงกลัวต่อบทกฎหมาย โดยทั้งนี้แม้บทบัญญัติตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีมาตรการในการดำเนินการสกัดกั้นเงิน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ของผู้กระทำความผิด แต่ก็ยังไม่มีการกำหนดให้การกระทำความผิดเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นความผิดมูลฐานแต่อย่างใด ส่งผลให้มาตรการตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถตอบสนองการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมรูปแบบดังกล่าวที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ศึกษาวิจัยเห็นว่าควรมีการนำมาตรการต่างๆตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับ ซึ่งมีมาตรการดำเนินการกับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ที่ผู้กระทำความผิดได้รับเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดมูลฐาน ที่สำคัญ คือ มาตรการยึดอายัดทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม โดยในเบื้องต้นจำต้องกำหนดให้การกระทำความผิดเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน อันเป็นฐานในการนำมาตรการตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้ต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeAn offence of trespassing into the public land of State which is an offence under the Land Code B.E. 2497 (1954) is an offence creating severe impact upon state of society, quality of a management of land by the State, as well as, state of economy of the Kingdom of Thailand. In particular, in the case where the offence is committed by an organized criminal group or contains an aspect of economic crime, for example, the offence with commercial aim creating the offender great benefits, the offender is usually induced by such benefits to commit such an offence. Even so, provisions of the Land Code B.E. 2497 (1954) which now come into force lack the effective enforcement against the offenders. The reasons for this are that legal punishments of the provisions are not severe enough and that the legal enforcement against the offender’s properties is not effective in intercepting the offender’s money, properties and other benefits. In consequence, these two reasons motivate the offender to risk in committing the offence and result in a lack of effectiveness of measures under the Land Code in defending or eliminating those types of crime. Even, the Money Laundering Control Act has the punishment solution upon money, properties and other benefits but there is no predicated offence of trespassing into the public land in this act. As all of those aforementioned reasons, the fellow is of an opinion that the measures under the Money Laundering Control Act shall be applied to the offence. At initial stage, it is necessary to determine the offence of trespassing into the public land of State to be a predicated offence under the Money Laundering Control Act. By doing so, the enforcement of measures under this laws will increase the effectiveness in defending and eliminating the said crime.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.619-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
dc.subjectการฟอกเงิน
dc.subjectการบุกรุก
dc.subjectที่ดิน
dc.subjectกฎหมายที่ดิน -- ไทย
dc.subjectความผิดทางอาญา -- ไทย
dc.subjectAnti-Money Laundering Act B.E. 2542
dc.subjectMoney laundering
dc.subjectTrespass
dc.subjectLand use
dc.subjectLand use -- Law and legislation -- Thailand
dc.subjectMistake (Criminal law) -- Thailand
dc.titleพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 : ศึกษากรณีเกี่ยวกับการเพิ่มความผิดมูลฐานตามประมวลกฎหมายที่ดินen_US
dc.title.alternativeMONEY LAUNDERING CONTROL ACT B.E.2542 : A STUDY OF ADDITION OF PREDICATE OFFENCES UNDER THE LAND CODEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorviraphong.b@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.619-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5685957634.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.