Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45900
Title: ตัวแบบการคัดเลือกโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Other Titles: MODEL OF PROJECT SELECTION FOR NEW PRODUCT DEVELOPMENT BASED ON SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY
Authors: ธรรมวิชญ์ สิริภาณุพงศ์
Advisors: ทิพภากร รังคสิริ
พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์
ศรัณย์ เตชะเสน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Tippakorn.R@Chula.ac.th,tippakorn@cbs.chula.ac.th
pakpachong@hotmail.com
Sarun.T@Chula.ac.th,sarunlor@gmail.com
Subjects: การพัฒนาแบบยั่งยืน
ผลิตภัณฑ์ใหม่
การแพร่กระจายนวัตกรรม
โครงการวิจัยและพัฒนา
เศรษฐกิจพอเพียง
Sustainable development
New products
Diffusion of innovations
Research and development projects
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างตัวแบบการคัดเลือกโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และการสร้างเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจในการคัดเลือกโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การศึกษานี้เป็นการวิจัยผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการศึกษาองค์กรภาคธุรกิจที่ได้รับรางวัลชนะเลิศหรือรองชนะเลิศจากการประกวดผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากการทบทวนวรรณกรรมและข้อแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ สามารถกำหนดปัจจัยด้านเศรษฐกิจพอเพียง 14 ปัจจัย เกณฑ์การเลือกโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ 8 เกณฑ์ และผลสำเร็จของผลิตภัณฑ์ใหม่ด้านที่เป็นตัวเงิน 6 ข้อ และด้านที่ไม่เป็นตัวเงิน 13 ข้อ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ามีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในระดับสูงในทุกเกณฑ์ของการคัดเลือกโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และแสดงให้เห็นว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงส่งผลเชิงบวกต่อระดับความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น ยอดขาย ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสีย คุณภาพของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น หลังจากนั้นได้ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบและการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกได้นำมาพัฒนาโปรแกรมเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจในการคัดเลือกโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การสำรวจการยอมรับโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ให้การยอมรับในระดับมากในเกือบทุกหัวข้อและมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาต่อไปในเชิงพาณิชย์ โดยได้ประเมินทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด คือ แนวทางการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์โดยไม่เด็ดขาด แบบมีเงื่อนไขที่ผู้ใช้ส่งข้อมูลการใช้งานกลับมา ซึ่งส่งผลดีที่สำคัญคือ การนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงซอฟต์แวร์รุ่นถัดไปทำให้ซอฟต์แวร์มีความทันสมัย และมีโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนที่สูงขี้น สำหรับกลุ่มเป้าหมายจะเน้นที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้งาน ส่งผลดีในเชิงเศรษฐกิจควบคู่กันไปกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
Other Abstract: This study aims to create the model of project selection for new product development (NPD) and create the tool for supporting the project selection of NPD in dimension of the sufficiency economy philosophy (SEP). This study was conducted in mixed methods between qualitative and quantitative research of business organizations that received award winner or 2nd place winner of the SEP contest. Review of the literatures and recommendations from the expert interview result a questionnaire of 14 factors of SEP, 8 selection criteria and the success of new product measures 6 items of financial indicator and 13 items of non-financial indicator. The results found that the SEP is implemented at a high level in all of the project selection criteria and there were reflected positive impact on the performance of new product such as sales, stakeholder satisfaction and product quality. After that factor analysis and logistic regression analysis were applied the results were used for developing decision supporting tool. The acceptance survey of the program developed in this study found that almost all of respondents indicated the high level in almost every item of the model. The commercialization of the model program is feasible. The alternative assessment for commercialization is non-exclusive license agreement by condition, end-users sent usage data back. This usage data is important as the data can be used to develop and improve the next version of the software program. The benefits are software up-to-date and the opportunity to generate returns in future. The target customer is focus on small and medium-sized enterprises - SMEs. The program developed will benefits SMEs and generate positive impact on the economy, society and environmental concurrently by the principle of SEP leading to sustainable development.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45900
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.651
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.651
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5287776320.pdf6.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.