Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46900
Title: ผลของการพัฒนาการฟื้นพลังต่อปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง
Other Titles: EFFECT OF RESILIENCE DEVELOPMENT ON RELATED PSYCHOLOGICAL CONSTRUCTS
Authors: นลพรรณ ส่งเสริม
วรัญญา ศิลาหม่อม
สรสิช โภคทรัพย์
Advisors: กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ, ที่ปรึกษา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: kullaya.d@chula.ac.th
Subjects: ความสามารถในการฟื้นพลัง
ความหวัง
Resilience (Personality trait)
Hope
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการทดลองเพิ่มการฟื้นพลังที่มีต่อการเกิดการฟื้นพลัง ความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ และความหวัง กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มคือ 1. กลุ่มที่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาการฟื้นพลัง 30 คน (กลุ่มทดลอง) 2. กลุ่มที่ไม่ได้รับข้อมูล 30 คน (กลุ่มควบคุม) ใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้าเงื่อนไขการทดลองตามตามแต่ผู้ร่วมการทดลองสะดวกในการร่วมการทดลอง ในระยะการทดลอง กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาการฟื้นพลังผ่านแผ่นพับที่มีข้อมูลและเทคนิควิธีในการฟื้นพลัง โดยกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับข้อมูลใดๆ ทั้งนี้ ก่อนและหลังการทดลอง คณะผู้วิจัยทำการวัดระดับของการฟื้นพลัง ความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ และความหวัง เพื่อทดสอบว่าการทดลองก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการฟื้นพลัง ความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ และความหวังหรือไม่ โดยใช้สถิติวิเคราะห์ทดสอบความแปรปรวนพหุคูณ (MANOVA) ในการศึกษาความเปลี่ยนแปลงนี้ ผลการวิจัยพบว่า 1. สำหรับตัวแปรตามการฟื้นพลัง มีเพียงกลุ่มที่ได้รับข้อมูลการพัฒนาการฟื้นพลังที่มีระดับการฟื้นพลังเพิ่มขึ้นแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. สำหรับตัวแปรตามความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ ทั้งกลุ่มที่ได้รับข้อมูลการพัฒนาการฟื้นพลังและไม่ได้รับข้อมูลมีระดับการฟื้นพลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. สำหรับตัวแปรตามความหวังมีเพียงกลุ่มที่ได้รับข้อมูลการพัฒนาการฟื้นพลังที่มีระดับ ความหวังเพิ่มขึ้นแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purpose of this research study was to examine the result of resilience development on resilience gratitude and hope. Participants were 60 undergraduates from a large public university in Bangkok. The participants were randomly assigned into 2 groups; one group was the experimental group which received the information and techniques of resilience development. The other group was the control group. Pre- and post- test on the three dependent variables were conducted prior to and after the group participation. Results showed these positive relationships. 1. Findings indicated that: For resilience, participants who received the information and techniques of resilience development obtained significantly higher score on measure of resilience than the control group. 2. For gratitude, both experimental group and control group obtained significantly higher score on measure of gratitude. 3. For hope, participants who received the information and techniques of resilience development obtained significantly higher score on measure of hope than the control group.
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557
A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2014
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46900
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1380
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1380
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nonlapun_so.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.