Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47414
Title: การศึกษาพฤติกรรมผู้นำตามสถานการณ์ของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย ในหน่วยงานของสภากาชาดไทย
Other Titles: A study of situational leadership behavior of head nurses in Thai Red Cross Society
Authors: วาสนา นารักษ์
Email: ไม่มีข้อมูล
Advisors: พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: พยาบาล
การพยาบาล
ผู้นำ
Nurses
Nursing
Leadership
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้นำตามสถานการณ์ของพยาบาลหัวหน้าผู้ป่วยในหน่วยงานสภากาชาดไทย โดยจำแนกตามอายุ และประสบการณ์ในการเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยในหน่วยงานสภากาชาดไทยกับวุฒิภาวะของผู้ใต้บังคับบัญชาที่สอดคล้องกับสถานการณ์พฤติกรรมผู้นำ ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานของสภากาชาดไทย จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยการนำไปหาความตรงตามเนื้อหากับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่าน หาค่าความเที่ยวของแบบสอบถามในส่วนที่เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำตามสถานการณ์ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coeffecient of Alpha) ได้ค่าความเที่ยง ในส่วนพฤติกรรมผู้นำที่สอดคล้องกับสถานการณ์เท่ากับ 0.76 ในส่วนวุฒิภาวะผู้ใต้บังคับบัญชาที่สอดคล้องกับสถานการณ์พฤตกรรมผู้นำ เท่ากับ 0.89 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาอัตราส่วนร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีและวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมผู้นำตามสถานการณ์ของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยในหน่วยงานของสภากาชาดไทยอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งโดยส่วนรวม และเป็นรายด้าน 2. พยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยที่มีอายุต่างกันและประสบการณ์ในการเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยต่างกัน มีพฤติกรรมผู้นำในแต่ละด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. พฤติกรรมผู้นำรวมทุกด้านของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับวุฒิภาวะของผู้ใต้บังคับบัญชาที่สอดคล้องกับสถานการณ์พฤติกรรมผู้นำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่า พฤติกรรมผู้นำที่มุ่งการเปลี่ยนแปลงของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับวุฒิภาวะของผู้ใต้บังคับบัญชาที่สอดคล้องกับสถานการณ์พฤติกรรมผู้นำ ส่วนพฤติกรรมผู้นำด้านมุ่งการใช้อำนาจด้านมุ่งการควบคุม ด้านมุ่งปัญหา ด้านมุ่งการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับวุฒิภาวะของผู้ใต้บังคับบัญชาที่สอดคล้องกับสถานการณ์พฤติกรรมผู้นำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purposes of this research were to study a situational leadership behavior of the head nurses of Thai Red Cross Society as classified by age groups and work experiences and to study the correlation between the situational leadership behavior of head nurses and the maturity of the subordinates. The study samples were 70 head nurses working in the hospital wards and health centers under auspices of the Thai Red Cross Society. The research instrument used for collecting data was the questionnaire constructed by the researcher which composed of twenty situations. The instrument's content validity has been tested by 7 experts. The Alpha-Coefficient was used to compute the reliability values of two parts of the questionnaire, the situational leadership behavior and the maturity of the subordinates, which were 0.76 and 0.89 consecutively. The statlstical treatments included percentages, arithematic means, standard deviations, t-test and Pearson's Produet Moment Correlation Coefficient. The conclusions drawn from the data analysis were as follows : 1. The situational leadership behavior of head nurses in the Red Cross Society were at the middle level in both the total score and the score in each eategory. 2. There were no statistically significant differences at the 0.5 level between the situational leadership behavior of head nurses as classified by two groups of age and two groups of working experience. 3. There was a significant positive relationship at the 0.1 level between situational leadership behavior of head nurses and maturity of the subordinates. Considering on each category of the leadership behavior a significant positive relationship at the 0.5 level was found between leadership behavior focusing on change and maturity of the subordinates. The other four categories ; focusing on power, control, problem and transactional analysis were no significant relationship at the 0.1 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47414
ISBN: 9745668273
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wasana_na_front.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Wasana_na_ch1.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Wasana_na_ch2.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open
Wasana_na_ch3.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Wasana_na_ch4.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
Wasana_na_ch5.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open
Wasana_na_back.pdf4.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.