Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47813
Title: บทบาทของบิดาต่อการเลี้ยงดูทารกตามการรับรู้ของตนเอง
Other Titles: Paternal roles in rearing infant as perceived by the fathers themselves
Authors: สำเนียง แย้มสอาด
Advisors: ประนอม โอทกานนท์
ประนอม รอดคำดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: บิดา
เด็ก -- การบริบาลและสุขวิทยา
society
age groups
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของบิดาต่อการเลี้ยงลูกทารกตามการรับรู้ของตนเอง โดยคำนึงถึงตัวแปร ลักษณะของครอบครัว อายุ ระดับการศึกษา และลำดับที่การเกิดของบุตร ตัวอย่างประชากรเป็นบิดาที่นำบุตรมาตรวจสุขภาพในคลินิกสุขภาพเด็กดี ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขของสำนักอนามัย อนามัยกรุงเทพมหานคร 4 แห่ง จำนวน 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์การรับรู้บทบาทของบิดาต่อการเลี้ยงดูทารกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า ร้อยละ ทดสอบค่าที ( t-test) ค่าเอฟ (F - test) และ เซฟเฟ่ (S - Method) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้บทบาทเป็นรายข้อและรายด้าน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเข้าใจและยอมรับว่าเป็นบทบาทที่ควรปฏิบัติเป็นประจำ 2. เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยโดยส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างบิดา จำแนกตามลักษณะครอบครัว และอายุพบว่า บิดารับรู้บทบาทของตัวเองต่อการเลี้ยงดูทารกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ โดยกลุ่มตัวอย่างบิดาจากครอบครัวขยาย มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างบิดาจากครอบครัวเดี่ยว และกลุ่มตัวอย่างบิดาอายุสูงกว่า 30 ปี มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างบิดาอายุต่ำกว่า 30 ปี ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ จำแนกตามลำดับที่การเกิดของบุตร พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนการทดสอบการรับรู้บทบาทของกลุ่มตัวอย่างบิดาจำแนกตามระดับการศึกษาคือ ประถมศึกษากับมัธยมศึกษา และประถมศึกษากับอุดมศึกษา พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างบิดาที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้บทบาทน้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างบิดาที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา 3. เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้บทบาทรายด้าน 3.1 จำแนกตามลักษณะครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ใน 3 ด้าน คือ "ด้านการเป็นผู้ให้สิ่งของเครื่องใช้และของเล่น" "ด้านการเป็นผู้ปกครองคุ้มครองอันตรายต่างๆ" และ "ด้านเป็นสื่อกลางของครอบครัวและสังคม" โดยด้านแรกกลุ่มตัวอย่างบิดาครอบครัวเดี่ยว มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างบิดาครอบครัวขยาย ส่วนด้านหลังกลุ่มตัวอย่างบิดาครอบครัวเดี่ยว มีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่า กลุ่มตัวอย่างบิดาครอบครัวขยาย 3.2 จำแนกตามระดับการศึกษา พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระหว่างกลุ่มตัวอย่างบิดาที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษากับระดับมัธยมศึกษา และบิดาที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษากับอุดมศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างบิดาที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด ใน 4 ด้าน คือ "ด้านเป็นผู้ให้สิ่งของเครื่องใช้และของเล่น "ด้านให้การดูแลขณะปกติและเจ็บป่วย" "ด้านให้การปกป้องคุ้มครองจากอันตรายต่างๆ" และ "ด้านเป็นสื่อกลางของครอบครัวและสังคม" ส่วน "ด้านการให้เวลาเป็นเพื่อนเล่นและส่งเสริมการเล่นของบุตร" พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ของกลุ่มตัวอย่างบิดาที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา กับอุดมศึกษา และระหว่างกลุ่มตัวอย่างบิดาที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษากับอุดมศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างบิดาที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษามีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3.3 จำแนกตามลำดับที่การเกิดของบุตร พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในทุกด้าน 4. เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้บทบาทเป็นรายข้อ พบว่ากลุ่มตัวอย่างบิดา จำแนกตามลักษณะครอบครัวส่วนใหญ่รับรู้บทบาท "ด้านให้การปกป้องคุ้มครองอันตรายต่างๆ" ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to study paternal roles in rearing infant as perceived by the fathers themselves and to compare such perception of paternal roles with different family types, ages, educational levels and the infant's order. The research samples were 201 fathers who took their infants for well bay follow up at 4 Bangkok Metropolis Administration Health Centers. The structured interview was developed by the researcher. The data were analyzed by using percentage, t-test, F-test and S-Method. The analysis of data indicated the following conclusions. 1. According to the score in each role and each item among roles, the most of fathers perceived paternal roles in rearing infant. 2. There were statistically significant difference in their perception between the fathers with different type of family and ages at the .01 and .05 level respectively. The fathers from extended families perceived better than the fathers from nuclear families. The fathers with over 30 years of age perceived better than the younger fathers which accepted hypothesis. There were statistically significant difference at the .01 level in their perception between the fathers who had primary education and had secondary education, between the fathers who primary education and had higher education. There was no statistically significant difference at the .01 level between the fathers with different infant's order. 3. There were statistically significant difference at the .01 level in the areas of "Provider role", "Protector role" and "Instrumental role". In the area of "Provider role" the fathers from nuclear families hold better scores than the fathers from extended families, and the area of "Instrumental role" the fathers from nuclear families hold less scores than the fathers from extended families. There were statistically significant difference at the .01 level in the area of "Provider role" and "Caretaker role" in ages. The fathers with over 30 years of age hold better scores than the younger fathers. There were statistically significant differences as the .01 level between the fathers who had primary education and had higher education and the fathers who had primary education and had secondary education respectively. The fathers who has primary education hold the least scores in the area of "Provider role", "Caretaker role", "Protector role" and "Instrumental role". There were statistically significant difference at the .05 level respectively between the fathers who had primary education and had higher education, and between the fathers who had secondary education and had higher education in the area of "Player role". 4. There were no statistically significant differences at the .01 level between the fathers who had different infant's order in all areas. 5. There were statistically significant difference at the .05 level between the fathers with different type of family in the area of "Protector role.".
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47813
ISBN: 9745667161
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumnieng_ya_front.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Sumnieng_ya_ch1.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Sumnieng_ya_ch2.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
Sumnieng_ya_ch3.pdf987.81 kBAdobe PDFView/Open
Sumnieng_ya_ch4.pdf5.62 MBAdobe PDFView/Open
Sumnieng_ya_ch5.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Sumnieng_ya_back.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.