Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46217
Title: | กระบวนการพัฒนาโรงแรมบูติคที่มีกิจการเพื่อสังคม |
Other Titles: | THE DEVELOPMENT PROCESS OF SOCIAL ENTERPRISE BOUTIQUE HOTELS |
Authors: | ธณัชธันย์ พิธิธนสิน |
Advisors: | ไตรรัตน์ จารุทัศน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Trirat.J@Chula.ac.th,trirat13@gmail.com |
Subjects: | การจัดการโรงแรม -- ไทย ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ -- ไทย การพัฒนาชุมชน Hotel management -- Thailand Social responsibility of business -- Thailand Community development |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การท่องเที่ยวในประเทศไทยมีการขยายตัวเพิ่มถึงร้อยละ 19.6 โดยธุรกิจโรงแรมถือเป็นเป็นอันดับหนึ่งคิดเป็นร้อยละ 30 ของรายได้ทั้งหมดของการท่องเที่ยว โดยโรงแรมบูติคที่มีกิจการเพื่อสังคม (Social enterprise) เป็นแนวคิดธุรกิจที่เน้นการแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดของผู้ประกอบการ และกระบวนการพัฒนาโรงแรมบูติคที่มีกิจการเพื่อสังคม โดยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโรงแรมกรณีศึกษา จำนวน 4 แห่ง และผู้เชี่ยวชาญด้านกิจการเพื่อสังคม การท่องเที่ยวและโรงแรม จำนวน 3 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า กรณีศึกษาทั้ง 4 โรงแรม ผู้ประกอบการโรงแรมมีเป้าหมายหลักที่เหมือนกันคือ มีการดูแลสิ่งแวดล้อม และใช้พลังสะอาด โดยเป้าหมายรอง คือ การพัฒนาชุมชน การศึกษา และส่งเสริมวัฒนธรรม ซึ่งแนวคิดการพัฒนาเหล่านี้ ทำให้ธุรกิจโรงแรมดังกล่าว สร้างการพัฒนาชุมชน และสังคมไปพร้อมกัน มีผลประกอบการเหมือนโรงแรมทั่วไปและยังสามารถแก้ปัญหาสังคมที่เป็นเป้าหมายที่ทางโรงแรมตั้งขึ้นซึ่งล้วนเกิดจากวิสัยทัศน์และประสบการณ์ของผู้บริหารเป็นสำคัญ โดยสามารถแบ่งผู้ประกอบการออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. กลุ่มที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ทางด้านสังคม คือ เบิร์ดส์แอนด์บีส์ รีสอร์ทที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความไม่ยั่งยืนต่อสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนที่เป็นมูลนิธิ โดยใช้โรงแรมนี้เพื่อหารายได้สนับสนุนการศึกษาและบ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี ที่เริ่มต้นโดยอาศรมศิลป์ มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาชุมชนและอนุรักษ์อาคาร ควบคู่กับการสร้างประโยชน์แก่ชุมชน โดยการระดมหุ้นเพื่อปรับปรุงบ้านหลวงราชไมตรี พบว่าผู้ประกอบการทั้ง 2 ใช้เวลาก่อนการสร้างโรงแรมมาก เพื่อใช้เรียนรู้ชุมชนและใช้รูปแบบธุรกิจโรงแรมแก้ปัญหาสังคม และมีแหล่งเงินทุนมาจากมูลนิธิและการระดมหุ้นตามลำดับ 2. กลุ่มที่มุ่งเน้นทางด้านธุรกิจโรงแรม ซึ่งเริ่มการแก้ปัญหาสังคมเมื่อโรงแรมประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจ เรื่องการก่อสร้างและการลงทุน จึงเกิดแนวคิดในการแก้ปัญหาสังคมด้านสิ่งแวดล้อมและแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ปัญหาด้านรายจ่ายและด้านกายภาพของโรงแรมดีขึ้น โดยโรงแรมบ้านท้องทรายมีนโยบายการปรับปรุงทีละห้องชุมพรคาบาน่า รีสอร์ทที่ใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยพัฒนาที่ดินบางส่วนเป็นศูนย์เรียนรู้การเกษตร มาแก้ปัญหาสังคม โดยมีแหล่งเงินทุนมากจากสถาบันการเงิน ส่วนด้านการตลาด พบว่าด้านการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมทางการตลาดของโรงแรมที่มีกิจการเพื่อสังคมจะมีช่องทางพิเศษมากกว่า เช่น ได้รับความสนใจจากสื่อ โทรทัศน์ นอกจากนี้ พนักงานมีแนวคิดใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับเป้าหมายวัตถุประสงค์ของโรงแรม และเนื่องจากความชัดเจนของรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคมทำให้ชื่อเสียงของตราสินค้า ซึ่งโรงแรมที่มีกิจการเพื่อสังคมควรมีความยั่งยืนทางการเงิน, กระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นธรรมต่อสังคม, การจัดการผลกำไร โดยมีการจัดสรรงบลงทุนซ้ำเพื่อกิจการในปีถัดไปอย่างน้อยร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ และพบว่าส่วนใหญ่ของกรณีศึกษามีกิจการเพื่อสังคมในรูปแบบสนับสนุนอิสระ คนกลางทางการตลาด รวมถึงการจ้างงานและฝึกทักษะ ผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะว่า โรงแรมที่มีกิจการเพื่อสังคมนั้น ผู้ประกอบการควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนทางสังคมควบคู่กับเป้าหมายด้านธุรกิจ ควรมีการบริหารจัดการโรงแรมที่ดี โดยเน้นคุณภาพสินค้าเพื่อแข่งขันกับธุรกิจทั่วไป และพบว่ากิจการเพื่อสังคมของโรงแรม สามารถส่งเสริมด้านความมีชื่อเสียงของตราสินค้าทำให้มีกลุ่มผู้พักที่มาอบรมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้กิจการเพื่อสังคมบางอย่างมีส่วนช่วยเพิ่มรายได้แก่ชุมชน พนักงาน และโรงแรม นอกจากนี้การรักษาสิ่งแวดล้อมยังสามารถลดรายจ่ายบางส่วนในโรงแรมได้อีกด้วย ในขณะที่ผู้มาพักได้คุณค่าทางจิตใจเนื่องจากค่าพักในโรงแรมส่วนหนึ่งนำไปแก้ปัญหาทางสังคม ซึ่งภาครัฐควรมีการสนับสนุนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน และผู้ประกอบการ |
