Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46891
Title: ความต้องการและการใช้ข้อสนเทศของคณาจารย์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
Other Titles: Information needs and uses of faculty members, King Mongkut's Institute of Technology, Chaokhuntaharn Ladkrabang Campus
Authors: สุรีย์ บุหงามงคล
Advisors: ประภาวดี สืบสนธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: อาจารย์มหาวิทยาลัย
หนังสือและการอ่าน
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สามประการคือ ประการแรก เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ความแตกต่าง เฉพาะบุคคลของคณาจารย์กับความต้องการและการใช้ข้อสน เทศ ประการที่สองเพื่อ ศึกษาวัตถุประสงค์ของการใช้ข้อสนเทศและการนำข้อสน เทศไปใช้ และประการที่สาม เพื่อศึกษาความ ต้องการข้อสนเทศเกี่ยวกับสาขาวิชา รูปแบบ ภาษา ความทันสมัย ตลอดจนขอบเขตและลักษณะของ ข้อสน เทศ ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามให้แก'คณาจารย์สถาบันเทคโนโลยีพระจอม- เกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง จานวน 272 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืน 206 ชุด คิดเป็นร้อยละ 75.7 ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามได้นำมาวิ เคราะห์ตามแนว เหตุผลที่ตั้งไว้สองประการ ประการแรกคือ ความแตกต่าง เฉพาะบุคคลและวัตถุประสงค์ของการใช้ข้อสน เทศมีความสัมพันธ์กับ ความต้องการและการใช้ข้อสน เทศ ประการที่สองคือ ความต้องการและการใช้ข้อสน เทศของคณาจารย์ จะแตกต่างไปตามลลักษณะ เฉพาะบุคคลและวัตถุประสงค์ของการใช้ข้อสน เทศ จากการวิ เคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า เฉลี่ย ค่า เบี่ยง เบนมาตรฐาน ค่าไค-สแควร์ ค่าร้อยละ และการแจกแจงความถี่ ผลการวิจัยตามแนว เหตุผลแรกปรากฏว่าไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะ เฉพาะบุคคลด้านคณะที่สังกัดกับความต้องการใช้ข้อสน เทศในด้านรูปแบบ ภาษา และความทันสมัยของ ข้อสนเทศกล่าวคือ คณาจารย์ทั้งสี่คณะต้องการใช้ข้อสน เทศในรูปแบบหนังสือตารา วารสารวิชาการและรายงานทางวิชาการ มาก เป็นสามอันดับแรก เหมือนกัน ภาษาของข้อสน เทศที่คณาจารย์ทุกคณะต้องการใช้มากเหมือนกันคือ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับความมันสมัยของข้อสนเทศนั้นคณาจารย์ต้องการใช้ข้อสนเทศปีใหม่ล่าสุดถึงห้าปีที่ผ่านมา นอกจากนี้จากการวิจัยปรากฏว่ามีความ สัมพันธ์ระหว่างคณะที่สังกัดกับการใช้แหล่งข้อสน เทศ โดยพบว่าคณาจารย์สังกัดคณะใด ต่างก็นิยมใช้ ห้องสมุดคณะของตน เองมากกว่าแหล่งอื่น ๆ เที่ยวกับลักษณะ เฉพาะบุคคลด้านตำแหน่งทางวิชาการ และประ เทศที่จบการศึกษา กับความต้องการใช้ข้อสน เทศนั้นปรากฏว่าไม่พบความสัมพันธ์ กล่าวคือ ผู้ที่มืตาแหน1งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ ต้องการใช้ข้อสนเทศ ในรูปแบบหนังสือตารา วารสารวิชาการ และรายงานทางวิชาการ มากเป็นสามอันดับแรก เหมือนกัน สำหรับคณาจารย์ที่จบการศึกษาจากในประ เทศและต่างประ เทศ ต่างก็ต้องการใช้ ช้อสน เทศภาษาอังกฤษ และภาษาไทยมากกว่าภาษา อื่น ดังนั้นจึงมีแต่คณะที่คณาจารย์สิ่งกัดที่ แสดง ความสิมพ้นธ์กับแหล่งข้อสนเทศที่คณาจารย์นิยมใช้ สำหรับผลการวิจัยตามแนว เหตุผลที่สอง พบความแตกต่างระหว่างภาควิชาที่สิงกัดกับ สาขาวิชาที่ต้องการใช้ กล่าวคือ คณาจารย์ภาควิชาใดก็ตาม มีความต้องการและใช้ข้อสนเทศสาขา ย่อยภายในภาควิขาที่สิงกัดนั้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการสอนและการทางานวิชาการ นอกจากนี้ยังพบ ความแตกต่างระหว่างความต้องการใช้ข้อสน เทศในด้านรูปแบบ และภาษาของข้อสน เทศกับวัตถุประสงค์ ของการใช้ข้อสนเทศ แต่ไม่พบความแตกด่างระหว่างความต้องการใช้ข้อสนเทศที่มความทันสมัย ขอบเขตและลักษณะต่าง ๆ ของข้อสนเทศกับวัตถุประสงค์ของการใช้ข้อสนเทศ กล่าวคือคณาจารย์ ต้องการใช้หนังสือตำราเรามากกว่าวารสารวิชาการ เพื่อการสอน การพัฒนา/ประดิษฐ์ และการ เขียน- ตำรา/บทความวิชาการ แต่ต้องการใช้วารสารวิชาการมากกว่าหนังสือตำรา ในวัตถุประสงค์ด้าน การวิจัย เกี่ยวกับความต้องการใช้ข้อสนเทศภาษาต่าง ๆ พบว่า คณาจารย์ต้องการใช้ข้อสนเทศ ภาษาไทยมากกว่าภาษาอังกฤษ ในวัตถุประสงค์ด้านการสอนและการ เขียนตำรา/บทความวิชาการ แต่ต้องการใช้ข้อสนเทศภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาไทย เพื่อการวิจัยและการ พัฒนา/ประดิษฐ์ สำหรับ ความต้องการใช้ข้อสนเทศที่มีความทันสมัย ขอบเขตและลักษณะของข้อสนเทศที่ต่างกันนั้น ปรากฏว่า ไม่พบความแตกต่างในแต่ละวัตถุประสงค์ กล่าวคือคณาจารย์มีความต้องการข้อสน เทศปีใหม่ล่าสุดถีง- ห้าปีที่ผ่านมา โดยต้องการใข้เอกสารที่เสนอเนี้อห้าครบถ้วนและให้ข้อมูลถูกต้อง เอกสารที่มีราย- ละเอียดครบถ้วน แนะเอกสารที่เนื้อหาแคบ/เฉพาะ และนาเสนอเรื่องใด เรื่องหนึ่งในระดับมาก ในทุกวัตถุประสงค์ เกี่ยวกับการใช้แหล่งข้อสน เทศนั้นพบว่า มีความแตกด่างระหว่างความพอใจ ในการใช้แหล่งข้อสนเทศของคณาจารย์ จำแนกตามคณะที่สิงกัด กล่าวคือคณาจารย์ที่สิงกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสภา'ปัตยกรรมศาสตร์ พอใจในการใช้ห้องสมุดคณะที่สังกัดในระดับมาก ในขณะที่คณาจารย์คณะ เทคโนโลยีการ เกษตรและคณะครูศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ มีความพอใจในการใช้ห้องสมุดคณะที่สังกัดในระดับค่อนข้างมาก ผลการวิจัยที่พบ สามารถนำมา เป็นประโยชน์ในการพิจารณาจัดให้บริการสน เทศของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ดังได้เสนอแนะไว้ในบทอภิปราย สรุปผลการวิจัยและข้อ เสนอแนะในการวิจัย
