Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47213
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุมิตรา อังวัฒนกุล-
dc.contributor.advisorทวีวัฒน์ ปิตยานนท์-
dc.contributor.authorวัฒนาพร ระงับทุกข์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-02-28T11:02:26Z-
dc.date.available2016-02-28T11:02:26Z-
dc.date.issued2536-
dc.identifier.isbn9745827398-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47213-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเปรียบเทียบประสิทธิผลของรูปแบบการฝึกยุทธศาสตร์การเรียนรู้เมตาคอนนิชันในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแบบโดยตรงกับแบบสอดแทรกในเนื้อหาการสอน วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็นสองขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการพัฒนารูปแบบการฝึกและเอกสารการฝึกและเอกสารประกอบการฝึกทั้งสองรูปแบบ ขั้นตอนที่สองเป็นการเปรียบเทียบประสิทธิผลของรูปแบบทั้งสอง ผลการวิจัยได้รูปแบบการฝึกยุทธศาสตร์การเรียนรู้เมตาคอนนิชันในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสองรูปแบบ คือ รูปแบบการฝึกยุทธศาสตร์ฯ แบบโดยตรง และรูปแบบการฝึกยุทธศาสตร์ฯ แบบสอดแทรกในเนื้อหาการสอน โดยทั้งสองรูปแบบต่างก็มุ่งฝึกยุทะศาสตร์การเรียนรู้เมตาคอนนิชันในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่สำคัญสามยุทธศาสตร์ คือ การวางแผนการอ่าน การควบคุมและตรวจสอบการอ่าน และการประเมินผลการอ่าน การเปรียบเทียบประสิทธิผลของรูปแบบทั้งสอง ดำเนินการโดยนำรูปแบบทั้งสองไปฝึกจริงกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ห้า จำนวนสองกลุ่ม โดยกลุ่มที่หนึ่งประกอบด้วยนักเรียน 42 คน และกลุ่มที่สองจำนวน 40 คน นักเรียนทั้งสองกลุ่มมีความตระหนักรู้ในยุทธศาสตร์การเรียนรู้เมตาคอนนิชันในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนการฝึกเท่ากัน และมีความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนการฝึกไม่แตกต่างกัน ฝึกนักเรียนกลุ่มที่หนึ่งด้วยรูปแบบการฝึกยุทธศาสตร์ฯ แบบโดยตรงส่วนกลุ่มที่สองฝึกด้วยรูปแบบการฝึกยุทธศาสตร์ฯ แบบสอดแทรกในเนื้อหาการสอน ผลการฝึก พบว่า นักเรียนทั้งสองกลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยด้านความตระหนักรู้ในยุทธศาสตร์การเรียนรู้เมตาคอนนิชันในการอ่าน และด้านความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษหลังการฝึกสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทั้งสามเกณฑ์ คือ 1) มีคะแนนเฉลี่ยทั้งสองด้านหลักการฝึกเพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนการฝึกอย่างน้อยร้อยละ 15 ของคะแนนเต็ม 2) มีคะแนนเฉลี่ยทั้งสองด้านหลังการฝึกอย่างน้อยร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม และ 3) มีคะแนนเฉลี่ยทั้งสองด้านหลังการฝึกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ยังพบว่า นักเรียนทั้งสองกลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยด้านความตระหนักรู้ในยุทธศาสตร์การเรียนรู้เมตาคอคนิชันในการอ่านหลังการฝึกไม่แตกต่างกัน ขณะที่คะแนนเฉลี่ยด้านความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษหลังการฝึกของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01ซึ่งแสดงว่า คะแนนของประชากรที่ฝึกด้วยรูปแบบการฝึกยุทธศาสตร์การเรียนรู้เมตาคอคนิชันในการอ่านแบบโดยตรงสูงกว่าคะแนนของประชากรที่ฝึกด้วยรูปแบบการฝึกยุทธศาสตร์การเรียนรู้เมตาคอนนิชันในการอ่านแบบสอดแทรกในเนื้อหาการสอนen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to develop and compare the effectiveness of Direct and Embedded Metacognitive Learning Strategy Training Models in English Reading Comprehension for upper secondary School Students. The first step of the research procedure was to develop the training models and the second one was to compare their effectivenmess. The results of the study derived two metacognitive learning strategy training models, direct and embedded, which both aimed to train students three important metacognitive leaning strategies in English reading comprehension, planning, monitoring and self-evaluation. In comparing their effectiveness, both models were complemented to train two groups of mathayom suksa five students, 42 students in the first group and 40 students in the second one. The metacognitive learning strategy in English reading comprehension awareness mean score before training of both groups were equal and the English reading comprehension mean score before training of both groups were not significantly different. After training, it was found that the metacognitive learning strategy in English reading comprehension awareness and the English reading comprehension mean scores of both groups were higher than the three criteria being set which were 1) both mean scores after training were higher than those before training at least 15 percent by the full score 2) both mean score after training were at last 60 percent by the score and 3) both mean score after training were significantly higher than those before training. Besides, the metacognitive learning strategy in English reading comprehension awareness mean score of both groups were not significantly different while the English reading comprehension mean score of both groups were different at the .01 statistical level which indicated that the scores of the population trained by the direct model were higher than those of the population trained by the embedded model.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความเข้าใจในการอ่านen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.subjectReading comprehensionen_US
dc.subjectEnglish language -- Study and teaching (Secondary)en_US
dc.titleการเปรียบเทียบประสิทธิผลของรูปแบบการฝึกยุทธศาสตร์การเรียนรู้เมตาคอคนิชันในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแบบโดยตรง กับแบบสอดแทรกในเนื้อหาการสอนen_US
dc.title.alternativeA comparison of the effectiveness of direct and embedded metacognitive learning strategy strategy training models in english reading comprehension for upper secondary school studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watanaporn_ra_front.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Watanaporn_ra_ch1.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open
Watanaporn_ra_ch2.pdf8.83 MBAdobe PDFView/Open
Watanaporn_ra_ch3.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open
Watanaporn_ra_ch4.pdf6.91 MBAdobe PDFView/Open
Watanaporn_ra_ch5.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open
Watanaporn_ra_back.pdf39.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.