Other Abstract: | The tourism industry in Thailand has expanded at 19.6 percent and the hotel industry represents the largest part, accounting for 30 percent of the tourism total income. Among these are boutique hotels which are social enterprises that focus their businesses on solving societal and environmental problems. Therefore, this thesis aims to study their concepts and their development processes. In this study, four entrepreneurs from four social enterprise boutique hotels and three experts on social enterprise, tourism and hotels were interviewed. The results show that these four hotels have the same main aims, which include being environmentally friendly and using clean energy. Their secondary aims are to develop their community, education and culture. These aims mainly derive from the visions and experiences of hotel executives. Therefore, they are still be able to be profitable and competitive, as well as trying to solve societal problems. These social enterprise boutique hotels can be classified into 2 groups. The first group includes hotels that focus on social outcomes, which are Birds and Bees Resort and Baan Luang Rajamaitri Historic Inn. Birds and Bees Resort was established with the aim of solving problems of instability with a foundation called the Population and Community Development Association, which uses the hotel’s income for educational support. Baan Luang Rajamaitri Historic Inn was established by the Arsom Silp Institute of Arts, an institute that mobilizes shares to renovate Luang Rajamaitri’s house with the aims of developing the community and conserving the building. It was found that before these two hotels were established, a lot of time was used to learn about the communities, to learn about how to be a social enterprise hotel, to raise funds from foundations and to mobilize shares respectively.The second group includes hotels that firstly focused on their own businesses and started solving societal and environmental problems later when they faced financial problems. These hotels applied the sufficiency economy model, which helps solve problems of expenses and physical conditions. For example, the Tongsai Bay Hotel used a plan to renovate their rooms one by one. In addition, Chumphon Cabana Resort, based on the sufficiency economy model with some money from financial institutions, transformed part of their resort into an agriculture knowledge center in order to help solve problems in their community. In terms of marketing, it was found that these hotels have more special channels to sell their products and promote their business. For example, the hotels get more attention from television programs. Moreover, their employees adhere to these concepts and values and live their life in agreement with the hotels’ goals. Furthermore, as their image of a social enterprise boutique hotel is quite clear, their names have become well known. These hotels have become more sustainable in terms of financial conditions, environmentally friendly processes, social justice and profit management. At least 50 percent of their net profits are used for reinvestment in the next year. Moreover, it was found that most of the social enterprise boutique hotels in this study are independent hotels that have marketing intermediaries, employment, and training. The results suggest that social enterprise boutique hotels should have social aims along with their business aims. Also, they should be well managed by focusing on the quality of their products in order to increase their ability to compete with other hotels. In addition, it was found that being a social enterprise makes these hotels become more famous and have more customers. Moreover, some of their programs and initiatives can help bring income to their local community, their employees and their hotels. Furthermore, the way they protect the environment gives their customers added value and can also help decrease expenses.Therefore, the government should give greater support to these hotels in order to be more advantageous to their hotels and communities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46217 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1096 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1096 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5673323725.pdf | 8.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.