Other Abstract: The aims of this study are as the following ะ firstly, to study the relation between the individual differences of the faculty members and their information needs and uses; secondly, to investigate their objectives in information use and their actual use; and finally to find out their information needs in terms of the needed subject area, format, language, up-to-dateness, as well as its other characteristics. In order to obtain the data, 272 questionaires were distributed to the King Mongkut's Institute of Technology's (Chaokhuntaharn Ladkrabang Campus) faculty members, of which 206 or 7 5.7 percent were returned. The obtained data were analyzed according to two hypotheses. They are: the individual differences are related to the objectives of information uses and needs; information needs and uses differ according to individual characters and the objectives of information use. Based on the data analysis through the mean, standard deviation, chi-square, percentage and frequency, the findings for each hypothesis are summarized as follow:For the first hypothesis, the faculty which the faculty members belong to is not correlated with their needs of information, in terms of its format, language, and up-to-dateness. The respondents from four faculties primarily need textbooks, technical journals, and technical reports preferably in Thai and English language, and not later than the past five years. Besides, the correlation is found between the information sources used and the faculty belonged. As it is shown that whatever the belonged faculty is, the faculty members mostly prefer to use their faculty1ร library than other information sources. Meanwhile, the academic rank and countries of graduation do not show any correlation with the format of information needed. The instructors, assistant professors, associated professors, and professors demand to use textbooks, technical journals, and technical reports as the top three formats in need, whether or not graduated within the country, most of the faculty members preferably need information presented in Both Thai and English rather than in other languages. Therefore, the conclusion can be made that the correlation is only found between the faculty that the respondents belongs and the information source they presumably prefer to use. As for the second hypothesis, some differences in information needs are uncovered. As it is found that the subject areas needed coincide with the faculty or department they belong. For the purpose of teaching and other academic activites, the faculty members in each department need and use various branches of subjects that are normally taught under the department. This means that the information needed varies according to the department that the respondents are being the member of. Also, there are some differences in the information format and language needed according to their objectives of use. Meanwhile, no difference is found between the up-to-dateness, other characteristics of information needed data the purposes of use. That is, the faculty members obviously prefer textbooks to technical journals for the purposes of instruction, development/invention, and paper writing, whereas, they likely prefer technical journals to textbooks for the purpose of doing the research. For the language in need, it is found that information in Thai is more in demand than English, especially for the purposes of instruction and paper writing, whereas, for the purposes of research, development/ invention, information in English is more preferable. For the up-to- dateness of information and information characteristics, their needs for each purposive use do not vary. That is, the faculty members need information before the last five years. Also they need complete and accurate information, information in the narrow particular topics presented in full context, and with accuracy for every purposes. For the use of information sources, it is found that their satisfaction vary. The lecturers from the Faculty of Engineering and Faculty of Architecture are mostly satisfied with their own library at the high level, whereas, the Faculty of Agricultural Technology and Faculty of Industrial Education and Science's faculty members are fairly highly satisfied by their faculty library. The findings from this study can be further implemented to the design of the effective information services at King Mongkut's Institute of Technology, chaokhuntaharn Ladkrabang Campus as the recommendations given in the conclusion chapter.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46891
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suree_bu_front.pdf5.9 MBAdobe PDFView/Open
Suree_bu_ch1.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open
Suree_bu_ch2.pdf9.59 MBAdobe PDFView/Open
Suree_bu_ch3.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open
Suree_bu_ch4.pdf13.71 MBAdobe PDFView/Open
Suree_bu_ch5.pdf9.77 MBAdobe PDFView/Open
Suree_bu_back.pdf12.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.