Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46141
Title: | การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2 |
Other Titles: | A STUDY OF MISCONCEPTIONS AND MISTAKES IN MATHEMATICS OF ELEVENTH GRADE STUDENTS IN SCHOOLS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1 AND 2 |
Authors: | พรธิดา สุขกรม |
Advisors: | อัมพร ม้าคนอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Aumporn.M@chula.ac.th |
Subjects: | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) ความผิดพลาด Mathematics -- Study and teaching (Secondary) Errors |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2 โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2 จำนวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางคณิตศาสตร์ แบบอัตนัย เรื่องจำนวนจริงและเลขยกกำลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์มากที่สุดคือประเภท การมีมโนทัศน์ที่จำกัด รองลงมาคือ การมีความเข้าใจที่บกพร่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทางคณิตศาสตร์ การอ้างอิงเกินขอบเขตหรือเงื่อนไข และการตีความผิด ตามลำดับ 2. ลักษณะของมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนที่พบมากของการมีมโนทัศน์ที่จำกัด คือ 2.1 การมีมโนทัศน์เกี่ยวกับจำนวนตรรกยะเพียงบางส่วน โดยไม่ได้คำนึงถึงกรณีที่เป็นค่าประมาณ 2.2 การมีมโนทัศน์ที่จำกัดเกี่ยวกับรากที่สอง โดยไม่ครอบคลุมไปถึงกรณีที่รากเป็นจำนวนจริงลบ 2.3 การมีมโนทัศน์เกี่ยวกับสมบัติของรากเพียงบางส่วน ทำให้นำไปประยุกต์ใช้ไม่ถูกต้อง 3. นักเรียนมีข้อผิดพลาดทางคณิตศาสตร์มากที่สุดคือประเภท การใช้ข้อมูลที่ผิด รองลงมาคือ ข้อผิดพลาดทางด้านภาษาและสัญลักษณ์ ข้อผิดพลาดในด้านการดำเนินการและคำนวณ และการบิดเบือนทฤษฎีบทหรือนิยาม ตามลำดับ 4. ลักษณะที่พบมากของการใช้ข้อมูลผิด คือ 4.1 การแสดงแนวคิดในการหาคำตอบที่ถูกต้อง แต่เลือกใช้ข้อมูลผิดพลาด 4.2 การไม่ทำตามที่โจทย์ระบุอย่างชัดเจน แต่เลือกทำสิ่งที่โจทย์ไม่ได้ระบุแทน 4.3 การแสดงคำตอบที่ได้จากการคำนวณไม่ถูกต้อง |
Other Abstract: | This research focused on studying of mathematical misconceptions and mistakes of eleventh grade students in schools under the secondary educational service area office 1 and 2. The samples were 397 eleventh grade students who studied in the second semester of the 2014 academic year in the schools under the secondary educational service area office 1 and 2. The research instruments were the tests of misconceptions and mistakes in real number and power number. The data were analyzed by using frequency, percentage, and content analysis. The results showed that 1. The mathematical misconceptions, descending of frequency, were limited conceptions, defective understanding about mathematics truths, overgeneralizations and mistranslations. 2. Limited conceptions were 2.1 comprehension only some parts of rational number concepts, not cover the cases of estimate values 2.2 comprehension only some parts of square root concepts, not cover the cases of negative numbers 2.3 comprehension only some parts of square root concepts that were not enough to apply correctly 3. The mathematical mistakes, descending of frequency, were misused data, errors in language and symbols, errors in operations and computations and distorted theorem or definition. 4. Misused data were 4.1 showing answers with the right concept but wrong data using 4.2 not following the commands but chose to do apart from them 4.3 showing answers from miscalculation |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาคณิตศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46141 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.855 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.855 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5583328427.pdf | 4.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.