Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46042
Title: การเก็บกลับคืนแร่ดีบุกและแร่ที่เกิดร่วมกันจากกองหางแร่ท้ายรางของเหมืองตะโกปิดทอง ราชบุรี
Other Titles: RECOVERY OF TIN AND ASSOCIATED MINERALS FROM THE PALONG TAILINGS OF ABANDONED TIN MINES IN TAKOPITTHONG, RATCHABURI
Authors: ทวีทรัพย์ ทองส่งธรรม
Advisors: ภิญโญ มีชำนะ
สมศักดิ์ สายสินธุ์ชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pinyo.M@Chula.ac.th,fmnpmc@eng.chula.ac.th,fmnpmc@eng.chula.ac.th
Somsak.Sa@Chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตรวจสอบกรรมวิธีที่เป็นไปได้ในการเก็บกลับคืนแร่ดีบุก และแร่ที่เกิดร่วมกันในหางแร่จากท้ายรางกู้แร่ของเหมืองตะโกปิดทองที่ถูกกองทิ้งไว้ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อนำตัวอย่างแร่จากกองหางแร่มาคัดแยกขนาดด้วยตะแกรง แล้วนำแต่ละส่วนมาผ่านกรรมวิธีการแต่งแร่โดยอาศัยคุณสมบัติความถ่วงจำเพาะที่แตกต่างกัน คัดแยกหัวแร่หนักออกมา ต่อมานำหัวแร่หนักที่ได้มาอบให้แห้งแล้วนำมาผ่านเครื่องแยกแร่ด้วยไฟฟ้าแรงสูง (High-tension separator) และเครื่องแยกแร่ด้วยแม่เหล็ก (Magnetic separator) ทำการคัดแยกแร่ดีบุก (Cassiterite), แร่โคลัมไบต์-แร่แทนทาไลต์ (Columbite-Tantalite), แร่วุลแฟรไมต์ (Wolframite) และแร่อื่นที่เกี่ยวข้องได้หัวแร่ดีบุกที่ได้มีความสะอาด 46.15% Sn สามารถเก็บเก็บคืนได้ 89.37% ความสะอาดหัวแร่โคลัมไบต์-แทนทาไลต์ได้ 20.74% Nb2O5 + Ta2O5 สามารถเก็บเก็บคืนได้ 70.54% และหัวแร่วุลแฟรไมต์มีความสะอาด 4.56% WO3 สามารถเก็บเก็บคืนได้ 77.36% จากศึกษาครั้งนี้แนะนำว่าควรใช้วิธีการทางเคมีเพื่อแยกแร่วุลแฟรไมต์ ออกจากแร่โคลัมไบต์-แทนทาไลต์ เพราะการแยกในทางกายภาพไม่สามารถแยกได้ และยังมีแร่มีค่า เช่น แร่แมกนีไทต์ (Magnetite), แร่อิลเมไนต์ (Ilmenite), แร่ไฮโดรอิลเมไนต์ (Hydro-Ilmenite), แร่ซีโนไทม์ (Xenotime), แร่โมนาไซต์ (Monazite), แร่เซอร์คอน (Zircon), แร่การ์เนต (Garnet) และแร่ทัวร์มาลีน (Tourmaline) ที่น่าจะสามารถแยกให้เป็นหัวแร่สะอาดได้ด้วยการนำกลับไปแยกใหม่
Other Abstract: This study investigates the possibility of recovering tin and associated minerals from the Palong tailings of abandoned tin mines in Takkopithong, Ratchaburi, Thailand. It has been found that screening of the Palong tailings into different size fractions before gravity concentration using different types of shaking tables to obtain heavy concentrates is advised. After screening into different size fractions, drying of the heavy concentrates followed by high-tension and magnetic separation to obtain valuable concentrates of cassiterite, columbite-tantalite, wolframite and other associated minerals. Tin concentrate obtained is 46.15% Sn grade at a recovery of 89.37 %, columbite-tantalite concentrate grade is 20.74% Nb2O5+Ta2O5 at a recovery of 70.54% and wolframite concentrate is 4.56% WO3 grade at 77.36% recovery. It is recommended that chemical separation should be done to separate wolframite from columbite-tantalite concentrate as physical separation is not possible. The other valuable minerals such as magnetite, ilmenite, hydro-ilmenite, xenotime, monazite, zircon, garnet and tourmaline may also be separated into concentrates with repeated separation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมทรัพยากรธรณี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46042
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570205721.pdf7.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.