Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46778
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความสำเร็จในการดำเนินงานของโรงเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Other Titles: The development of composite indicators of the success of the operation of sufficiency economy-based schools
Authors: พีรภาว์ บุญเพลิง
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.T@chula.ac.th
Subjects: ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา
โรงเรียน -- การประเมิน
ประสิทธิผลองค์การ
เศรษฐกิจพอเพียง
Educational indicators
Schools -- Evaluation
Organizational effectiveness
Sufficiency economy
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความสำเร็จในการดำเนินงานของโรงเรียนตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสำเร็จในการดำเนินงานของโรงเรียนตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนที่มีการ จัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 104 โรงเรียน โดย กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 16 คน และกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่ม ผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 336 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS 11.5 ใน การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และใช้โปรแกรม LISREL 8.72 ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และองค์ประกอบเชิง ยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ตัวบ่งชี้เดี่ยวทุกตัวเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการดำเนินงาน ของโรงเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวนทั้งหมด 82 ตัว ครอบคลุมองค์ประกอบหลัก 7 ด้าน ได้แก่ ด้านงานวิชาการ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ จำนวน 11 ตัว ด้านงานงบประมาณ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ จำนวน 18 ตัว ด้านงานบุคคล ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ จำนวน 7 ตัว ด้านงานบริหารทั่วไป ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ จำนวน 7 ตัว ด้านการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ จำนวน 14 ตัว ด้านการจัด กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ จำนวน 12 ตัว และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ จำนวน 13 ตัว 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของโมเดลตัวบ่งชี้รวมความสำเร็จในการดำเนินงานของ โรงเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์(χ2=1.439, df=25, p=1.000, GFI=.998 , AGFI=.990, RMR=.006) น้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบย่อยทั้ง 17 ตัว มีค่าเป็น บวก มีขนาดตั้งแต่ .825 - .954 โดยองค์ประกอบย่อยที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ การตรวจสอบรายงานผล การใช้เงินและผลการดำเนินงาน ส่วนค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักความสำเร็จในการดำเนินงานของโรงเรียนตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้ง 7 ด้านนั้น มีค่าเป็นบวก และมีขนาดตั้งแต่ .791 - .946 เรียงลำดับความสำคัญจาก มากไปน้อย ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านงานบริหารทั่วไป ด้านงาน วิชาการ ด้านงานบุคคล ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน และด้านงานงบประมาณ โดยองค์ประกอบในแต่ละ ด้าน มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ .946, .942, .920, .906, .903, .879 และ .791 ตามลำดับและมีความแปรผัน ร่วมกับโมเดลความสำเร็จในการดำเนินงานของโรงเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวม ได้ร้อยละ 89.50, 88.80, 84.70, 82, 81.50, 77.20 และ 62.60 ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of this research were to develop of composite indicators for the success of the operation of Sufficiency Economy-based schools. The samples of this research were 104 schools which instructional management of Sufficiency Economy. The representative for data collection comprised 2 group which were 16 experts and 336 administrators and teachers from Sufficiency Economy-based schools. The research tools were the interview form and questionnaires. Data analyzed by descriptive statistics through SPSS for windows version 11.5, and LISREL 8.72 for confirmatory factor analysis and second order confirmatory factor analysis. The research results were as follows: 1) The results confirmatory factor analysis were found the composite indicators for the success of the operation of Sufficiency Economy-based schools was fit to the empirical data consisted of 7 factors and 82 indicators significant at .01 level. The 7 factor consisted of 11 indicators of academic work, 18 indicators of personal, 7 indicators of budgeting, 7 indicators of general administration, 14 indicators of teaching and learning management, 12 indicators of student development activities and 13 indicators of student’s characteristic. 2) The results of second order confirmatory factor analysis of the model for the success of the operation of Sufficiency Economy-based schools were found the model was fit to the empirical data (χ2=1.439, df=25, p=1.000, GFI=.998, AGFI=.990, RMR=.006), factor loadings of 17 sub-factors were positive, their sizes were from .825 - .954. The highest factor loadings sub-factors were monitor and report of disbursement and performance. Factor loadings of the success of the operation of Sufficiency Economy-base schools were positive, their sizes were from .791 - .946. The highest factor loading factors were student development activities, teaching and learning management, general administration, academic work, personal, student’s characteristic and budgeting which have factor loading values were .946, .942, .920, .906, .903, .879 and .791respectively. The model accounted for 89.50%, 88.80%, 84.70%, 82%, 81.50%, 77.20% and 62.60% respectively of composite indicators for the success of the operation of Sufficiency Economy-based schools.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46778
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.873
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.873
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pheerapa_Bo.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.