Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47545
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์-
dc.contributor.authorวัลภา สบายยิ่ง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-04-22T09:15:05Z-
dc.date.available2016-04-22T09:15:05Z-
dc.date.issued2534-
dc.identifier.isbn9745791024-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47545-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสำรวจความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรม เกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเอง ของวัยรุ่นติดสิ่งเสพติดชนิดร้ายแรงในสถานบำบัดรักษากรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมตามตัวแปรอิสระ 5 ตัวแปรได้แก่ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ติดยาเสพติด ระยะเวลาที่บำบัดรักษา อาชีพหลักของครอบครัว และจำนวนครั้งที่บำบัดรักษา กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นติดเฮโรอีน อายุระหว่าง 13-21 ปี ที่มารับการบำบัดรักษาในศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดของกรุงเทพมหานคร จำนวน 180 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้พัฒนาขึ้นตามแนวทฤษฎีเจตคติของฟิชไบน์ สถิติที่ใช้คือ ค่า (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีของเซฟเฟ (Scheffe') ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมต่อตนเองที่กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความรู้ความเข้าใจว่าเป็นพฤติกรรมที่ดี ถูกและควรอย่างมาก เป็นจำนวน 3 พฤติกรรม ได้แก่ การมีความขยันหมั่นเพียร การมีวินัยในตนเอง และการตั้งมาตรฐานของตนเอง ส่วนพฤติกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความรู้ความเข้าใจว่า เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี ผิดและไม่ควรอย่างมากคือ การลุ่มหลงอบายมุข สำหรับการลงโทษตนเองและการให้คุณค่าแก่ตนเองเป็นพฤติกรรมที่กลุ่มตัวอย่างไม่สามารถตัดสินได้ว่าดีหรือไม่ดี ถูกหรือผิดควรหรือไม่ควร 2. ตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัวแปร ได้แก่ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ติดยาเสพติด ระยะเวลาที่เข้ารับการบำบัดรักษา อาชีพหลักของครอบครัว และจำนวนครั้งที่เข้ารับการรักษา มีนัยสำคัญต่อความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเองของกลุ่มตัวอย่าง ในระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <.05 หรือต่ำกว่า) โดยที่ระดับการศึกษาเป็นตัวแปรที่มีนัยสำคัญต่อความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมของกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด รองลงมาเป็นระยะเวลาที่ติดยาเสพติด ระยะเวลาที่เข้ารับการบำบัดรักษาและจำนวนครั้งที่เข้ารักการบำบัดรักษา ส่วนอาชีพหลักของครอบครัวเป็นตัวแปรที่มีนัยสำคัญต่อความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมน้อยที่สุดen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to investigate a moral cognition concerning self-directed behaviors of severe drug user adolescents who are currently treated in Narcotic Clinics Bangkok Metropolis. Five variables including educational level, addiction duration, duration of treatment in clinics, family's occupation and frequency of medical treatment were used as independent variables. The subjects were drawn by simple random sampling technique of 180 severe drug user adolescents from Narcotic Clinics, Bangkok Metropolis. The instrument for collecting data was moral cognition scale : self-directed behaviors developed from Fishbein's theory. The procedures of data analysis were the t-test, one-way analysis of variance and Scheffe' multiple comparisons method. The results are as follows : 1. The self-directed behaviors which are rated by the subjects as very good and proper were diligent, self-discipline, setting standards for oneself. The self-directed behavior which is rated by the subjects as very bad and improper is vice addiction. Self-punishment and Self-esteem were behaviors on which no agreement on what is right or wrong. 2. The five independent variables significantly affected moral cognition concerning self-directed behaviors (P<.05 or lower). The variables which showed the highest degree of significance are educational level, addiction duration, duration of treatment in clinics, the frequency of medical treatment. The variable which was least significant was family's occupation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคนติดยาเสพติดen_US
dc.subjectการติดยาเสพติด -- การรักษาen_US
dc.subjectDrug addicts-
dc.subjectDrug addiction -- Treatment-
dc.titleความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเอง ของวัยรุ่นติดสิ่งเสพติดชนิดร้ายแรงที่เข้ารับการบำบัดรักษา ในสถานบำบัดรักษากรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeMoral cognition concerning self-directed behaviors of severe drug user adolescents in narcotic clinics, Bangkok metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wunlapa_sa_front.pdf996.65 kBAdobe PDFView/Open
Wunlapa_sa_ch1.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open
Wunlapa_sa_ch2.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Wunlapa_sa_ch3.pdf6.38 MBAdobe PDFView/Open
Wunlapa_sa_ch4.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Wunlapa_sa_ch5.pdf647.97 kBAdobe PDFView/Open
Wunlapa_sa_back.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.