Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46016
Title: โมเดลเชิงสาเหตุของทักษะการสะท้อนคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการสอนแบบสะท้อนคิดของครูเป็นตัวแปรปรับ: การวิจัยเชิงทดลอง
Other Titles: A CAUSAL MODEL OF SIX GRADE STUDENTS' REFLECTION AND SCIENCE ACHIEVEMENT WITH TEACHER'S REFLECTIVE TEACHING AS A MODERATOR VARIABLE: EXPERIMENTAL RESEARCH
Authors: เอกชัย วิเศษศรี
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Wannee.K@Chula.ac.th
Subjects: การเรียนรู้แบบพินิจพิเคราะห์
ทฤษฎีสรรคนิยม
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ตัวแปรปรับ
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
Reflective learning
Constructivism (Education)
Academic achievement
Moderator variables
Science -- Study and teaching (Elementary)
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสะท้อนคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้วิธีการสอนที่ต่างกัน 2 วิธี คือการสอนที่ครูใช้การสะท้อนคิดและการสอนแบบปกติ (2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของทักษะการสะท้อนคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการสอนแบบสะท้อนคิดของครูเป็นตัวแปรปรับกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ (3) เพื่อศึกษากระบวนการสะท้อนคิดของนักเรียนที่มีทักษะการสะท้อนคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี ตัวอย่างวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 82 คน ของโรงเรียนเอกชนขนาดเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม จำนวน 41 คน และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2 วิธี คือวิธีการสอนแบบที่มีการสะท้อนคิด และวิธีการสอนแบบปกติ (2) แบบวัดทักษะการสะท้อนคิดของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ (3) แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนาม (MANOVA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. วิธีการสอนของครูส่งผลต่อค่าเฉลี่ยทักษะการสะท้อนคิดของนักเรียนและค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนที่มีการสะท้อนคิด (M=3.44) มีค่าเฉลี่ยของทักษะการสะท้อนคิดสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนปกติ (M=3.10) และนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนที่มีการสะท้อนคิด (M=16.83) มีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนปกติ (M=12.32) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 2. โมเดลเชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ไค-สแควร์=22.82, df = 14, p = 0.06, GFI = 0.93, AGFI = 0.85, RMSEA = 0.09, RMR = 0.18) โดยทักษะการสะท้อนคิดมีขนาดอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 0.41 และทักษะการสะท้อนคิดของนักเรียนสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ได้ร้อยละ 17 เมื่อวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุ พบว่าโมเดลเชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลและค่าพารามิเตอร์ในโมเดลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (ไค-สแควร์= 35.33, df = 35, p = 0.45, GFI = 0.90, RFI = 0.85, RMR = 0.14) แสดงว่าการสอนแบบสะท้อนคิดของครูไม่เป็นตัวแปรปรับของโมเดลเชิงสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาขนาดอิทธิพลของตัวแปรทักษะการสะท้อนคิดต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในกลุ่มที่ได้รับวิธีการสอนแบบสะท้อนคิด (DE = 0.37) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติ (DE = 0.32) 3. นักเรียนที่มีการสะท้อนคิดสูงมีกระบวนการสะท้อนคิด 4 ขั้นตอน คือ 1) รู้ว่ากำลังทำอะไร 2) แก้ไขในสิ่งที่คลุมเครือ 3) เรียนรู้จากสิ่งที่ทำมาแล้ว และ 4) เปลี่ยนความเข้าใจในสิ่งที่ทำ
Other Abstract: The purposes of this research were: (1) to compare reflective thinking skills and science achievement of grade six students by using two different teaching styles, i.e. reflective teaching and regular teaching, (2) to examine the goodness of fit of the causal model of science achievement of students with teacher’s reflective teaching as a moderator and the empirical data, and (3) to study the reflective thinking process of the students who had high reflective skills and achievement. Sample of this study were 82 grade six students in 2015 academic year. Two groups of students were purposively selected with 41 of each in control group and experimental group. Research instruments were teaching plans, a reflective thinking skills test, and a science test. Data were analyzed by using descriptive statistics, MANOVA and multiple group structural equation model analysis. The research results were as follows: 1. Effects of teaching styles on reflective thinking skills and achievement were statistically significant at .05 level. Reflective teaching skills of the experimental group (M=3.44) was higher than those in the control group (M=3.10). And, science achievement of the experimental group (M=16.83) was higher than that in the control group (M=12.32) 2. The causal model of science achievement fitted to the empirical data (the Chi-square = 22.82, df = 14, p = .06, GFI = 0.93, RMSEA = 0.09, RMR = 0.18). The effect size of reflective thinking skill on science achievement was 0.41. The reflective thinking skills of students could explain the variance of achievement in science for 17 percent. The causal model showed invariance in model form and parameters between control group and experimental group (the Chi-square = 1.26, df3 = 35.33, df = 35, p = 0.45, GFI = 0.90, RFI = 0.85, RMR = 0.14). Therefore, teaching style was not a moderator of the causal model of science achievement of students. However, it was found that the effect size of reflective thinking skills on science achievement of the experimental group (DE = 0.37) was higher than that of the control group (DE = 0.32). 3. The process of reflection of students who had high reflective thinking skills consisted of 4 steps: 1) be mindful of tasks, 2) resolve the unclear, 3) learn from experiences, and 4) change the mindset about tasks
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46016
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.724
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.724
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5483881027.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.