Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45916
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิชัย เสวกงามen_US
dc.contributor.advisorสำลี ทองธิวen_US
dc.contributor.authorนาฎฤดี จิตรรังสรรค์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:20:44Z
dc.date.available2015-09-18T04:20:44Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45916
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการจัดการหลักสูตรโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการลดความสูญเปล่าในการผลิตแบบลีน 2) ศึกษาประสิทธิภาพในการนำหลักสูตรไปใช้ที่เกิดจากการดำเนินการตามกระบวนการที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาปัจจัยเอื้อและปัญหาอุปสรรคในการนำกระบวนการจัดการหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในสถานศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลและสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการจัดการหลักสูตร(ฉบับร่าง) โดยนำแนวคิดการลดความสูญเปล่าในการผลิตแบบลีนมากำหนดเป็นกระบวนการ ระยะที่ 3 การนำกระบวนการจัดการหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นไปใช้ และระยะที่ 4 การปรับปรุงและนำเสนอกระบวนการจัดการหลักสูตรโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการลดความสูญเปล่าในการผลิตแบบลีนฉบับสมบูรณ์ โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 24 สัปดาห์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กระบวนการจัดการหลักสูตรโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการลดความสูญเปล่าในการผลิตแบบลีน มีขั้นตอนของกระบวนการ 7 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมเข้าสู่การจัดการแบบลีน ขั้นที่ 2 การระบุคุณค่าหรือกำหนดเป้าหมาย ขั้นที่ 3 การสร้างแผนผังสายธารแห่งคุณค่า ขั้นที่ 4 การค้นหาและกำจัดความสูญเปล่า ขั้นที่ 5 การนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดการไหล ขั้นที่ 6 การสะท้อนการทำงานผ่านระบบดึง และ ขั้นที่ 7 การสร้างมาตรฐานและความสมบูรณ์แบบ 2) การดำเนินงานตามกระบวนการจัดการหลักสูตรโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการลดความสูญเปล่าในการผลิตแบบลีน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการนำหลักสูตรไปใช้ของครูระดับประถมศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ประสิทธิภาพทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ปัจจัยเอื้อในการนำกระบวนการจัดการหลักสูตรไปใช้ แบ่งเป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยปัจจัยภายในได้แก่ 1) การเปิดใจกว้างของครู และ 2) การเห็นผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ การสนับสนุนของผู้บริหาร ปัญหาและอุปสรรคในการนำกระบวนการจัดการหลักสูตรไปใช้ ได้แก่ 1)วัฒนธรรมในการทำงานของครู 2) ความไม่คุ้นเคยในกระบวนการ 3) ความรู้สึกว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก และ 4)ภาระงานของครูen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to 1) study and develop a curriculum management process by applying Lean concept for waste elimination to enhance curriculum implementation of primary school teacher. 2) study effectiveness of the curriculum management process and 3) study supporting factors, obstructions, and problems of using the curriculum management process. This study was conducted with a focus on qualitative data collection by dividing into 4 phases, including (1) analyze and synthesize relevant notions, theories, documents, and researches, as well as fundamental information used for developing a process, (2) develop a curriculum management process by applying Lean concept for waste elimination, (3) implement a curriculum management process by applying Lean concept for waste elimination, and (4) develop and present a curriculum management process by applying Lean concept for waste elimination. The periods of implementation was 24 weeks. The research results were as follows: 1) The curriculum management process by applying Lean concept for waste elimination, including 7 steps ( preparation, value definition, value steam mapping, waste eliminations, flow implementation, pull reflection, and pursue perfection) 2) In implementing the curriculum management process, it was found that enhance curriculum implementation of primary school teachers significant at the .01 level. Focus on each of three aspects found that efficacy in lesson plan, instruction and instructional developments , the participant had more efficacy in all indicators significant at .01 level. 3) The supporting factors in this process were divided into internal factors including (1) Open-minded (2) Concrete-results and external factors was administrator support. The obstructions and problems of this process implementation were (1) teacher’s working culture (2) Unfamiliarity process (3) overwhelming and (4) the teacher’s working load.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.660-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษา -- หลักสูตร
dc.subjectการผลิตแบบลีน
dc.subjectการวางแผนหลักสูตร
dc.subjectEducation -- Curricula
dc.subjectLean manufacturing
dc.subjectCurriculum planning
dc.titleการพัฒนากระบวนการจัดการหลักสูตรโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการลดความสูญเปล่าในการผลิตแบบลีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำหลักสูตรไปใช้ของครูระดับประถมศึกษาen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF A CURRICULUM MANAGEMENT PROCESS BY APPLYING LEAN CONCEPT FOR WASTE ELIMINATION TO ENHANCE CURRICULUM IMPLEMENTATION OF PRIMARY SCHOOL TEACHERSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWichai.S@Chula.ac.then_US
dc.email.advisortsumlee@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.660-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384456027.pdf9.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.