Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47497
Title: สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษา ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: State and problems of the organization of sex education instruction according to the lower secondary education curriculum of schools in the expansion of Basic Education Opportunity Project under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration
Authors: สัญญา เรืองถาวรกุล
Advisors: สำลี ทองธิว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เพศศึกษา -- ไทย
เพศศึกษาสำหรับวัยรุ่น
การวางแผนหลักสูตร
กิจกรรมการเรียนการสอน
การศึกษาขั้นมัธยม -- ไทย -- หลักสูตร
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอน เพศศึกษาตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านการใช้หลักสูตร เนื้อหาวิชา ครูผู้สอน กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูผู้สอนจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามหลักสูตร ใช้วิธีสอนหลายอย่างผสมผสานกัน แต่มีปัญหาในการสอนบางเรื่องเนื่องจากไม่กล้าสอน ได้แก่ การสืบพันธุ์ ความผิดปกติทางเพศ และความสัมพันธ์ระหว่างเพศ 2. ครูผู้สอนใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนสอดคล้องกับเนื้อหา ได้แก่ รูปภาพ หนังสือเรียน วีดิทัศน์ และสไลด์ แต่สื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่มักจะไม่ทันสมัยและขาดแคลน 3. ครูผู้สอนวัดและประเมินผลครอบคลุมเนื้อหาที่สอนเป็นระยะ ๆ โดยการทดสอบ และสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน เพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงการเรียนการสอน 4. การนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเพศศึกษาในหนังสือเรียน และหนังสืออ่านเพิ่มเติมส่วนใหญ่จะเป็นร้อยแก้ว ด้านสาระความรู้ และมีภาพประกอบ 5. เนื้อหาเกี่ยวกับเพศศึกษาในหนังสือเรียนส่วนใหญ่จะเน้นด้านชีววิทยาเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ด้านจิตวิทยาเรื่องการปรับตัวทางเพศ และด้านสังคมวิทยาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ส่วนหนังสืออ่านเพิ่มเติมจะเน้นด้านชีววิทยาเรื่องการตั้งครรภ์และการคลอด
Other Abstract: The aim of this research was to study the state and problems of the organization of sex education instruction in schools under the Basic Education Opportunity Expansion Project. The objective were to study the organization of sex education in 6 aspects : curriculum implementation, contents, teachers, instructional activities, instructional media and types of evaluation. The results obtained were as the following. 1. the teachers perform red according to the curriculum, used a mixture of several methods of teaching, however they had some restraint in some content areas, such as reproduction, sexual deviance and sexual relationship. 2. The teachers used instructional media correlated with the content, such as graphics, textbooks, video tapes and slides. However, out-dated and scarce resources were the problem. 3. The teachers made periodic assessment which covered the subject taught by using examination and behavioral observation. 4. Presentation of the subjects in both main and supplementary textbooks was primarily in informational essays with illustrations. 5. Concerning subjects in sex education textbook, most of subjects on biology stressed bodily change during puberty. Subjects on psychology stressed sexual adjustment during puberty, while subjects on sociology gave emphasis on relationship between male and female. Concerning subjects in supplementary textbooks, most subjects on biology stressed pregnancy and child delivery.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47497
ISBN: 9746345508
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sanya_ru_front.pdf5.29 MBAdobe PDFView/Open
Sanya_ru_ch1.pdf8.12 MBAdobe PDFView/Open
Sanya_ru_ch2.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open
Sanya_ru_ch3.pdf5.28 MBAdobe PDFView/Open
Sanya_ru_ch4.pdf8.21 MBAdobe PDFView/Open
Sanya_ru_ch5.pdf9.87 MBAdobe PDFView/Open
Sanya_ru_back.pdf8.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.