Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4668
Title: ผลกระทบของปรากฏการณ์เอ็นโซ ต่อปริมาณฝน อุณหภูมิ และความถี่พายุหมุนเขตร้อนบริเวณพื้นที่ชายฝั่งประเทศไทย
Other Titles: Impacts of ENSO on rainfall, temperature and tropical cyclone frequency in coastal areas of Thailand
Authors: ภูเวียง ประคำมินทร์
Advisors: อัปสรสุดา ศิริพงศ์
ดุษฎี ศุขวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Absornsuda.S@Chula.ac.th, sabsorns@netserv.chula.ac.th
dusadee.suk@kmutt.ac.th
Subjects: ความผันแปรของระบบอากาศบริเวณซีกโลกใต้
เอลนีโญ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปรากฏการณ์เอ็นโซมีผลกระทบต่อทั่วโลก การวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลกระทบต่อปริมาณฝน อุณหภูมิและความถี่พายุหมุนเขตร้อนบริเวณพื้นที่ชายฝั่งประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลปริมาณฝนรายปี อุณหภูมิเฉลี่ยรายปีและพายุหมุนเขตร้อนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1951-1998 จากสถานีตรวจอากาศ จำนวน 26 สถานี ซึ่งรวบรวมโดยกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อหาค่าผิดสภาพ แล้วใช้วิธีการหาความแตกต่างของค่ากลางและวิธีรีเกรชชั่นเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลดังกล่าวกับปรากฏการณ์เอ็นโซ โดยใช้ SOI (Southern Oscillation Index) เป็นตัวแทนปรากฏการณ์ จากการทดสอบหาความสัมพันธ์ด้วยวิธีรีเกรชชั่นพิจารณาว่าจะมีผลกระทบแบบมีนัยสำคัญเมื่อค่า R = 0.6 และพบว่ามีผลกระทบต่ออุณหภูมิในภาคใต้ฝั่งตะวันออกเป็นปริมาณ 8.3% ของจำนวนสถานี บริเวณอื่นไม่มีผลกระทบ สำหรับการหาผลกระทบกับค่าผิดสภาพฝนและการหาผลกระทบต่อความถี่พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่บริเวณพื้นที่ชายฝั่งของประเทศไทยพบว่าไม่มีผลกระทบ นอกจากนี้ในการทดสอบหาความสัมพันธ์โดยวิธีการหาความแตกต่างของค่ากลาง พบว่าไม่มีความแตกต่างของค่ากลางระหว่าง SOI กับอุณหภูมิเป็นจำนวน 96% ของทุกสถานีและไม่มีความแตกต่างของค่ากลางระหว่าง SOI กับค่าผิดสภาพฝนในทุกสถานีที่ศึกษา ส่วนการเปรียบเทียบแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝนรายปีกับ Monsoon Index พบว่าที่กรุงเทพฯ และภาคตะวันออกมีความสอดคล้องกัน 71.4% ภาคใต้ฝั่งตะวันออก สอดคล้องกัน 83% ภาคใต้ฝั่งตะวันตก สอดคล้องกัน 71.4% เฉลี่ยรวม 75.2% ของสถานีที่ศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่าในปีที่เกิดปรากฏการณ์เอลนิโญรุนแรงอุณหภูมิมีแนวโน้มสูงกว่าปกติส่วนปริมาณฝนและความถี่พายุหมุนเขตร้อนมีแนวโน้มน้อยกว่าปกติ
Other Abstract: The data of rainfall, annual average air temperature and numbers of tropical cyclone in the year 1951-1998 from 26 meteorological stations in the coastal areas of southern and eastern parts of Thailand were analyzed by using regression analysis and difference of means methods. The results of regression analysis were as follows: air temperature was changed in the southeastern coastal area, no change in the amount of rainfall and the frequency of tropical cyclone. In addition, the results of difference of means method were as follows: no significant difference between Southern Oscillation Index (SOI) and coastal temperature, neither between SOI and amount of rainfall, for 96% of the stations. The average correlation of annual amount of rainfall and Monsoon Index was 75.2% for the stations in coastal areas of Thailand. The correlation were 71.4% for Bangkok and east coast stations, 83% for southern east coast stations, 71.4% for southern west coast stations. When EI Nino occurred, temperature was significant higher than average value of 30 years, however amount of rainfall and numbers of tropical cyclone were lower than the average
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4668
ISBN: 9743469729
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phuwieng.pdf12.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.