Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46381
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความน่าเชื่อถือของงบการเงิน ทัศนคติต่อความเสี่ยง พฤติกรรมการค้นหาข้อมูลทางการเงินและต้นทุนการกู้ยืม
Other Titles: RELATIONSHIPS AMONG FINANCIAL STATEMENTS’ RELIABILITY, RISK ATTITUDE, FINANCIAL DATA SEARCH BEHAVIOR AND COST OF DEBT
Authors: จตุร์วิทย์ เขียวชะอุ่ม
Advisors: อุทัย ตันละมัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: Uthai.T@Chula.ac.th,uthai@cbs.chula.ac.th
Subjects: รายงานของผู้สอบบัญชี
งบการเงิน
ความเสี่ยง
ความเชื่อถือได้
Auditors' reports
Financial statements
Risk
Reliability
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของความน่าเชื่อถือของงบการเงินและทัศนคติต่อความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อที่มีต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับต้นทุนการกู้ยืมผ่านพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลทางการเงินของบริษัทผู้ขอสินเชื่อ โดยเป็นการวิจัยเชิงทดลองด้วยแผนทดลองแบบ 3x3 สปลิทพล๊อท (Split Plot Design) - ระหว่างหน่วยทดลอง โดยปัจจัยหลัก คือ ทัศนคติต่อความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อ 3 ระดับ ได้แก่ รักหรือชอบความเสี่ยง เป็นกลางต่อความเสี่ยง และรังเกียจหรือไม่ชอบความเสี่ยง ปัจจัยรอง คือ ประเภทของรายงานผู้สอบบัญชี 3 ประเภท ได้แก่ ความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข ความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขแต่เพิ่มวรรคเน้นข้อมูลและเหตุการณ์ และความเห็นอย่างมีเงื่อนไข ส่วนการศึกษาพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลแบ่งเป็น 2 มิติ ได้แก่ ลำดับข้อมูลที่ค้นหาและความเร็วในการค้นหาข้อมูล หน่วยทดลองจำนวน 75 คน เป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อที่ปฏิบัติงานในการอนุมัติสินเชื่อให้กับธุรกิจขนาดกลางในธนาคารพาณิชย์ไทยจำนวน 3 แห่ง แต่เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อที่เป็นกลุ่มที่รักหรือชอบความเสี่ยงเพียง 2 คน จึงปรับเป็นรูปแบบการทดลอง 2x3 สปลิทพล๊อท จากหน่วยทดลองทั้งสิ้น 73 คน ผลการศึกษาไม่พบความแตกต่างของต้นทุนการกู้ยืมระหว่างประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทั้ง 3 ประเภท แต่เมื่อแบ่งประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตใหม่เป็น 2 กลุ่ม ตามความเข้าใจของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อ พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแบบ “ความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข” ได้ให้อัตราดอกเบี้ยส่วนเพิ่มในอัตราที่ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับรายงานแบบอื่น นั่นคือ แบบ“ความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขแต่เพิ่มวรรคเน้นข้อมูลและเหตุการณ์ กับ ความเห็นอย่างมีเงื่อนไข” ผลวิจัยแนะว่าเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่ออาจมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องว่าความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขแต่มีการเพิ่มวรรคเน้นข้อมูลและเหตุการณ์เป็นความเห็นไม่ปกติเช่นเดียวกับความเห็นอย่างมีเงื่อนไข นอกจากนั้นผลการศึกษายังพบว่าทัศนคติต่อความเสี่ยงมีผลกระทบทางตรงต่อการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อ โดยกลุ่มตัวอย่างที่รังเกียจหรือไม่ชอบความเสี่ยงมีการตัดสินใจกำหนดอัตราดอกเบี้ยส่วนเพิ่มในอัตราที่สูงกว่ากลุ่มที่เป็นกลางต่อความเสี่ยง แต่จากการวิเคราะห์ไม่พบผลกระทบร่วมของ 2 ปัจจัยแต่อย่างใด ในส่วนที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการค้นหาข้อมูล ได้ตัดหน่วยทดลองที่มีค่าผิดปกติออก 2 คน คงเหลือหน่วยทดลองในการวิเคราะห์ จำนวน 70 คน ผลการศึกษาพบเพียง“จำนวนครั้งของการพิจารณา” ในมิติของลำดับของข้อมูลที่ค้นหาเท่านั้นที่มีผลกระทบทางตรงต่อการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อ ส่วนผลกระทบทางอ้อมของความน่าเชื่อถือของงบการเงิน (ตามความเข้าใจของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อ) ผ่านพฤติกรรมการค้นหาข้อมูล พบว่ามีผลกระทบทางอ้อมต่อการตัดสินใจผ่านตัวแปร “จำนวนครั้งของการพิจารณา” ในขณะที่การวิเคราะห์ผลกระทบทางอ้อมของทัศนคติต่อความเสี่ยงผ่านพฤติกรรมการค้นหาข้อมูล ไม่พบว่าทัศนคติต่อความเสี่ยงมีผลกระทบทางอ้อมต่อการตัดสินใจแต่อย่างใด การศึกษานี้เป็นงานแรกของประเทศไทยที่ศึกษาถึงพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อ ผู้มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ อีกทั้งยังเป็นกลุ่มผู้ใช้งบการเงินหลักที่สำคัญด้วย
Other Abstract: This research aims to study whether financial statements’ reliability and the risk attitude of credit officers effect the decision on cost of debt via financial data search behavior. This study employs a 3x3 split plot design - between-subjects experiment. The main plot factor is three- level of the risk attitude; including risk lover, risk neutral and risk averse. The sub plot factor is three-type of the auditor’s report; including unqualified, emphasis and qualified auditor opinion. Data search behavior is examined in two dimensions, the order and the speed of search. The participants are 75 credit officers in three Thai commercial banks who deal with the medium enterprises lending process. However, only 2 risk lovers were found, thus, they were excluded. Further analyses are based on 73 participants with a 2x3 split plot experimental design. The results show no significant difference in the cost of debt granted among three types of auditor’s report. However, when auditors’ reports are reclassified into two groups according to the credit officers’ understanding, the interest premium granted from unqualified audit opinion is significantly lower than other audit opinions - emphasis and qualified. The results suggest a misunderstanding on the part of credit officers that unqualifed with emphasis matter opinion are equivalent to qualified opinion. In addition, the results indicate that risk attitude influences the credit officers’ decision on cost of debt of the loan; risk-averse credit officers granted significantly higher interest premium than risk-neutral credit officers. However, no combine effect was found between risk attitude and type of auditors’ report on cost of debt. With respect to financial data search behavior, the two outliers are eliminated, thus further analyses are based on 70 participants. The results show a direct effect of only the number of search (in the order of search dimension) on credit officers’ decisions. This study also finds indirect effects of financial statements’ reliability based on the credit officers’ understanding mediated by the number of search on cost of loan decisions. Surprisingly, no indirrect effect is found from the risk attitude of credit officers as mediated by the number of search on decisions. This is the first study in Thailand that examines the information search behavior of credit officers who can play a significant role in Thai economy and are important group of financial statement users.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: บัญชีดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46381
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1209
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1209
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5283151326.pdf9.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.