Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46134
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพรรณ นกสวน สวัสดีen_US
dc.contributor.authorสมชัย แสนภูมีen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:22:27Z-
dc.date.available2015-09-18T04:22:27Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46134-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดองค์กรพรรคภายใต้การนำของทักษิณ ชินวัตร: ศึกษากรณีพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย” ฉบับนี้มีคำถามหลักในการวิจัยว่า 1.พรรคการเมืองภายใต้การนำของพ.ต.ท.ทักษิณมีการจัดองค์กรพรรคแบบใด มีความเป็นประชาธิปไตยในพรรคหรือไม่ หากคำตอบคือไม่ เพราะเหตุใด พรรคภายใต้การนำของพ.ต.ท.ทักษิณจึงไม่มีแรงจูงใจในการจัดโครงสร้างภายในพรรคให้เป็นประชาธิปไตย และเมื่อมีการยุบพรรค-ตั้งพรรคใหม่ องค์กรพรรคถูกจัดหรือเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่ 2.การคัดสรรผู้สมัคร การได้มาซึ่งนโยบายพรรค การตัดสินใจเลือกนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์เป็นเป็นนายกรัฐมนตรี และการตัดสินใจเรื่องร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม พรรคภายใต้การนำของพ.ต.ท.ทักษิณมีกระบวนการเลือกและตัดสินใจที่เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ สมมติฐานของการวิจัยคือ 1.พรรคภายใต้การนำของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้แก่ พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย ไม่ให้ความสำคัญกับการจัดองค์กรให้เป็นประชาธิปไตย เนื่องจากพรรคใช้รูปแบบบริษัทและพรรคชนชั้นนำ เข้ามาบริหารจัดการพรรค อำนาจการจัดสินใจจึงอยู่ที่เจ้าของพรรค และคณะผู้บริหารเท่านั้น การปรับองค์กรพรรคเป็นผลจากการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางการเมืองภายนอกได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 การประท้วงของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มต่อต้านอื่นๆ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการยุบพรรค ทำให้ต้องจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้า แทนที่จะวางรากฐานความเป็นประชาธิปไตย 2.ชัยชนะในการเลือกตั้งไม่ได้ขึ้นอยู่กับการจัดองค์กรให้เป็นประชาธิปไตย แต่เพราะการเลือกทรัพยากรบุคคลที่มีความเชียวชาญและมืออาชีพตำรงตำแหน่งสำคัญๆของพรรค เพื่อให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งมากกว่าปัจจัยอื่นๆที่เป็นประชาธิปไตย ผลจากการวิจัยพบว่าองค์กรต่างๆภายในพรรคถูกจัดตั้งตามข้อบังคับพรรค แต่อำนาจการตัดสินใจในกิจกรรมของพรรคกระจุกอยู่ที่พ.ต.ท.ทักษิณ เครือญาติ และกลุ่มแกนนำพรรค ในประเด็นการคัดสรรผู้สมัคร การเลือกนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี และการตัดสินใจเรื่องร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ทั้งนี้ องค์กรพรรคมีบทบาทที่สุดในเรื่องการได้มาซึ่งนโยบายพรรค นอกจากนี้ยังพบว่าพรรคทั้ง 3 ขาดความเป็นประชาธิปไตยภายในพรรคทุกมิติที่ศึกษา เว้นแต่การได้มาซึ่งนโยบายที่เปิดช่องให้ประชาชนมีส่วนร่วมและพรรคยังทำวิจัยในเรื่องนโยบายก่อนจะผลิตเป็นนโยบายโดยเฉพาะพรรคไทยรักไทย ขณะที่พรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทยให้ความสำคัญกับประเด็นนี้น้อยลง ชัยชนะในการเลือกตั้งของทั้ง 3 พรรคไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีประชาธิปไตยภายในพรรค แต่กระนั้น ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านโยบายของพรรคไทยรักไทยซึ่งมีรากฐานจากการรับฟังเสียงของประชาชนและผู้เชี่ยวชาญ เป็นเหตุผลสำคัญต่อชัยชนะของพรรคen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis entitled “PARTY ORGANIZATION UNDER THE LEADERSHIP OF THAKSIN SHINAWATRA: A STUDY OF THE THAI RAK THAI, PEOPLE’s POWER AND PHEU THAI PARTIES” explores the following questions: 1. What were the nature of political parties under the leadership of Mr. Thaksin Shinawatra; Did they contain some elements of intra-party democracy? If an answer was “no,” then why? 2. After one party was dissolved, the new party was formed, did the new party have an incentive to install intra-party democracy in its organization? The hypothesis for this study are 1. Party under the leadership of Mr.Thaksin Shinawatra, namely, the Thai Rak, the People’s Power and the Pheu Thai Parties, did not invest on building more democratic organization. Rather, the parties maintained their cadre and corporatist style, allowing party leadership to dominate nearly every levels of decisions and activities. 2. The victories at the poll did not derive from elements of internal party democracy, in contrast, skillful selection of seasoned politicians and specialists counted more for the electoral success. The results showed that the parties’ structures and organizations were based on the parties’ regulation codes. In reality, the decisions to choose Mr. Somchai Wongsawat as Prime Minister and to submit the controversial amnesty bill were confined to Mr. Thaksin's, his close relatives and high-rank party leaders. The major activity of the parties that allowed a channel of participation was policy formulation, especially during the Thai Rak Thai when the party relied on experts’ references, researches and people’s opinions. It was undeniable that the way the Thai Rak Thai party derived its policies with a touch of participation from the people and various groups accounted for its electoral victory.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.850-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectทักษิณ ชินวัตร, 2492-
dc.subjectพรรคไทยรักไทย -- การบริหาร
dc.subjectพรรคพลังประชาชน -- การบริหาร
dc.subjectพรรคเพื่อไทย -- การบริหาร
dc.subjectThaksin Shinawatra, 1949
dc.subjectThai Rak Thai Party
dc.subjectPeople Power Party
dc.subjectPheu Thai Party
dc.titleการจัดองค์กรพรรคภายใต้การนำของทักษิณ ชินวัตร: ศึกษากรณีพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทยen_US
dc.title.alternativePARTY ORGANIZATION UNDER THE LEADERSHIP OF THAKSIN SHINAWATRA: A STUDY OF THE THAI RAK THAI,PEOPLE'S POWER AND PHEU THAI PARTIES.en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการเมืองและการจัดการปกครองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiripan.No@Chula.ac.th,nogsuan@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.850-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5581336024.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.